การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
รูปแบบการวางแผนจำหน่าย, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและผู้ดูแลจำนวน 30 คน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระยืน ในระหว่างเดือนมีนาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ.2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบความรู้ของผู้ป่วยและผู้ดูแล เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ก่อนจำหน่ายได้ทดสอบความรู้ และสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลังจำหน่าย การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติค่าที่แบบจับคู่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการประชุม สนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสังเกต ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอข้อมูลแบบบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า 1)การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถช่วยเพิ่มระดับความรู้ของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ คะแนนเฉลี่ยหลังการให้ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ในการเสริมสร้างความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรดปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล พึงพอใจระดับ “มากที่สุด” ร้อยละ 83.33 3)อัตราการกลับมารักษาช้ำภายใน 28 วัน เท่ากับ ร้อยละ 6.67 และ4) ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีความความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 68.75
References
World Health Organization (2010). Towards a common language for functioning, disability and health. [cited 2020 Nov 7] Available from http://www.who.int/classification/icf.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Health Data Center : HDC). 2566 อัตราการป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2567 สืบค้นเมือ 18 ธันวาคม 2566 https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php source=formated/ncd.php&catid=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=33b1c30a4652927ac32fee24e8906170
สมาคมอุรเวชซ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.2565.แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565.กรุงเทพฯ:168 หน้า.
ธิติภรณ์ ยอเสน. (2554). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร, 39(3),52-65.
วินัย ชาวเชียงตุง.(2556).การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ.[รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kemmis, S., & Mctaggart, R. (1988). The Action Research Planner(3 rd). Geelong, Australia: Deakin University Press.
ปราณี สายรัตน และคณะ.(2557). ผลของโปรแกรมการฝึกการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร, 41(4), 23 - 35.
อารีย์ เสนีย์. (2557). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ปวยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2),129-134.