การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง ภายใต้การปฏิรูปเขตสุขภาพ จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สมยศ แสงหิ่งห้อย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง
  • รัชนีย์ จิตร์กระจ่าง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

รูปแบบ, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, การปฏิรูปเขตสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงภายใต้การปฏิรูปเขตสุขภาพจังหวัดอ่าทอง ระหว่างเดือน เมษายน - ตุลาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้สุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. แบบสอบถามความคิดเห็นความเป็นไปได้ของรูปบแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสุขภาพและกลุ่มเสี่ยง แบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก แบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีแบบคู่
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การกำหนดทิศทางนโยบาย 2) เพิ่มศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข 3) ระบบการคัดกรองประเมินสุขภาพด้วย Health Station 4) ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 5) สร้างกลุ่มให้คำปรึกษาผ่าน Application line 6) ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง (3 หมอ) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมาก กลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความพึงพอใจของทีมสุขภาพต่อการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก (mean=4.28, S.D.=0.36) ความพึงพอใจของกลุ่มเสี่ยงอยู่ในระดับมาก (mean=4.30 S.D.=0.28) ผลลัพธ์ทางคลินิก ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ก่อนและหลังการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกัน (p<0.05)

References

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการดำเนินงาน ประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง). บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการดำเนินงาน ประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง. (2565). สรุปผลการดำเนินงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง ประจำปีงบประมาณ 2562-2565.

Hoy,W.K, and C. G. Miskel. (2013). Educational Administration : Theory, Research, and Practice. (9th ed.) New York : McGraw-Hill.

พิศมัย สุขอมรรัตน์. (2562). การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามนโยบายชุมชนสร้างสุข : “สุขกาย สุขใจ สุขเงิน. http://hed.go.th/linkHed/387.

วนิดา ลาดตระกูลวัฒนา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 24-36.

อนัญญา มานิตย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(2), 131-142.

รุ่งนภา อาระหัง. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยคริสเตียน (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วันเพ็ญ ช้างเชื้อ. (2565). การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี อย่างยั่งยืน จังหวัดอ่างทอง.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง. https://atg-h.moph.go.th/node/131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30