รูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนเสี่ยงสูงในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ปักษิณ สารชัย โรงพยาบาลกลมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ดวงฤทัย ชาติแพงตา โรงพยาบาลกลมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเสี่ยงสูง, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     บทนำ: จากสถานการณ์ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยซึ่งอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนทั้งในหลอดเลือดขนาดเล็กและหลอดเลือดใหญ่ร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 7.2 เท่าโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา
     วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีกลุ่มตัวอย่างเป้นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แบบประเมินพฤติกรรมการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนเสี่ยงในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ2ส  เก็บข้อมูลก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติ โดยใช้สถิติ Paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

        ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง จำนวน 8 ด้าน ดังนี้ 1) ผลของการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ผลความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพ 3) ผลของการโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ 4) ผลของการตัดสินใจด้านสุขภาพ 5) ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง 6) ผลของการบอกต่อข้อมูลด้านสุขภาพ 7) ผลการบอกต่อข้อมูลด้านสุขภาพ 8) ผลของ อ.1 อาหาร, อ.2 ออกกำลังกาย และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าก่อนการทดลอง คือด้าน ส.1การสูบบุหรี่ และส.2สุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  

References

กรมควบคุมโรค. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=169”, 2564.

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์ โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำ ให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ใน ทุกๆ 5 วินาที. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/18125 6/, 2565.

สมจินต์ มากพา และวิทวัฒน์ อูปคำ. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดพิจิตร วารสารศูนย์อนามัยที่ 9; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 11 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/260934/178434

Bandura A. Social Learning Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1997.

สมเกียรติ อินทะกนก, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, รชานนท์ ง่วนใจรัก, ชูสง่า สีสัน,ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: กรณีศึกษาพื้นที่ รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำชับ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. 2564;27(1):56-67

ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. บทสรุปผลการดำเนินงานจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้องรังด้วยหลัก 4 อ. (ยา 8 ขนาน)โรงพยาบาลปักธงชัยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (พฤศจิกายน 2564-ตุลาคม 2566): อัดสำเนา. 2566.

รัฏฐรินีย์ ธนเศรษฐ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยของผู้สูงอายุตอนต้น. วารสานวิชการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุบลราชธานี, 2567; 2(2): 58-77 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1857/1496

รชานนท์ ง่วนใจรัก, นฤพร พร่องครบุรี, วรลักษณ์ สมบูรณ์นาดี, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, ฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์,อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4 อ. ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสุขศึกษา. 2565;45(1):40-55.

วัชราพร เนตรคํายวง (2566) ได้ทำการศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 11 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/260493/180276

อติญาณ์ ศรเกษตริน, จินตนา ทองเพชร, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, นงณภัทร รุ่งเนย 2566. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเอง ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ วารสารวิชาการสาธารณสุข ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/13627/11096

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30