การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายปราศจากยาสลบใน รพ.กาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล พรตระกูลพิพัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการแพทย์พิเศษ แพทย์เฉพาะทางโรคทางเดินอาหาร แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • อุทัยวรรณ จิระชีวนันท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานศูนย์ส่องกล้อง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมด, ระยะห่างของการรับประทานยาระบายมื้อสุดท้ายก่อนส่องกล้องจนถึงการเริ่มส่องกล้อง, คุณภาพของการเตรียมลำไส้

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ซึ่งทำโดยอายุรแพทย์ทางเดินอาหาร รวมทั้งศึกษาข้อมูลทั่วไป วิธีการเตรียมลำไส้ ความสะอาดของลำไส้  ระยะเวลาการทำหัตถการ ผลข้างเคียง และผลการวินิจฉัยจากการส่องกล้อง รวบรวมรายงานกลุ่มผู้ป่วย (Case series) ทุกรายที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยไม่ได้รับยาสลบ  ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 จนถึง 31 ส.ค. 2566 ไม่นับรวมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องเพื่อติดตามการรักษา         ผลการศึกษา : ผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยไม่ได้รับยาสลบทั้งหมด 18 ราย ทุกรายได้รับการวินิจฉัย ปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คุณภาพการเตรียมลำไส้ดีมาก

References

Zuber TJ. Flexible sigmoidoscopy. Am Fam Physician. 2001;63(7):1375-1380, 1383-1388.

Frazier AL, Colditz GA, Fuchs CS, Kuntz KM. Cost-effectiveness of screening for colorectal cancer in the general population. JAMA. 2000;284(15):1954-1961. doi:10.1001/jama.284.15.1954

Kim TK, Kim HW, Kim SJ, et al. Importance of the Time Interval between Bowel Preparation and Colonoscopy in Determining the Quality of Bowel Preparation for Full-Dose Polyethylene Glycol Preparation. Gut Liver. 2014;8(6):625-631. doi:10.5009/gnl13228

Bryant RV, Schoeman SN, Schoeman MN. Shorter preparation to procedure interval for colonoscopy improves quality of bowel cleansing. Internal Medicine Journal. 2013;43(2):162-168. doi:10.1111/j.1445-5994.2012.02963.x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30