การพัฒนารูปแบบการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา อ่อนสมจิตร์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • สุภาวดี คงโพธิ์น้อย สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • สุภาพรรณ อยู่ประเสริฐ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการรับบริการ, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, หญิงวัยเจริญพันธุ์, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับทัศนคติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในเขตบางเขน กรุงเทพฯ เพื่อพัฒนารูปแบบการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง และประเมินรูปแบบการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทเกี่ยวกับทัศนคติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการจำนวน 110 คน ด้วยแบบสอบถามทัศนคติของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 ใช้รูปแบบการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในหญิงวัยเจริญพันธุ์จำนวน 110 คน ที่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของคลินิกพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการสุขภาพสตรี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2567-7 กรกฎาคม 2567 ระยะที่ 4 ประเมินผลการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
     ผลการศึกษา พบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและอาย หลังการพัฒนาพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกด้านทักษะการเข้าถึง หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุด (M = -5.66, SD = 6.04) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากมีการให้ข้อมูลการเข้าถึงโรคมะเร็งที่ถูกต้อง ความพึงพอใจต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุด (M = -5.22, SD = 4.73) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin. 2018;68(6):394-424.

Bangkok Hospital. มะเร็งปากมดลูก [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/cervical-cancer/

American Cancer Society. Cervical Cancer [Internet]. 2021 [cited 2024 Apr 20]. Available from: https://www.cancer.org/cancer/cervical- cancer/about/key-statistics.html.

Li C, Matthews AK, Dong X. (2018). The Influence of health literacy and acculturation on cancer screening behaviors among older chinese americans. Gerontology & Geriatric Medicine, 2018;4:1-8.

ปิยดา เกลี้ยงจิตร, สุภัสสรา ขาวปาน, วิภาวรรณ บัวทอ, ณสิทธิ์ เหล่าเส็น. ระบบคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล แบบการจำแนกประเภทข้อมูล [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://fund.pkru.ac.th/storage/download/611b2ab4027439000170fbd3?sector =files2021&bucket=publish_paper&ver=0&sk=f80648d503237d7c7bcdf831b1b431e8

สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. ข้อมูลผู้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง; 2566.

Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. New York: John Wiley & Sons; 2010.

วรรณี แกมเกตุ. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

Strickland OL, Lenz ER, Waltz C. Instrumentation and data collection. In Measurement in nursing and health research (4th ed.). New York: Springer Publishing; 2010.

World Health Organization. WHO guidance note: comprehensive cervical cancer prevention and control: a healthier future for girls and women; 2013.

กุลภาภร ปัญสวัสดิ์, อรอานันท์ ใสแสง, วาสนา แก่นกุล. การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30-60 ปี ในเขตคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2562;7(2):40-8.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 2008;67(12):2072-78.

รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

Goto E, Ishikawa H, Okuhara T, Kiuchi T. Relationship of health literacy with utilization of health-care services in a general Japanese population. Preventive medicine reports. 2019;14:100811.

ชนกพร ปี้บ้านท่า. (2565) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลวิภาวดี.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;5(2):101-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30