ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
โปรแกรมการป้องกันการบุหรี่, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยมีเกณฑ์คัดเข้าแบบการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.64 และความเที่ยงเท่ากับ 0.86 กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน จำนวน 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยการทดสอบค่าที กำหนดนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน การเปรียบเทียบภายในกลุ่มของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ ดีขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะทีไม่พบการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังในผลลัพธ์ของการไม่สูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถตนเองต่อการไม่สูบบุหรี่ เจตคติต่อการสูบบุหรี่ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ (p>0.05) สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยสถิติที พบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนดีกว่ากลุ่มควบคุมเฉพาะด้านความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ เจตคติต่อการไม่สูบบุหรี่ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่ด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่างกัน (p >0.05)
References
บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสุธินี อัตถากร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง
ต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดงหลวงวิทยา อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2562;14(3):424-432
จุลจีรา จันทะมุงคุณ, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ และณัฐิกา ราชบุตร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยภูมิ, วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563; 28(4):304-16.
เขมิกา ณภัทรเดชานนท์, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ และจิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์. ผลของโปรแกรมการลดการสูบบุหรี่โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่อย่างมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่ติดบุหรี่. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2566;29(2):1-15.
สุพรรษา จิตรสม และปัณณทัต บนขุนทด. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาต่อทัศนคติในวัยรุ่นตอนต้น. ใน: ภัครดา เกิดปทุม (บรรณาธิการ), การประชุมและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติการพัฒนาองค์ความรู้จากการวิจัยสู่สังคม ครั้งที่ 17; วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563; มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ;2563.หน้า25-35.
ปิยะวดี พุฒไทย, รุ่งรัตน์ศรี สุริยเวศน์ และ พรนภา หอมสินธุ์. ผลของโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคมต่อการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2566;18(1): 50-59.
Bandura, A. Self-efficacy Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84(2):191-215.
Polit, D. F., & Hunger, B. P. Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: Lippincott: 1995.
จุไรรัตน์ ช่วงไชยยะ, มณฑา เก่งการพาณิช, ศรัณญา เบญจกุล, และมลินี สมภพเจริญ. ผลของโปรแกรมป้องกันการสูบบุหรี่ร่วมกับการใช้ Facebook ในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2564;15(2):94-105.
สมเด็จ ภิมายกุล และ กนกวรรณ คชสีห์. ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้ากับแนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566;16(3):30-43.
กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีผู้ป่วยใน. โรงพยาบาลศรีธัญญา.นนทบุรี, 2561.
นพรัตน์ สโมสร, ณัฎฐามณี วงษ์กาวิน, ชาติชาย ยืนยงพานิช และมรกต สมพันธุ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลลาน ดอกไม้ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2563;2(1):41-51.
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์, อารยา ทิพย์วงศ์, ลักขณา ยอดกลกิจ และสายสมร เฉลยกิตติ. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน, เวชสารแพทย์ทหารบก 2562; 72(1):33-42.
พิพัฒน์พล พินิจดี และจุฬาภรณ์ โสตะ. โปรแกรมการประยุกต์การสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี, สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558; 22(2):11-20.
อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์ และรัชยา รัตนะถาวร. การสูบบุหรี่ในวัยรุ่นและแนวทางสร้างการป้องกัน. วารสารพยาบาลทหารบก 2565;23(1):7-13.
อรณิช ชำนาญศิลป์ และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมสุขศึกษาตามทฤษฎีความสามารถขของตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบรูพา 2565;30(1):90-100.