ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, การส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การออกกำลังกาย โภชนาการ การพัฒนาจิตวิญญาณ การจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมการจัดการตนเอง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-3 จำนวน 155 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยการส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การออกกำลังกาย โภชนาการ การพัฒนาจิตวิญญาณ และการจัดการกับความเครียดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ของตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติบางครั้ง (1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) (= 2.84) 2) พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว สระแก้ว โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติบางครั้ง (มีการปฏิบัติปานกลาง หรือ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) (= 3.04) 3) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ และด้านการจัดการกับความเครียด กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r = .61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2565). โรคไตเรื้อรัง. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.
กระทรวงสาธารณสุข. (2567). จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาล จำแนกตาม Stage (Work Load) ปีงบประมาณ 2567. วันที่ค้นข้อมูล 3 มีนาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=e69c7fae93eda2222aa210d5db512290
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). Serviceplan สาขาไตกระทรวงสาธารณสุข. วันที่ค้นข้อมูล 3 มีนาคม 2567 จาก thaihp.org/download.php?option=showfile&file=474
ลักขนา ชอบเสียง. (2567). การจัดการตนเองและสำหรับครอบครัวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วันที่ค้นข้อมูล 2 มีนาคม 2567, เข้าถึงได้จาก http://web.bcnpy.ac.th/journal/images/file/pdf/ year16no3/1.pdf
ดารารัตน์ อุ่มบางตลาด, และศตกมล ประสงค์วัฒนา. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบเข้มต่อความรู้พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานใน pcu อ.บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 18(1), 11-23.
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี. (2560). โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระบาดวิทยาการป้องกันและการสนับสนุนการจัดการตนเอง. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพลับลิเคชั่น.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2014). Health Promotion in Nursing Practice (7th ed.). London: Pearson.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis.
Natashia, D., Yen, M., Chen, H. M., & Fetzer, S. J. (2019). Self-Management Behaviors in Relation to Psychological Factors and Interdialytic Weight Gain Among Patients Undergoing Hemodialysis in Indonesia. Journal of nursing scholarship : an official publication of Sigma Theta Tau International Honor Society of Nursing, 51(4), 417–426.
สุพัตรา เชาว์ไวย และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-2. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(1), 11-20.
ศิริวรรณ พายพัตร, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และวารินทร์ บินโฮเซ็น. (2654). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 3(2), 22-36.
ชญาภา วรพิทยาภรณ์, พรทิพย์ มาลาธรรม และนพวรรณ พินิจขจรเดช. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร ,27(1), 81-95.
นาตยา ผลวิเศษ. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอความเสื่อมของไต. วันที่ค้นข้อมูล 2 มีนาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.nationalhealth.or.th/ th/node/4569