ผลของการใช้โปรแกรมป้องกันโรคเบาหวานรายใหม่ในพระภิกษุสงฆ์กลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เปรมนิพัช แก้วร่วมเพชร โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์, การป้องกันเบาหวานรายใหม่, โปรแกรมป้องกันกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi -experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมป้องกันโรคเบาหวานในพระภิกษุกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ โดยวัดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมในคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงพระภิกษุ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ทำการศึกษาในช่วงเดือน ธันวาคม 2565 - มิถุนายน 2566 รวมระยะเวลา 7 เดือน กลุ่มตัวอย่างพระภิกษุกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 30 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน แบบประเมินความพึงพอใจการ เข้าร่วมโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ก่อน-หลัง ด้วยสถิติเชิงอนุมาน paired t-test
     ผลการศึกษา พบว่า พระภิกษุกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานรายใหม่ 30 รูป พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพบว่า ความรู้ทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคเบาหวาน และ ความพึงพอใจต่อโปรแกรมป้องกันโรคเบาหวานรายใหม่ เพิ่มขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (t = 8.68, 5.83, 3.90 ตามลำดับ)

References

World Stroke Organization. (2022). The top 10 causes of death. Retrieved February 21, 2022, fromhttps://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death#.YhJBDXoc8HO.

กระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข 2563. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ;2560.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคเรื้อรังประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2565.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.). องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2561.

โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคเบาหวานจากฐานข้อมูล HDC. 2566.

นพรัตน์ ตรงศูนย์ และสุดาทิพย์ นพพิบูลย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ ในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน.วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). 2566;38(1): 126-140.

พระณัฐวุฒิ พันทะลี. การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2564;1(3): 14-27.

คมสรรค์ ชืนรัมย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึงอินซูลินของโรงพยาบาลสุคิริน ด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC). วิทยานิพนธ์คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 2559.

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ใน

จังหวัดขอนแก่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 2558;22(2): 117-130.

สุมาลี วิชัยโย, ศิวบูลย์ ชัยสงคราม, อรรถวิทย์ เนินชัด. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในสถานการณ์หลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(4): 624-629.

พิจิตรา ทะเลรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ให้ห่างจากโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในเขตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์สาขาการจัดการสาธารณะ. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560.

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2561;24(1): 71-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30