การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ลิ้มประยูร โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, การพัฒนาโปรแกรมวางแผนจำหน่าย, การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง โรงพยาบาลหนองคาย ทำการศึกษาในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน ปี 2566 ประชากรคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 468 คน และญาติผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยโรคหลอดลเลือดสมองระยะกลางที่ผ่านโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย จำนวน 60 คน 2) ญาติผู้ดูแล จำนวน 60 คน 3) ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพร้อมการดูแล แบบประเมินความเครียด แบบเก็บข้อมูลภาวะแทรกซ้อนและการรักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย ภายหลังการจำหน่ายครบ 1 เดือน พบว่ากลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย จำนวน 60 ราย มีภาวะแทรกซ้อน ลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่เข้ารับโปรแกรม ร้อยละ 56.67 การกลับมารักษาซ้ำ ลดลง ร้อยละ 43.33 การทดสอบคะแนนความพร้อมมีคะแนนเพิ่มขึ้นภายหลังการเข้าโปรแกรมจาก 3.32 คะแนน ภายหลังมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.69 คะแนน ทดสอบด้วยสถิติ paired t-test พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.42) การทดสอบคะแนนความเครียดก่อนเข้าโปรแกรม มีค่า 4.62 คะแนน ภายหลังการใช้โปรแกรมมีค่าคะแนนความเครียดเฉลี่ยลดลง 1.50 คะแนน ทดสอบด้วยสถิติ paired t-test พบว่า คะแนนเฉลี่ยความเครียดต่อการดูแลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.84)

References

World Stroke Organization. (2022). The top 10 causes of death. Retrieved February 21, 2022, fromhttps://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death#.YhJBDXoc8HO.

กระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข 2563. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/.

สุธีร์ ธรรมิกบวร, การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (พิมพ์ครั้งที่ 2). การปรับกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด; 2561.

โรงพยาบาลหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). 2566.

กันยารัตน์ บัญชานนท์ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน. วารสารการพยาบาล. 2565;71(3): 54-62.

นารี บุศยพงศ์ชัย และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน จากโรงพยาบาลสู่บ้านของศูนย์ดูแลต่อเนื่อง. กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน. โรงพยาบาลหนองคาย2564.

สุดารัตน์ สิริประภาพล และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองจากภาวะความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(2): 353-364.

คนึงนิจ ศรีษะโคตรและคณะ. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล. 2565;37(3): 20-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30