การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ของกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทพลาสติกแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • วรพล สงชุม สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นันท์นภัสร อินยิ้ม สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • โกวิท สุวรรณหงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วัฒนา จันทะโคตร สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์, Rapid Upper Limb Assessment (RULA), Rapid Entire Body Assessment (REBA)

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานที่จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทพลาสติกแห่งหนึ่ง จากกลุ่มตัวอย่าง 55 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้เครื่องมือ ประเมินรยางค์ส่วนบนคือ RULA (Rapid Upper Limb Assessment) และรยางค์ส่วนล่างคือ REBA (Rapid Entire Body Assessment) ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของท่าทางการทำงาน
     ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 100 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 35.13 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 63.64  และจากการประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงาน ของพนักงานในแต่ละลักษณะงานของแต่ละแผนก ผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน RULA พบว่า พนักงานในแผนกทำลูกลอย มี คะแนน Final score เท่ากับ 3 อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ระดับ 2 คือ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 30.77 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน REBA พบว่า พนักงานในแผนกฉีดขึ้นรูป มีคะแนน final score เท่ากับ 12 อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ 5 คือความเสี่ยงสูงมาก ควรรีบปรับปรุงทันที คิดเป็นร้อยละ 36.67  และพนักงานในแผนกบรรจุชิ้นงานส่วนใหญ่ มีคะแนน final score เท่ากับ 10  อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ 4 คือความเสี่ยงสูง ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรรีบปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 66.67

References

ลักษณา เหล่าเกียรติ. การบาดเจ็บความผิดปกติและโรคจากการทำงาน การป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

สุทธิ์ ศรีบูรพา. เออร์กอนอมิกส์ วิศวกรรมมนุษย์ปัจจัย (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2540.

นภานันท์ ดวงพรม และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 18(5):880-891.

เมธินี ครุสันธิ์ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกความรู้สึกไม่สบายบริเวณ คอ ไหล่และหลังของ พนักงานสำนักงานของมหาวิทยาลัยที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา 2557; 15:1712-1722.

กิตติ อินทรานนท์. การยศาสตร์ ERGONOMICS (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่1). นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม; 2559.

McAtamney L. and Corlett, N. RURA Survey method for the investigation of work related upper limb disorders. Apply Ergonomics 1993; 24(2):91-99.

Hignett S. and McAtamney L. Rapid entire body assessment (REBA). Applied Ergonomics 2000; 31: 201-205.

จีราพร ทิพย์พิลา. ความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานของคนงานขนสินค้า ณ ตลาดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2565; 5(1):1-8.

ปริญญาภรณ์ แก้วยศ. การประเมินภาระงานของกล้ามเนื้อและความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงาน ที่มีการยกลำเลียงในโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2563; 4(2):62-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30