ผลของแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย โดยใช้แนวคิดซาเทียร์ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จิราพร มณีปกรณ์ โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติด, การป้องกันการฆ่าตัวตาย, การบำบัดรักษาตามแนวทางของซาร์เทียร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย โดยใช้แนวคิดซาเทียร์ จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต ภาคีเครือข่าย และผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำนวน 46 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเครียด 9 และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ paired t test
     ผลการศึกษา พบว่า ภาวะซึมเศร้า ก่อนพัฒนากลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 13.82 คะแนน ภายหลังการพัฒนา พบว่า ระดับภาวะซึมเศร้าลดลงเป็นไม่มีภาวะ มีค่าเฉลี่ย 3.12 คะแนน จากการทดสอบทางสถิติพบว่ามีค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p <.05, t = 4.22 ภาวะฆ่าตัวตาย ก่อนพัฒนากลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 9.03 คะแนน ภายหลังการพัฒนาพบว่า ระดับภาวะซึมเศร้าลดลงเป็นไม่มีภาวะ มีค่าเฉลี่ย 2.23 คะแนน จากการทดสอบทางสถิติพบว่ามีค่าเฉลี่ยการฆ่าตัวตายลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p <.05, t = 4.22

References

World Health Organization. Suicide in the world. In Global Health Estimates. Geneva: World Health Organization. 2019.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก. 2559.

นิตยา จรัสแสง. ผลการบาบัดตามแนวคิดซาเทียร์ต่ออาการซึมเศร้า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความสอดคล้องกลมกลืนในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2565;36(2): 97-114.

โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร. กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางสุขภาพจิตจากฐานข้อมูล HDC. 2566.

จรรยารักษ์ มีวงษ์สม และคณะ. สถานการณ์และวิธีการฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับเพศ-ช่วงอายุ-ภูมิภาคในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555-2559. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์. 2564;7(2): 90-107.

ไพจิตร พุทธรอด และ กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ. การบำบัดโดยถาดทรายภายใต้แนวคิดของซาร์เทียร์ในผู้ป่วยจิตเวชเด็ก.สรรพสิทธิเวชสาร. 2558;36(3): 151-159.

ไพจิตร พุทธรอด และ กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ. ผลของโปรแกรมการบาบัดรายบุคคลโดยแนวคิดซาเทียร์ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1): 484-492.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30