การพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จิรศักดิ์ คามจังหาร โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, การพัฒนาระบบการดูแล, อัตราการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ใน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน Simple logistic regression และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแลกเปลี่ยนวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ประเด็น ตามลำดับชั้นของข้อมูล
     ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 63.64 มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ร้อยละ 50.91 (ค่าเฉลี่ยอายุ 59 ปี SD. = 15.99) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 53.33 ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง ร้อยละ 75.61 (เฉลี่ย 50 นาที SD. = 94.40) ผลการรักษาในครั้งนี้ พบจำหน่ายเสียชีวิต ร้อยละ 21.21 การวิเคราะห์เมื่อควบคุมตัวแปรแล้ว พบว่า ปัจจัยที่มีแนวโน้วโอกาสเกิดความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ เพศ และอาชีพ รูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ได้แก่ การวินิจฉัยโรค การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาโปรแกรมการจอง ICU การจัดตั้ง Rapid response system/team (RRS/RRT) และพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอีกเสบซี

References

World Health Organization. (2020). Global report on the epidemiology and burden of sepsis: current evidence, identifying gaps and future directions. Retrieved from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240010789

Global Sepsis Alliance. (2022). Sepsis. Retrieved from: https://www.global-sepsis-alliance.org/sepsis

กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2562/inspec62_1/9 (14.11.61%20edited).pdf

Mackic and Bridges, (2018). CE: Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines and Definitions. AJN, American Journal of Nursing 118(2): 34-39.

ศจีรตน โกศล, ประภาพร ชูกำเหนิด และปราโมทย์ ทองสุข, (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 14(1): 97-111.

วิมลรัตน์ เสนาะเสียง, (2566). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (SEPSIS) โรงพยาบาลสมเด็จ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ. 8(3): 661-667.

สมไสว อินทะชุบ, ดวงพร โพธิ์ศรี และจิราภรณ์ สุวรรณศรี, (2560). ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 25(1): 85-92.

ลัลธริตา เจริญพงษ์ และกิตติศักดิ์ ผลถาวรกุลชัย (2563). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์ เขต 4-5. 39(4): 542-560.

กิ่งกาญจน์ หาญลำยวง, (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ในโรงพยาบาลปากเกร็ด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(1): 108-117.

พิมพิมาน รุ่งวิริยะวณิช, (2565). มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(1): 112-118.

โรงพยาบาลอินทร์บุรี.การติดเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลอินทร์บุรี. (ออนไลน์) สืนค้นจาก: http://www.inb.moph.go.th/MyPDF/8type.pdf

ดรุณี ไชยวงค์ และคณะ, (2565). การพัฒนาระบบการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Sepsis and Septic shock) ของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 13(2): 57-74.

เกตุกาล ทิพย์ทิมพ์วงศ์. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม. (ออนไลน์) สืนค้นจาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2564/r2r/MA2564-002-02-0000000163-0000000681.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30