การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา สมวงษา โรงพยาบาลซำสูง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 2 รายที่มารับบริการที่ห้องคลอดโรงพยาบาลซำสูง จังหวัดขอนแก่น เปรียบเทียบผู้คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 2 ราย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน และการวางแผนการพยาบาลตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม
     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 หญิงตั้งครรภ์อายุ 32 ปี G2P1-0-0-1 ANC ที่ โรงพยาบาลซำสูงฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ 10+3 สัปดาห์ LAB I Hct. 28 % ได้ยา Folic acid ไปรับประทานวันละ 1 เม็ด ติดตามผลเลือด LAB II Hct เพิ่มขึ้นเป็น 35 % มาฝากครรภ์ตามนัด เมื่ออายุครรภ์ 33+5 สัปดาห์ เจ็บครรภ์คลอด ได้รับการยับยั้งการการหดรัดตัวของมดลูก สามารถยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดได้สำเร็จและตั้งครรภ์ต่อจนอายุครรภ์ถึง 39 สัปดาห์ รายที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 28 ปี G1P0-0-0-0 ANC ที่ คลินิกฝากครรภ์ ครั้งแรกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ฝากครรภ์ตามนัด เมื่ออายุครรภ์ 33+3 สัปดาห์เจ็บครรภ์คลอดและมีน้ำเดิน 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ไม่สามารถยับยั้งการคลอดได้สำเร็จ เนื่องจากมีการเปิดขยายของปากมดลูกและมีน้ำเดิน คลอดปกติทาง ช่องคลอด น้ำหนักทารก 2,120 กรัม APGAR Score =9-8-8 ทารกมีภาวะหายใจหอบลึก แพทย์จึงได้ส่งต่อทารกไปรักษาที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของจังหวัด

References

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย(2566).การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและถุงน้ำแตกก่อนกำหนด:แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2565-2567.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, และธีระ ทองสง.(2564).ในธีระ ทองสง(บ.ก.),สูตอศาสตร์ เรียบเรียงครั้งที่ 6 (น.247-256).กรุงเทพฯ:ลักษมีรุ่ง จำกัด

สายฝน ชวาลไพบูลย์,และ สุจินต์ กนกพงษ์ศักดิ์.(2544).ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด.เวชบันทึกศิริราช,4(2),พฤษภาคม-สิงหาคม 2544.

HDC กระทรวงสาธารณสุข. (2564-2566).(2564-2566).สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567

HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.Z2564-2566) สืบค้นจาก https://KKN.HDC.go.th/hdc/main/index.php.สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 25667

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลซำสูง(2567).สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลซำสูง ประจำปี 2565-2567โรงพยาบาลซำสูง

นงเยาว์ เอื้อตรงจิตต์. ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่ได้รับการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2562; 10 (1) 1-10.

ประไพรัตน์ แก้วศิริ,ศิริภรณ์ เหมะธุลิน,พิมลพรรณ อันสุข และพรรณยุพา เนาว์ศรีสอน.(2563).การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด:บทบาทพยาบาล.ศรีนครินทร์เวชสาร2563;35(2)หน้า238-245

Gordon, M.(1994).Nursing diagnosis : Process and Application. New York : McGraw-Hill.

Orem DE. Nursing: concepts of practice. 6th ed.Saint Louis: Mosby;2001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30