ผลของแรงจูงใจ การให้คุณค่า และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้เข้ารับการที่คลีนิคยาเสพติดโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุขุมาภรณ์ บุญญาสุ โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การให้คุณค่า, แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการใช้ยาเสพติด

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแรงจูงใจ การให้คุณค่า และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้เข้ารับการที่คลีนิกยาเสพติดโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น จำนวน 44 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับโปรแกรมปกติ จำนวน 44 คน ข้อมูลถูกรวบรวมจากทั้งสองกลุ่มในสองช่วงเวลา คือ ก่อนและหลังการทดลองระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มอิสระ และใช้สถิติ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ไม่อิสระ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนแรงจูงใจในการป้องกันยาเสพติด ทัศนคติต่อการป้องกันยาเสพติด การให้คุณค่าแก่ตัวเอง แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตน ความตั้งใจในการเลิกใช้สารเสพติด และพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ศุภชัย นวลสุทธิ์ จุฬา ศรีรักษา ทัปปณ สัมปทณรักษ์ และ สมหมาย คชนาม. (2565). ผลของโปรแกรมประยุกต์การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษาของผู้ป่วยยาเสพติดที่ต้องเข้ารับการบำบัดเป็นครั้งแรก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565 หน้า 163-177.

พัทธบันท์ คงทอง อารดา หายักวงษ์ และ ณัฐพล โยธา. (2564). พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ค่ายศูนย์ขวัญจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่ 21 ฉบับที่ 2: เมษายน-มิถุนายน 2564, 225-235.

Office of the Narcotics Control Board, the Ministry of Justice. The practical manual for using the information about national drug abusers and drug abuse treatment. 2nd ed. Samut Prakan: Udomsuksa Printing and Publishing. 2017. Thai.

สาลิณี ภู่รุ่งเรืองผล. (2562). พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566, จากhtps:/vww.chiangmaihealth. go.th/cmpho_web/document/19081615 6591830384. pdf.

บุญศิริ จันศิริมงคล. (2558). โปรแกรมบูรณาการการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสุราและยาเสพติดที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัส จำกัด.

สมนึก นวลคำ ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และ เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารศิลปการจัดการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2565.

จันทรา มณีฉาย อัศว์ศิริ ลาปีอี และ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม. (2565). การเสริมพลังอำนาจชุมชนกับบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรณีศึกษา ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตริทยาสัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชัยรัชต์ ก้องเปสลาพันธ์ เพชรา เมธาอนันต์กุล ณัฏฐภัณฑ์สัณฑ์ ศรีวิชัย และนรัญชญา ศรีบูรพา. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดด้วยแนวคิดการยอมรับและพันธสัญญาในด้านความยืดหยุ่นทางใจ การเห็นคุณค่าในตนเองและความผาสุกทางจิตใจในผู้ป่วยสารเสพติด. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย 54(1) (2566) 51-64.

เทอดศักดิ์ เนียมเปีย และ วุฒิชัย จริยา. (2563). ผลของโปรแกรมสริมสร้างพลังต้านการเสพยาบ้าต่อความตั้งใจเลิกเสพยาบ้าของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563, 700-708.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). สรุปผลการดำเนินงานด้านยาเสพติด ปี 2566.

โรงพยาบาลกันทรลักษ์. (2566). สรุปผลการดำเนินงานด้านยาเสพติด ปี 2566.

ดาราวรรณ มณีกุลทรัพย์. (2566). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพติดซ้ำในผู้ป่วยติดสารเสพติดโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2566.

ทิพากร วงศ์คำปั่น และ นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความตั้งใจในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกใช้ยาเสพติดของผู้ใช้ยาเสพติดที่เข้ารับบริการคลินิกจิตสังคมศาลจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยา ปีที่ 20 เล่มที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565).

ฉวีวรรณ สาระบุตร และ สุขุมาภรณ์ บุญญาสุ. (2566). ผลของการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลังครบโปรแกรมฟื้นฟูสภาพทางสังคม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษวารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2566.

สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. (2554).การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมยายน 2564, 91-111.

อัจฉรา ประการ ฐิรชัย หงส์ยันตรชัย และปวิธ สิริเกียรติกุล. (2562). ผลของกลุ่มบำบัดตามแนวความหมายของชีวิตที่มีต่อความมุ่งหวังในชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดระยะติดตามผล. วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 31 ตุลาคม-ธันวาคม 2562.

สุวิทย์ สลามเต๊ะ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีที่ 12 ฉบับพิเศษ เดือนตุลาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30