ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในผู้รับการตรวจสุขภาพ ประจำปีเชิงรุกของศูนย์อนามัยที่ 6 ปีงบประมาณ 2566

ผู้แต่ง

  • มนสิชา เปลี่ยนเพ็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย
  • สลิลทิพย์ โกพลรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม, ความชุก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในผู้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกของศูนย์อนามัยที่ 6 จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกตามเกณฑ์จากข้อมูลผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 377 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิผลตรวจสุขภาพประจำปี วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์หาความสัมพันธ์
     ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 76.4 พบมากช่วงอายุ 35-44 ปี ร้อยละ 51.7 น้ำหนักเกินร้อยละ 56.8 เส้นรอบเอวเกินส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 41.9 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 33.7 ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่วนใหญ่เพศชายร้อยละ 40.9 ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงส่วนใหญ่เพศชายร้อยละ 26.1 ความชุกของการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมโดยรวมร้อยละ 14.0 ส่วนใหญ่เพศชายร้อยละ 17.2 พบมากช่วงอายุ 45-60 ปี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง,ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงและความดันโลหิตสูง อายุกับระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง, กิจกรรมทางกายกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. หลัก3อ-2ส-1ฟ-1น” ลดภาวะอ้วน ในวัยทำงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย 2566]. เข้าถึง จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/300465/

วริยา บุญทองและพัชรา พลเยี่ยม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ปี 2564 เขตสุขภาพที่ 6. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย 2566]. เข้าถึงจาก: https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/general-of- 3/download/?did=207681&id=80295&reload=

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566-2570). [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อ18 ก.พ 2566]. เข้าถึงจาก: https://planning.anamai.moph.go.th/th/doh-strategic-plan/download?id=98514&mid=35346&mkey=m_document&lang=th&did=29498

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. Metabolic Syndromeภาวะโรคอ้วนลงพุง. [สารราชวิทยาลัย]. กรุงเทพ. อายุรแพทย์แห่งประเทศไทย; 2549.

แดน สุวรรณะรุจิ. ปัจจัยกําหนดภาวะ Metabolic Syndrome ของตํารวจไทย.วารสารประชากรศาสตร์ ปีที่ 34. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้น เมื่อ 15 พ.ค 2564]. เข้าถึงจาก: http://www.cps.chula.ac.th/newcps/journalnew/myfilepdf/34-4-6-2561.pdf

อนวัช วิเศษบริสุทธิ. ภาวะ Metabolic Syndrome ในบุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. [วารสารประชากรศาสตร์]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค 2564]. เข้าถึงจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/179439/127430

ไพบูรณ์ จัตกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. [ศรีนครินทร์เวชสาร]. 2564.

Jongkol, P., Piyamitr. S., & Kulaya, N. Prevalence and Factors Associated with Metabolic Syndrome among a Group of Thai Working Population: a Cross Sectional Study. J Med Assoc Thai Vol. 96 Suppl. 5 2013 S33. [Online]. 2013 [Retrieved March 5,2024]. from https://www.thaiscience.info/journals/Article/JMAT/10905973.pdf

Tangpong J, Triapiruk U, Chunglok W, et al. Prevalence of metabolic syndrome in Walailak University personnel. J Health Res 2551; 22 :173 - 179.

สุนีย์ วงศ์เจริญ. การศึกษาความชุกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมอนามัยที่ทำงานในส่วนกลาง จังหวัดนนทบุรี กระทรวงสาธารณสุขปี 2552. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2552; 33 (1) 100-111.

พลากร พุทธรักษ์, สุดาวดี คงขำ, พิไลวรรณ ศิริพฤกษ์พงษ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะ metabolic syndrome ในกลุ่มบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2555; 30(3) 123-134.

แหลมทอง แก้วตระกูลพงศ์. Metabolic Syndrome: Prevalence in Si Chiang Mai District, Nong Khai Province, Thailand. J Trop Med Parasitol 2551; 31:41-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30