คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิมประภา แพงศรี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง, คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Survey research by Cross sectional study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย และแบบประเมินคุณภาพชีวิต The European Organization for the Research and Treatment of Cancer Quality of Life Questionnaire Core 30 (EORTC QLQ - C30) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และทดสอบสมมติฐานงานวิจัย โดยใช้สถิติเอฟ (F–test) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง        ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.23 มีอายุอยู่ระหว่าง 34-88 ปี (อายุเฉลี่ย 61.88, SD + 10.69) เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 36.76 รองลงมาคือโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 16.23 ด้านสภาวะสุขภาพโดยรวม (global health status) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 65.54 (SD + 11.340) ซึ่งมากกว่าค่าอ้างอิงมาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างด้านสภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านความสามารถในการทำหน้าที่ (functional scales) พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยมิติด้านความสามารถในการทำหน้าที่ในทุกด้านสูงกว่าค่าอ้างอิงมาตรฐาน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้เกือบเป็นปกติ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตด้านความสามารถในการทำหน้าที่ไปในทางที่ดี ด้านกลุ่มอาการ (symptom scales) พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถด้านกลุ่มอาการน้อยกว่าค่าอ้างอิงมาตรฐานในเกือบทุกด้าน แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยมีความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยและจากการรักษา จึงส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านกลุ่มอาการไปในทางที่ดี โดยพบว่า กลุ่มอาการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าค่าอ้างอิงมาตรฐาน ได้แก่ ปัญหาด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.47 (SD + 25.77) รองลงมา คือ ปัญหาการคลื่นไส้อาเจียน  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.35 (SD + 21.81)  และปัญหาการท้องเสียมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.51 (SD + 19.73)

References

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, et al. Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA: a cancer journal for clinicians. 2021;7(3):209-49.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมกับ โรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาค จัดการประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติ ครั้งที่ 15 [Internet]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/186719/.

วรรณกานต์ ประโพธิ์ทัง, อมรรัตน์ ศรีอําไพวราภรณ์, ภาณุ อดกลั้น. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารกรมการแพทย์. 2559;41(6):126-31.

สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ. โรคมะเร็ง [Internet]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/cancer.

ปราณี ทองใส, ภาวินี สุขสาคร, พรฤดี นราสงค์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. วารสารพยาบาลศิริราช. 2551;2(2):24-34.

สุวรรณี สิริเลิศตระกูล, วรชัย รัตนธราธร. Quality of life: psychological aspect. In: วรชัย รัตนธราธร, editor. Textbook of medical oncology 2. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ๋ง จํากัด; 2541. หน้า 339-419.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

Scott N, Fayers P, Aaronson N, Bottomley A, de Graeff A, Groenvold M, et al. EORTC QLQ-C30. Brussels, Belgium: EORTC Quality of Life Group; 2008.

ชลยา อัตถาภินันท์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีทวารเทียมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. Chulalongkorn Medical Journal. 2560;61(3):387-400.

NCCN. NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines) Antiemesis Version 2.2020 [Internet]. 2020 [cited 2024 12 Jun]. Available from: https://shorturl.asia/ePn0k.

ธัญญาเรศ สถาพร, โชติมันต์ ชินวรารักษ์, อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ คลินิกโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. Chulalongkorn Medical Bulletin. 2560;3(1):11-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30