ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษากับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุวิมล เสาวรส พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี
  • นุชจรินทร์ พูลสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี
  • พรพรรณ เจริญวัฒนวิญญู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี
  • รติรัตน์ วัฒนาสกุลรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษา, พฤติกรรมทางเพศของนักเรียน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษา พฤติกรรมทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษากับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปี การศึกษา 2566 จังหวัดชลบุรี จำนวน 596 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ chi - square test
     ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 57.2 อายุเฉลี่ย 15.38 ปี (SD = 1.74) ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.10, SD= 0.56) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=4.43, SD = 0.62) จำนวน 507 คน (ร้อยละ 85.1) รองลงมา ด้านการตัดสินใจ อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.32, SD = 0.61) จำนวน 521 คน (ร้อยละ 87.4) ด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.10, SD = 0.80) จำนวน 441 คน( ร้อยละ 74.0) ส่วนด้านที่พบน้อยที่สุด คือ ด้านการซักถาม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.50, SD = 0.91) จำนวน 289 คน (ร้อยละ 48.5 ) ตามลำดับ ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2565. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สุภาพร สมบัติ.(2563) ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สำหรับวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี. สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย:-35-38

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2565. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566. เข้าถึงได้จากhttps://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1

ประชุมวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคซิฟิลิสในกลุ่มวัยรุ่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี. 11 มกราคม พ.ศ.2566. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566. เข้าถึงได้ จาก https://ddc.moph.go.th/odpc6/

ปริยานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, และนฤมล ธีระรังสิกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. แพทย์นาวี,

(3), 607-620. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566.เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal

เอกกวี หอมขจร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, เมืองพิษณุโลก,ประเทศไทย.[Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566.เข้าถึงได้จากhttps://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:58106

วรรณศิริ ประจันโน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(พยาบาลศาสตร์), สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

กอบกุล ไพศาล, อัชพงษ์ชลิดา เกษประดิษฐ์, นุชนารถ แก้วดำเกิง และสมศักดิ์ สุทัศน์วราวุฒิ (2557).การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (2557, 45-48)

ชุติมา จันทรมณี . (2555). การเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษาบ้านด้ามพร้า ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม, ประเทศไทย.

ต่อศักดิ์ ดาบโสมศรี. (2560). ทักษะชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสต์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, เมืองชลบุรี, ประเทศไทย.

กมลวรรณ ศรีเจริญจิตร์. (2547). การปรึกษาปัญหาทางเพศของวัยรุ่นในเขตเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เมืองเชียงใหม่, ประเทศไทย.

OKMC.ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการการเรียนรู้ของคนไทย. สืบค้นเมื่อกันยายน2566, เข้าถึงได้จาก https://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/ FutureLearning Platform/1112/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30