การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นันทพัทธ์ ธีระวัฒนานนท์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • ศิวะยุทธ สิงห์ปรุ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม, เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ, ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและทดลองใช้ในพื้นที่ ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบ และประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลรูปแบบฯ เป็นกลุ่มผู้ป่วยวัณโรค และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 68 คน ในพื้นที่ที่ศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สังเกต สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน (Inferential statistic) ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา มีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) การประชุมวางแผนการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนในกลุ่มเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (2) การทำงานแบบบูรณาการในรูปแบบเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (3) การพัฒนาความรู้และทักษะของวิทยากรกระบวนการ (4) การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ (5) การติดตามประเมินผล โดยทำการทดลองใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบ ทดลองใช้ในพื้นที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่เปรียบเทียบในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในเรื่องความรู้เรื่องวัณโรคและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในเรื่องของพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนของผู้ป่วยวัณโรคของกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคและผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของผลเสมหะในเดือนที่ 2 พบว่า ผลการตรวจเสมหะหาปริมาณเชื้อวัณโรคในเดือนที่ 2 กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของผลเสมหะเป็นลบ คิดเป็นร้อยละ 85.3 ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบยังคงมีผลเสมหะเป็นบวกอยู่ คิดเป็นร้อยละ 41.1 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ในพื้นที่ศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย National Tuberculosis Control Program Guidelines, Thailand. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

World Health Organization. (2019). Global tuberculosis report 2019. World Health Organization. https://apps.who.int/iris/handle/10665/329368.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลด้านการดูแลและรักษาวัณโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2567). รายงานประจำปี 2566. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2566). รายงานสถานการณ์วัณโรค จังหวัดนครราชสีมา ปี 2566. (เอกสารอัดสำเนา).

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์สารคามเปเปอร์.

วิรัตน์ ปานศิลา. (2544). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

Bloom, B. S. (1956). Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA). Retrieved from http://www.mycoted.com/creativity/ techniques/pdca.php

รุจิเรข ล้อไป. (2561). การเสริมพลังภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนในการพัฒนาความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ในตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 24, 15-23.

เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ. (2562). การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรค ในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 26(1), 36-47.

Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000;15(3):259–67.

สมัญญา มุขอาสา. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1, 13-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30