เสียงจากชุมชน: การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ในการจัดการโรคไตเรื้อรังในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บรรเทิง พลสวัสดิ์ อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ฐิติมา โกศัลวิตร อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • เมธาพร อัครศักดิ์ศรี อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • พัชรี ใจการุณ อาจารย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรนิตย์ จันทะเสน อาจารย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, การชะลอไตเสื่อม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดูแลสุขภาพปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และบริบทการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2) วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และความต้องการในการดูแลผู้ป่วย 3) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการดูแลและชะลอไตเสื่อม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ จำนวน 4 คนได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเครือข่ายชุมชน ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ญาติผู้ดูแลหลัก ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 13 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม โดยแนวทางการสนทนากลุ่มผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัย พบ 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง 2) ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 3) การสื่อสารและประสานงานในการดูแลผู้ป่วย 4) การเข้าถึงบริการสุขภาพ และ 5) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

References

Foreman KJ, Marquez N, Dolgert A, Fukutaki K, Fullman N, McGaughey M, et al. Forecasting life expectancy, years of life lost, and all-cause and cause-specific mortality for 250 causes of death: Reference and alternative scenarios for 2016–40 for 195 countries and territories. Lancet. 2018;392(10159):2052-2090.

Glassock RJ, Warnock DG, Delanaye P. The global burden of chronic kidney disease: Estimates, variability and pitfalls. Nat Rev Nephrol. 2017;13(2):104-114.

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

Go AS, Chertow GM, Fan D, McCulloch CE, Hsu CY. Chronic kidney disease and the risks of death, cardiovascular events, and hospitalization. N Engl J Med. 2004;351(13):1296-1305.

MacRae C, Mercer SW, Guthrie B, Henderson D. Comorbidity in chronic kidney disease: A large cross-sectional study of prevalence in Scottish primary care. Br J Gen Pract. 2021;71(704):e243-e249.

Kelly JT, Su G, Zhang L, Qin X, Marshall S, González-Ortiz A, et al. Modifiable lifestyle factors for primary prevention of CKD: A systematic review and meta-analysis. J Am Soc Nephrol. 2021;32(1):239-253.

Borg R, Carlson N, Søndergaard J, Persson F. The growing challenge of chronic kidney disease: An overview of current knowledge. Int J Nephrol. 2023;2023:9609266.

อัมพรพรรณ ธีรานุตร, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, ปัทมา สุริต, วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, จันทร์โท ศรีนา, et al. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการล้างไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2560.

ปุญญนิณ เขื่อนเพชร, รู้งลาวัลย์ กาวิละ, อรุณี ไชยเมือง. การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2563;7(1):57-74.

บุญสม คุ้มกลาง, ปุญญิศา วัจฉละอนันท์. ผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2563;5(2):1-10.

มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์, วันเพ็ญ วิศิษฎ์ชัยนนท์, ธันย์ชนก รุ่งเรือง, กมลฐา เกยด่านกลาง, ธัชนันท์ ศิริศานต์, บงกชจันทร์ กฤนานนท์. การพัฒนาคลินิกโรคไตเรื้อรังเครือข่ายจังหวัดหนองคาย. หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2559.

de Jong Y, van der Willik EM, Milders J, Meuleman Y, Morton RL, Dekker FW, et al. Person centred care provision and care planning in chronic kidney disease: Which outcomes matter? A systematic review and thematic synthesis of qualitative studies. BMC Nephrol. 2021;22(1):309.

สรุปผลการดำเนินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงห่องแห่, 2564)

บรรเทิง พลสวัสดิ์. การพัฒนาแนวทางการชะลอไตเสื่อมโดยเครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(1):366-377.

Erlingsson C, Brysiewicz P. A hands-on guide to doing content analysis. Afr J Emerg Med. 2017;7(3):93-99.

Oosting IJ, Colombijn JMT, Kaasenbrood L, Liabeuf S, Laville SM, Hooft L, et al. Polypharmacy in Patients with CKD: A Systematic Review and Meta-Analysis. Kidney360. 2024;5(6):841–850.

สำราญ พูลทอง, สุปราณี เมืองโคตร, วิลาวัลย์ หลักเขต. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิ์ประสงค์. 2566;7(1):91-104.

อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, อมฤต สุวัฒนศิลป์, ธนชัย พนาพุฒิ, et al. ภาระการเงินในครัวเรือนของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2561;14(4):79-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30