ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (The One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต (PICU) โรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งหมด จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึก แบบประเมิน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แจกแจงในรูปของความถี่ ร้อยละ และสถิติที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน ของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ในหอผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น ด้านการให้ข้อมูลพบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทอลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.000) 2. การประเมินความเสี่ยงการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน แบบประเมิน MAAS เป็นเครื่องมือที่นำเข้ามาใช้ใหม่ พบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทอลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.000) 3. การประเมินและการจัดการความปวด เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 4. การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน พบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.000) 5. การสื่อสารในทีมอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า หลังและก่อนการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value >.05 (0.86) ความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด โดยไม่ได้วางแผน อยู่ในระดับมากขึ้นไป จำนวน 17 คน (ร้อยละ 100)
References
Julia Simonassi, B.S.a and Juan P. Bonora Sanso. (2019) Prevalence of extubation and associated risk factors at a tertiary care pediatric intensive care unit. Arch Argent Pediatric, 117(2):87-93
Tanios, Epstein, Livelo, & Teres. (2018) Can we identify patients high risk for unplanned extubation a large-scale multidisciplinary survey. Respiratory care,55(5):561-8.
Silva PS, Reis ME, Aguiar VE, Fonseca MC. (2013). Unplanned extubation in the neonatal ICU: a systematic review, critical appraisal, evidence-base commendations. Respiratory Care ;58(7):1237-1245.
Nakrit, B., Namwongprom, A., & Phakdiwong, N. (2015). Slippage of the tracheal tube. and the time of inserting the machine Rescue breathing in critically ill patients who are cared for using a guideline Evidence-Based Nursing. Kuakarun Journal, 22(1):129-143.
สุเพียร โภคทิพย์ และคณะ. (2562). ความชุกปัจจัยเสี่ยงและการพยาบาลผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจออกเองและท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน : การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3หน้า 53-67.
พิลัยลักษณ์ คำแป้น และคณะ.(2563) การป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1
ปาณิศา บุณยรัตกลิน.(2562). การสื่อสารกับครอบครัวของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต: บทบาทพยาบาล/ Communicating with Family of Patients in Intensive Care Unit: Nurse’s Role วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 12 ฉ.2. หน้า 90-99.
Sirata, C. (2007). The development of a clinical nursing practice guideline to prevent self Extubation in critical patients. The Master degree of Nursing Science Bangkok: Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.
Devlin JW, Boleski G, Mlynarek M, et al. Motor Activity Assessment Scale: a valid and reliable sedation scale for use with mechanically ventilated patients intensive care unit. Crit Care Med. 1999;27(7):1271-1275
สำลี คิมนารักษ์ และคณะ. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม.วารสารแพทย์เขต 4-5 ; 38(3):10-25.
Carrie L Hicks ,Carl L von Baeyer, et. Al. (2001) The Faces Pain Scale-Revised: toward a common metric in pediatric pain measurement. Pain. 2001 Aug;93(2):173-183.
Monica Johansson ,Eva Kokinsky. (2009) The COMFORT behavioural scale and the modified FLACC scale in paediatric intensive care. Nurs Crit Care. 2009 May- Jun;14(3):122-30.
ฐิติมา เมฆสมุทร และคณะ.(2566). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม : 57-64.
โสภา โพธิมา. (2565). การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อปองกันการถอดทอชวยหายใจโดยไมไดวางแผนในหอผูปวยวิกฤต โรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ ปที่ 3 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) หน้า 23-36
พัชรี ตั้งสุขเกษมสันติ์. และคณะ.(2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางปากต่ออุบัติการณ์การหลุดของท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก. เวชบันทึกศิริราช นิพนธ์ต้นฉบับ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค.
Julia Simonassi, B.S.a and Juan P. Bonora Sanso, B.S. (2019). Prevalence of extubation and associated risk factors at tertiary care pediatric intensive care unit.Arch Argent Pediatric ;117(2):87-93
นงลักษณ์ ณ นคร.(2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพ : 61-70.