การพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ในคลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เรืองศิริ เจริญพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญ คลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

นวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถามและการทำ Focus group มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์แนวทางการป้องกันโรคโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้และพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของคลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี  โดย ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย content analysis ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 60.00 การรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง 2 ด้าน คือ แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.13 และแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.67 พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.00 และแนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ของคลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ประกอบด้วย คู่มือการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ การสอนการใช้คู่มือ การจัดให้มีระบบการติดตามประเมินภาวะเสี่ยง การพัฒนาความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถจัดการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน และการสะท้อนผลการพัฒนาแนวทางและผลการปฏิบัติตามแนวทาง

References

World Stroke Organization: (WSO). (2022). Up again after stroke. Retrieved 29 Febuary 2023 from : http://www. Worldstroke campaign.org

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติการสาธารณสุข พ.ศ. 2562.นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ (2563). จำนวนและอัตราป่วย/ตาย ปี 2559-2562 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง). สืบค้น 24 มีนาคม 2566, จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?

id=13893&tid=32&gid=1-020

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2560). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2557. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การทบทวนวรรณกรรม : สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี : อาร์ต ควอลิไฟท์.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). อัตราการป่วยตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง. สืบค้น 8 มกราคม 2566, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ดัชนี้พฤฒพลังผู้สูงอายุไทย (Active Ageing Index of Thai Elderly). กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

World Health Organization. (2018). Noncommunicable diseases. Retrieved 29 Febuary 2023 from https://www.who.int/news-room/fact- sheets/detail/noncommunicablediseases

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 (พิมพ์ครั้ง ที่ 3). ปทุมธานี : ร่มเย็นมีเดีย.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบติทั่วไป พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง.

ณรงค์กร ชัยวงศ์ , และปัณณทัต บนบุนทด. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 6-15.

ยุทธนา ชนะพันธ์ , และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร, 21(2), 109-119.

กานต์ธิชา กำแพงแก้ว, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, และวีนัส ลีฬหกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 40-56.

วาสนา หน่อสีดา, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2562). การพัฒนาแนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามพร้าววารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37 (4), 167-176.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2544). โรคหลอดเลือดสมอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2, 336-385.

งานเวชระเบียนคลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน. (2566). รายงานผู้รับบริการโรค NCD ในคลินิกหมอครอบครัว ท่าวังหิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2566 (มกราคม – มีนาคม 2566). เอกสารอัดสำเนา.

รำไพวัลย์ นาครินทร์. (2553). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดและควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน สถานีอนามัย บ้านโพธิ์น้อย ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาสนา เหมือนมี, สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, ชมนาด วรรณพรศิริ , และทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(2), 156-164.

ปวิตรา จริยสกุลวงศ์, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, และวีรนุช รอบสันติสุข. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7 (3), 27- 34.

ปรารถนา วัชรานุรักษ์, และอัจฉรา กลับกลาย. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 217-231.

สายฝน เติบสูงเนิน, และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2560). ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32 (5), 482-490.

สุกิจ ทองพิลา, นิตติยา น้อยสี ภูมิ, และสุกัญญา เลาหรัตนาหิรัญ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 43 เขตมีนบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22 (2), 75-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30