การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลในชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ดูแลในชุมชน, ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัยบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลในชุมชน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 ประเมินผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver: CG) ของศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลโพนพิสัย 19 คน และญาติผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสอบถามความรู้ และประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัยยังไม่มีรูปแบบในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ชัดเจน CG ขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ขาดความรู้ในการใช้แบบคัดกรองและการบันทึกแบบรายงานต่างๆ ทำให้ขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) Care plan (2) การบันทึกสุขภาพ (3) กิจกรรมการเยี่ยมครั้งละ 2 ชม เดือนละ 4 ครั้ง การดูแลจนกว่าผู้สูงอายุจะเสียชีวิต (4) การประสานงานหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ (5) การนัดประชุม CG เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อส่งรายงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า CG มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ญาติมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคะแนน ADL เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อใดๆ รวมทั้ง CG และญาติมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี
References
ภาสกร สวนเรือง อาณัติ วรรณศรี และสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2561). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 12(3);437-450.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.ตัวชี้วัดผู้สูงอายุ. https://eh.anamai.moph.go.th/th/kpi-65
สรุปข้อมูลศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลโพนพิสัย เอกสารอัดสำเนา.หนองคาย, 2564.
สุกัญญา ปวงนิยม และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี. สารสารแพทย์เขต 4-5. 38(3) : 178 – 195
จิรังกูร ณัฐรังสี , สุนิตา ไชยมี , สุวนันท์ จังจิตร , สุภาวินี สุภะพินิ และ สุปรียา โพธิ์อุดม. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวันและความสุขของผู้สูงอายุ ชุมชนทุ่งขุนน้อย อุบลราชธานี. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.2 No.1 January-March 2018. file:///C:/Users/Administrator/Downloads/admin-jrihs,+Journal+manager,+5.JRIHS+vol.2+no1-5+%E0%B8%88%E0%B8% A3.pdf
ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์, อรสา กงตาล.การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำ หรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำ บลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2563 หน้า 48-65 file:///C:/Users/Administrator/Downloads/waraporn_k,+%7B$userGroup%7D,+5-piyarat-upload.pdf
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). แนวทางการดำเนินงานโครงการ (พมจ.) กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ท] .สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/411.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี. (2560). คู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Long Term Care: LTC). [อินเทอร์เนท]. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.nhso.go.th/page/fund_long_term_care.
การพัฒนาการจัดการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์และคณะ; วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2563 หน้า 48 – 65
ปวีณ์สุดา จันหุณีและ ฟ้าใส สามารถ ประสิทธิผลการจัดการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่ง ของเทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
สุดกัญญา ปานเจริญ,อัจฉโรบล แสงประเสริฐ.ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/259904/178638
สุพัตรา สหายรักษ์, ภัทราวดี เทพสง.การฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็น ผู้จัดการรายกรณีในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมแล สุขภาพชุมชน,5(3),62