การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลันที่ได้รับยา rt-PA ในโรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลัน, ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA), กรณีศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการจัดการ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลันที่ได้รับยา rt-PA ที่มารับบริการในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลพนมไพร แบบกรณีศึกษา 2 ราย ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล การประเมินผู้ป่วย การคัดกรองผู้ป่วย การวินิจฉัย การรักษาและการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่ได้รับยา rt-PA ของโรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วย 2 รายนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน ตั้งแต่เริ่มมีอาการเตือน ญาตินำส่งโรงพยาบาลทันที ถึงโรงพยาบาลผู้ป่วยได้เข้าในระบบ Stroke Fast Track ซึ่งทีมพยาบาลห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การประเมินแรกรับ การคัดกรองเบื้องต้น อาการสำคัญ Onset time ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การส่ง CT อาการและอาการแสดงทางรคลินิกที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ การรายงานแพทย์ทันทีเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันเวลา ตาม Stroke Fast Track Protocol และได้รับยา rt-PA ภายในระยะเวลา 4.5 ชั่วโมง
References
สถาบันประสาทวิทยา. (2559). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. บริษัท ธนาเพลส จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
ตวงทิพย์ บินไทยสงค์. (2557). การนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันส่งโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลตำบล, 6(2), 275-282.
สุรศักดิ์ โกมลจันทร์.(2563). Endovascular Treatment for Large Arterial Ischemic Stroke in Thailand at Present and Future. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย,36(4),1-11.
สมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งประเทศไทย. (2556). แนวทางการรักษาของประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โดยการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือด.วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย, 15(2), 1-34.
ณฐกร นิลเนตร, ชนัญญา จิระพรกุล, และเนาวรัตน์ มณีนิล.(2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสุขศึกษา,41(1),62-75.
สายสุนีย์ เจริญศิลป์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. (สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร
Brott T.,Adams HP Jr., Olenger CP, et al. (1989). Measurements of acute cerebral infarction: a clinical examination scale. Stroke, 20, 864-870
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. สถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จันทบุรี.
พรรณี รัตนประทุมวรรณ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่ห้องฉุกเฉิน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(3), 227-236