ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, การปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 59 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารงานวิชาการหรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 354 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.993 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ระดับการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง เท่ากับ .834 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม และด้านวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน ได้ร้อยละ 71.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ ewt_news.
php?nid=13651&filename=develop_issue.
กระทรวงศึกษาธิการ [อินเทอร์เน็ต]. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://library.nhrc.or.th/ULIB/dublin.php?ID=10294.
อาฟานดี คอลออาแซ และสรัญณี อุเส็นยาง.(2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 2(2): 125-140.
พรพิมล อินทรรักษา, นิลรัตน์ นวกิจไพฑุรย์, สุเวศ กลับศรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.(2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 6(3):115-129.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. [เข้าถึงเมื่อ10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://koob.samroiwit.ac.th/webdata/teacherflow.pdf.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. (2562). ราชกิจจานุเบกษา หน้า 18-20 (20 มีนาคม 2562) [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th / DATA/PDF/ 2562/E/068/T_0018.PDF
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา [อินเทอร์เน็ต]. (2563). ราชกิจจานุเบกษา หน้า 10-14 (7 พฤษภาคม 2563) รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/109/T_0010.PDF
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 [อินเทอร์เน็ต]. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 พ.ศ. 2566 – 2570 กลุ่มนโยบายและแผน. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://eoffice.sesao1.go.th/info/school-group
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. [อินเทอร์เน็ต]. (2566). ข้อมูลโรงเรียนในสังกัด.[เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://eoffice.sesao1.go.th/info/school-group.
Krejcie R.V. & Morgan D.W.(1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30:607-610.
Cronbach L. J. (1963). Educational Psychology. New York: Harcourt Brace and World, Inc.
ณัฐวุฒิ ศรีสนิท และโกวัฒน์ เทศบุตร.(2563) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(1): 20-30.
ชัยนาม บุญนิตย์.(2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปิยาภรณ์ พลเสนา และพนายุทธ เชยบาล.(2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6(1):207-222.
Aman-Ullah A., Mehmood W., Amin S. & Abbas Y.A..(2022). Human capital and organizational performance: A moderation study through innovative leadership. Journal of Innovation & Knowledge. 7:1-9.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ และประพนธ์ หลีสิน.(2564). โปรแกรมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 8(2): 59-72.
ณัฏฐนิชา หามนตรี และพรเทพ รู้แผน.(2565). แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสาร Roi Kaensarn Academi.7(4): 347-361.