รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่เชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพ ด้วย 3 หมอ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลัน จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.), การดูแลสุขภาพด้วย 3 หมอ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่เชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพด้วย 3 หมอในการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลัน และแผนการพัฒนาการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างมี 3 ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 6 คนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลัน จำนวน 3 คน ทีม 3 หมอ จำนวน 7 คน ใช้ข้อมูลจากการประเมินตนเองการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอด้วย UCCARE และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-dept interview) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) จัดกลุ่มตามประเด็น
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีการดำเนินการครบถ้วนตามองค์ประกอบ UCCARE คะแนนผลการการประเมินตนเอง เฉลี่ยเท่ากับ 3 มีการเชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพด้วย 3 หมอ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ การสะท้อนข้อมูลสุขภาพจากการดำเนินงานของ 3 หมอ ทำให้มีนโยบายการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ของเครือข่ายอำเภอชัดเจน การคัดเลือกประเด็นแก้ปัญหา เรื่องอาหารปลอดภัยซึ่งสนับสนุนการลดโรคจากการบริโภคอาหาร การสนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพด้วย 3 หมอ ในโครงการ รู้ทัน โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ/อุดตัน ในระยะเฉียบพลัน เข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นซ้ำได้
References
สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ.(2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. ม.ป.ท.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.(2563). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2560 (พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ บริษัท พี เพรส จำกัด.
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies [internet]. Geneva: WHO Document Production Services; 2010 [cited 2022 Nov 11]. Available from:https://www. who.int/healthinfo/ systems/ WHO_MBHSS_2010 _full_web.pdf.
สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์ สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2561). คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561.ม.ป.ท.
เอกสารตรวจราชการและนิเทศงานจังหวัดสงขลา กรณีปกติรอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2567.(2566). ม.ป.ท.
อารมณ์ ร่มเย็น.(2565). ผลของการพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 3(15), 302-314/https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/259893.
ปัญญา พละศักดิ์.(2564). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 40-45.
วราภรณ์ ยุบลพันธ์ และ นิติยา สารคุณ(2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดของตำบลเทพคีรี อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(1), 49-56.
อุเทน สุทิน.(2565). ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านโดยประสานการมีส่วนร่วมของทีมหมอครอบครัวและชุมชน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. /https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:307522
เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, เตือนใจ ภูสระแก้ว, พิทยา ศรีเมือง, รุจิราลักขณ์ พรหมเมือง, ไพฑูรย์ พรหมเทศ และคณะ. การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิยุคนโยบายสามหมอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 17(3), 388-408.https://kb.hsri.or.th /dspace/bitstream/handle /11228/5931/hsri-journal-v17n3-p388408.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ฌณาธิปว์ ศิริภัคกุลวัฒน์, ชญานิศ บุตรดี และ ณัฐวศาร์ รุ่งแจ้ง. ตำบลบ้านดงเข้มแข็งในการเฝ้าระวังภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. โรงพยาบาลอุบลรัตน์. /https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/255911291525545619_ED6s4xZQxYMVCPbl.pdf
ถนัด ใบยา และ ยุพิน แตงอ่อน(2564). การประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 1(18), 59-68.