ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพทีมนำระดับจังหวัดเพื่อการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในพื้นที่อำเภอเสี่ยงสูงมาก จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ทักษะคิด, การป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิต, จักรยานยนต์, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพทีมนำระดับจังหวัดเพื่อการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในพื้นที่อำเภอเสี่ยงสูงมาก จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 328 คน โดยสุ่มจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ในพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ ปราสาท และสังขะ คัดเลือกผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการเกิดอุบัติเหตุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และการปฏิบัติตัวเพื่อเอาชีวิตรอดภัยบนท้องถนน ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.8 มีอายุระหว่าง 13-18 ปี มีอายุเฉลี่ย 16.02 ปี (S.D. = 1.509 ปี) โดยนักเรียนขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ตอนอายุ 12 ปี ร้อยละ 30.8 ซึ่งอายุน้อยที่สุดคือ 7 ปี อายุมากที่สุดคือ 18 ปี ผู้หัดขับขี่รถจักรยานยนต์ให้นักเรียนเป็นพ่อแม่ ร้อยละ 54.9 รองลงมาคือฝึกเอง ร้อยละ 21.0 และญาติพี่น้อง ร้อยละ 17.7 ตามลำดับ ผู้ปกครองอนุญาติให้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปโรงเรียนเมื่อช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 58.5 ส่วนใหญ่ไม่มีใบขับขี่ ร้อยละ 80.2 ซึ่งนักเรียนเคยประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 51.5 โดยบาดเจ็บเล็กน้อยไม่ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ร้อยละ 75.7 หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการเกิดอุบัติเหตุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และการปฏิบัติตัวเพื่อเอาชีวิตรอดภัยบนท้องถนน มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05
References
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. ครึ่งทางทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท รำไทยเพลส จำกัด, 2563.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. อุบัติเหตุในช่วงโควิด-19. [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 กรกฎาคม 5]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=220892.
ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ และคณะ. โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการตายและบาดเจ็บ สำหรับเด็กและเยาวชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิผล. กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ร่วมกับศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). 2563.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ (IDCC : Injury Data Collaboration Center) [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 กรกฎาคม 5]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/.
งานป้องกันการบาดเจ็บ กลุ่มโรคไม่ติดต่อ. สรุปผลการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา; 2564.
สุวรรณ ภู่เต็ง และคณะ. ทักษะคิด ฝ่าวิกฤตอุบัติเหตุทางถนน. บริษัทเซฟตี้ อินฟินิตี้ จำกัด.โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด นนทบุรี. 2561.
Lim, P. C., Sheppard, E., & Crundall, D. A predictive hazard perception paradigm differentiates driving experience cross-culturally. Transportation Research Part F.2014; 26: 210-217.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-610.
สุรีวัลย์ สะอิดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของผู้ใหญ่ตอนต้นในเขตเทศบาลนครยะลา [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.
Becker, M.H. The health belief model and personal health behavior. New Jersey: Charlaes B. Slack, Inc. 1974.
Bandura, A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1986.
วรรวิษา ภูผิวแก้ว, วิศิษฎ์ ทองคำ และนันทวรรณ ทิพยเนตร. ผลของโปรแกรมขับขี่ปลอดภัยในการป้องกันอุบัติภัยจราจร จากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2561; 24(1): 76-85.
ศิวาภรณ์ ศรีสกุล. ผลของการสร้างแรงจูงใจเพื่อการปกป้องสุขภาพต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
Catherine, A., Heaney, B., Israel, A. Social networks and social support. In Karen,G., Rimer, B.K. & Viswanath, K. (Eds.), (4thed.) Health behavior and health education: Theory, Research and Practice. San Francisco: Jossey – Bass; 2008.