ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางใหญ่ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ราเชนทร์ ประสพศิลป์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางใหญ่ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผลของโปรแกรม, การจัดการตนเองและครอบครัว, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 60 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลระหว่าง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
     ผลการศึกษา พบว่า 1) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระดับน้ำตาลเกาะสะสมเม็ดเลือดแดง (HbA1C) ภายหลังการได้รับโปรแกรมฯ ในกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภายหลังการได้รับโปรแกรมฯ ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลเกาะสะสมเม็ดเลือดแดง (HbA1C) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

World Health Organization. (2016). Global report on diabetes. France: World Health Organization.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://apps.boe.moph.go.th/boeeng/download/AESR-6112-24.pdf.

จินตนา วัชรสินธุ์. (2560). การพยาบาลครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับกระทรวง.สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/.

วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี. (2560). โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระบาดวิทยาการป้องกันและการสนับสนุนการจัดการตนเอง. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

สิริมาส วงศ์ใหญ่, อมร ไกรดิษฐ์ และจีระภา นะแส. (2560). โรคเบาหวานกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 33(3), 158-165.

วราลี วงศ์ศรีชา. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กมลพร สิริคุตจตุพร, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และนารีรัตน์ จิตรมนตรี. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล. 32(1), 81-93.

เยาวลักษณ์ ครชาตรี . (2556). แรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสาธารณสุขศาสตร์, สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2565). รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ จังหวัดนครราชสีมา ปี 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางใหญ่. (2565). ทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน. นครราชสีมา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางใหญ่.

Kanfer, F. H., & Gaelick, L. (1988). Self-management methods. Ihelping people change. In Kanfer F.H. & Goldstein A.P. (Eds.), (pp.283-238). New York: Pergamon.

Coates, V. E., & Boore, J. R. (1995). Self-management of chronic illness: Implications for nursing. International Journal of Nursing Studies, 32(6), 628-640.

ศันสนีย์ กองสกุล. (2552) ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2009.129

คณิตตา อินทบุตร. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Hu, H., Li, G., & Arao, T. (2013). Validation of a Chinese version of the self-efficacy for managing chronic disease 6-item scale in patients with hypertension in primary care. ISRN Public Health, 2013, 298986. doi: 10.1155/2013/298986

Schmitt, A., Gahr, A., Hermanns, N., Kulzer, B., Huber, J., & Haak, T. (2013). The diabetes Self-management questionnaire (dsmq): Development and evaluation of an instrument to assess diabetes self-care activities associated with glycemic control. Health and quality of life outcomes, 11(1), 1-14.

Bandura, A. (1997). The nature and structure of self-efficacy. New York: W.H. Freeman and Company.

Ryan, P. & Sawin, K. J. (2009). The individual and family Self-Management Theory: Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nursing Outlook. 57(4). 217-225. doi: 10.1016/j.outlook.2008.10.004.

ขนิษฐา ขลังธรรมเนียม, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และ คะนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความเจ็บป่วย การรับรู้ทางอารมณ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 17(2), 135-144.

Brunisholz KD, Briot P, Hamilton S, et al. (2014). Diabetes self-management education improves quality of care and clinical outcomes determined by a diabetes bundle measure. Journal of Multidisciplinary Healthcare. 7, 533–542.

แสงอรุณ สุรวงศ์. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30