การประเมินมาตรฐานห้องส้วมสาธารณะ และการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียของห้องส้วมสาธารณะภายในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ส้วมสาธารณะ, มาตรฐานห้องส้วมสาธารณะ (HAS), เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย, ท่าอากาศยานเชียงใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมาตรฐานห้องส้วมสาธารณะ ภายในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวน 19 จุดตรวจสอบ 210 ห้อง โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานห้องส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) และทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ด้วยชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) 190 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลเบื้องต้นของห้องส้วมสาธารณะภายในท่าอากาศยานเชียงใหม่ 2) ข้อมูลลักษณะทางกายภาพของห้องส้วมสาธารณะ และ 3) ข้อมูลการปนเปื้อนทางชีวภาพของห้องส้วมสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอในรูปแบบ ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติ T-test (Independent t - test)
ผลการศึกษาพบว่า ห้องส้วมสาธารณะภายในช่องทางเข้าออกฯ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยรวมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (HAS) คิดเป็นร้อยละ 52.63 และ 47.37 ตามลำดับ ส่วนที่ผ่านเกณฑ์ และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านความสะอาด (Healthy: H) คิดเป็นร้อยละ 68.42 และ 31.58, ด้านความเพียงพอ (Accessibility: A) คิดเป็นร้อยละ 57.89 และ 42.11 และเกณฑ์ด้านความปลอดภัย (Safety: S) คิดเป็นร้อยละ 84.21 และ 15.79 ตามลำดับ จากการประเมินหลังจากการแนะนำแนวทางการปรับปรุงให้กับผู้เกี่ยวข้อง พบว่าส้วมสาธารณะภายในท่าอากาศยานเชียงใหม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ผลการทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในห้องส้วมชาย และห้องส้วมหญิง พบว่าห้องส้วมชายมีการปนเปื้อนมากกว่าห้องส้วมหญิง (ร้อยละ 25.26 และ 6.32) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝารองนั่ง ชักโครก และสายฉีดชำระ พบการปนเปื้อนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.21 และ 21.05 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียของห้องส้วมชาย และห้องส้วมหญิงภายใน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ พบว่าห้องส้วมหญิงมีค่าเฉลี่ยของจุดที่ไม่พบการปนเปื้อนมากที่สุดที่ 17.80±2.17 จุด (ร้อยละ 93.68) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของจุดที่ไม่พบการปนเปื้อนในห้องส้วมชาย ที่ 14.20±2.59 จุด (ร้อยละ 74.74)
References
เจษฎา โชคดำรงสุข. สรุปผลการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 1 และ 2. [ออนไลน์]. 2567. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก https://env.anamai.moph.go.th/th/sewage/download?id=80322&mid=36126&mkey=m_document&lang=th&did=25829
สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย. ตัวชี้วัด 1.2 ประเด็นที่ 5 ส้วมสาธารณะผ่านมาตรฐาน สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย (HAS). [ออนไลน์]. 2566. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก https://mwi.anamai.moph.go.th/th/env-kpi-r1-2567/download?id=113550&mid=38814&mkey=m_document&lang=th&did=33971
Kramer A, Schwebke I, Kampf G. How long do nosocomial pathogens persist on inanimate surfaces? A systemic review. BMC Infectious Diseases. 2006; 16(6): 130.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2561.
ชนานุช พันธ์เพียง, พัชรา เกษมศิริ. การประเมินมาตรฐานส้วม และการทดสอบการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2565; 7: 68-76.
พัชริดา โพธิ์งาม, จิราภรณ์ อรนันท์. Evaluation of public toilet in the tour temples in Ubon Ratchathani Municipality [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2558.
สุวิชญาน์ ใจหนิม. การศึกษามาตรฐานส้วมสาธารณะในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ถนนเชียงใหม่-ฮอด จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.
ลักษณีย์ บุญขาว, นฤมล นามวงษ์. การประเมินมาตรฐานห้องส้วม และการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในห้องส้วมสาธารณะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562; 21: 140-151.
Kennedy D.I, Enriquez C.E, Gerba C.P. Enteric Bacterial Contamination of Public Restrooms. [Internet]. 2010 [cited 2024 February 20]. Available from: https://ciriscience.org/ieq-measurement/enteric-bacterial-contamination-of-public-restrooms/
Leech E. Men's Bad Bathroom Habits are Good for the Environment [Internet]. 2009 [cited 2024 February 20]. Available from: http://www.treehugger.com/corporate-responsibility/survey-says/