ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ศรีแพร เอ้งฉ้วน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ต

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ปัจจัยเสี่ยง, การสนับสนุนจากสังคม, พฤติกรรมการกิน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ต โดยได้ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2567 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิในอำเภอเมืองภูเก็ต จำนวน 351 คน ข้อมูลถูกรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ปัจจัยการสนับสนุนจากสังคม และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
     ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับดี แต่ยังมีความรู้บางอย่างไม่ถูกต้อง ปัจจัยการสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างมีผลบวกต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีการสนับสนุนในระดับดีจากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง โดยเฉพาะในด้านการให้ข้อมูลและการช่วยดูแล นอกจากนี้ พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี แต่ยังมีบางส่วนที่ควรปรับปรุง

References

เทพ หิมะทองคำ และคณะ. ความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จูนพับลิชชิ่ง; 2548.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 22 ม.ค.67]; https://ddc.moph.go.th /brc/news.php.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551 - 2552. นนทบุรี: บริษัทเดอะกราฟิโกซิสต็มจำกัด; 2553.

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 22 ม.ค.67] ; Thailand Blueprint for Change_ 2017_TH.pdf (novonordisk.com)

Goldingay J. Daniel, Volume 30. Zondervan Academic; 2019 Dec 3.

ศรัญญา ด้วงเจริญ และศันสนีย์อรุณคิริ. (2550).การศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนตำบลหวายเหนียว อำเภอทามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. โปรแกรมวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ทวีพร เตชะรัตนมณี. (2547). ความสามารถในการดูแลตนเอง และการรับรู้สุขภาวะของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในจังหวัดภูเก็ต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, ปวีณา แสวงผล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2554; 9(2):130 - 42.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, บุญสัน อนารัตน์, นิรันดร์ ถาละคร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2565.

Isares Chantsakul, Jutatip Sillabutia, Pantyp Ramasoota. Determining factor of the Effectiveness of blood glucose level control among diabetes patient in Maeprik District Lampang Province Thailand. J Public Health and Develop 2007; 7(2): 55 - 64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30