การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ภาวะพลัดตกหกล้มบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลของการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสกลนครในช่วงเดือน เมษายน - กันยายน พ.ศ. 2566 ได้รับการคัดเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 364 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุและแบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม (Thai-FRAT) การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุวิเคราะห์และภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม (Thai-FRAT) วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อน-หลังร่วมกิจกรรม โดยใช้สถิติ Pair sample t-test
ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นทุกด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเองมีค่าเฉลี่ย 3.21(SD=.206) การออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ย 3.28 (SD=.295),โภชนาการมีค่าเฉลี่ย 3.16 (SD=2.31) อยู่ในระดับปานกลาง และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม ก่อนร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเสี่ยงสูง (=4.57, SD=.548) หลังร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ( =3.25, SD= 1.071) เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=36746.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. ข้อมูลสถิติประชากรจังหวัดสกลนครจาก Health Data Center. ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://skko.moph.go.th.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2558). แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทอิส ออกัส จำกัด
ปิยะรัตน์ สวนกูล และหัสยาพร อิทยศ. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. Journal of the Phrae Hospital, 30(1); 27-42.
ศันสนีย์ วงศ์ชนะ. (2565). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสุขศึกษา, 45 (1), 181-191.
มินตรา สาระรักษ์, ฐิติรัช งานฉมัง และนันทยา กระสวยทอง.(2563). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(3); 304-310.
โสภิตตา แสนวา, นิภา มหารัชพงศ์, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ และวัลลภ ใจดี. (2565). ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15 (2); 214-227.