ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในสถาบันบำราศนราดูร

ผู้แต่ง

  • ชญาญ์ณัฏฐ์ อำพันทอง สถาบันบำราศนราดูร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, การฟื้นฟูสภาพ, ผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในสถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน สถาบันบำราศนราดูร  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 35 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินพลังอำนาจของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเทียม แบบสอบถามประเมินความรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเทียม และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเทียม 2) เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า 1) .ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพลังอำนาจสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2).ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กีรติ เจริญชลวานิช. (2559). โรคข้อเข่าเสื่อม ในกีรติ เจริญชลวานิช (บรรณาธิการ),ศัลยศาสตร์บูรณสภาพข้อเข่าเสื่อม (น.3-9). กรุงเทพฯ: ศิริราช.

Su,H.,Tsai, Y.,chen, W.,& Chen, M.(2010).Health care needs of patients during early recovery after total knee-replacement surgery. Journal of Clincal Nursing 19(5), 673-681 Retrieved from https://searcth.proquest.com/docview/2350113042Acc ountid=28431

Gibson, G.H. (1995). The process of empowerment in mother of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing.21,1201-1210.

กิตติศักดิ์ คัมภีระ.(2562).ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่อความวิตกกังวล การปฏิบัติตัว และ พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่.พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พนารัตน์ เจนจบ. (2542). การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. (2557). เทคนิคการเสริมพลังในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(4), 649-658.

กมนทรรศน์ ยันต์เจริญ, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และ เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30