ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ในพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วีระพงษ์ ศรีประทาย นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเผชิญปัญหา, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เคยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลประทาย จังหวัดนครราชสีมาในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2565 จำนวน 102 คน โดยเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบสัมภาษณ์แรงสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสัมภาษณ์ความเชื่ออำนาจภายในตน และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติก
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 71.6 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 52.9 โดยระดับการศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่ประถมศึกษา ร้อยละ 66.7 ลักษณะการอยู่อาศัย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัว ร้อยละ 58.8 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโรคร่วม ร้อยละ 51.0 โดยมีโรคร่วมมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 48.1 รองลงมาคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 30.8 และโรคหัวใจ ร้อยละ 13.5 ตามลำดับ การรักษาที่ได้รับในปัจจุบันส่วนใหญ่คือ รับประทานยาอย่างเดียว ร้อยละ 55.9 รองลงมาคือ รับประทานยาร่วมกับทำกายภาพบำบัดเองที่บ้าน ร้อยละ 36.3 การวิเคราะห์หาปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีโรคร่วม มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่ไม่ดีมากกว่าที่ไม่มีโรคร่วม 3.1 เท่า (95% CI; 1.12-8.17) ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่ไม่ดีมากกว่าที่แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก 3.9 เท่า (95% CI; 1.06-14.14) ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนอยู่ในระดับปานกลาง มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่ไม่ดีมากกว่าที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนอยู่ในระดับมาก 0.4 เท่า (95% CI; 0.14-0.96) โดยปัจจัยอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์

References

World Stroke Organization. World Stroke Organization (WSO) Annual Report 2017. [internet]. 2022. [2022, November 2] from https://www.world-stroke.org/ assets/downloads/Annual_Report_2017_online.pdf

Benjamin, C. L., Puleo, C. M., Settipani, C. A., Brodman, D. M., Edmunds, J. M.,Cummings, C. M., & Kendall, P. C. (2011). History of cognitive-behavioral therapy in youth. Child Adolescent Psychiatric Clin N Am, 20(2), 179-189.

Abascal, J. V., Hernandez, Y. G., Mederos, L. E. A., & Caballero, Y. V. (2016). Modifiable risk factors in uncontrolled high blood pressure patients of Banjul, Gambia. Correo Scientific Medico, 20(3).

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564; 2559.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. รักษ์สมอง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2562.

Langton-Hewer, R. Psychosocial aspects of stroke rehabilitation. In F.C. Rose (Ed.), Advances in stroke therapy. (pp. 313-317). New York: Raven.1982.

Robinson, R.G., & Price, T.R. Post-stroke depressive disorders: A follow-up study of 103 patients. Stroke, 13 (5), 635-641. 1982.

Robinson, R.G., Kubos, K.L., Starr, L.B., Rao, K., & Price, T.R. Mood changes in stroke patients: Importance of location of lesion. Brain, 107, 81-93. 1984.

Binder, L.M. Emotional problems after stroke. Stroke, 15, 174-177. 1984.

Wade, D. T., Legh-Smith, J., & Hewer, R. L. Effects of living with and looking after survivors of a stroke. British Medical Journal, 193, 418-420. 1986.

Lazarus, R.S., & Folkman, S. Stress appraisal and coping. New York: Spring Publishing. 1984.

Sepulveda, Boynton, De ,L.I., and Chang B. "Effective coping with stroke disability in a community setting : The development of a causal model." Lournal of Neuroscience Nursing 26, 4 (April 1994) : 193-203.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบทดสอบสภาพสมองของไทย. สารศิริราช, 45(6),359-374. 2536.

สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล. ระบบสวัสดิการและการดำเนินการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยา และเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2 (1), หน้า 39 - 42. 2544.

Bronstein, K.S. Psychosocial component in stroke implication for adaptation. Nursing Clinics of North America, 26, 1007-1017. 1991.

นันทินี ศุภมงคล. ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา . ม.ป.ท.:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

บุรียา แตงพันธ์ และ คณิต เขียววิชัย. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2558, 26(1), 27-38.

สิริอนัฐพร สุวี. ความสามารถในการพยากรณ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

สุภะ อภิญญาภิบาล. “Adversity Quotient.” วารสารการวัดผลการศึกษา 2556, 82 : 13-25

วิรัตน์ ปานศิลา. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์, 2544.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30