ผลของการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินชีวิตของพนักงานในสถานประกอบการ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ฐาปานีย์ สิงห์บวรนันท์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมเสี่ยง

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินชีวิตของพนักงานในสถานประกอบการ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานในสถานประกอบการแห่งหนึ่ง ทำการสุ่มเลือกแบบง่ายโดยจับสลาก ให้สาขา 1 แห่ง เป็นกลุ่มทดลอง และอีก 1 แห่งเป็นกลุ่มควบคุม สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยจับสลาก สาขาละ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ระยะเวลา 4 สัปดาห์  2) แบบประเมินตนเอง Stages of Change และ 3) แบบคัดกรองพฤติกรรมปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินชีวิต เครื่องมือที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Independent t-test, paired t-test และ Wilcoxon Signed rank test
     ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระยะ stage of change สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05(P-value = 0.006)  มีพฤติกรรมปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินชีวิตน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value <0.001) และมีพฤติกรรมปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินชีวิตน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value = 0.001)

References

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). สัญญาณเตือนกลุ่มโรค NCDs [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.shorturl.asia/xm4Z7

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2562.

วันเพ็ญ ทรงคำ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอาชีวอนามัย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. เชียงใหม่: เอ็น.พี.ที. ปริ้นติ้ง; 2563.

O'Donnell MP. Health promotion in the workplace. 3rd ed. USA: Delmar; 2002.

เกษม นครเขตต์, สามารถ ศรีจำนงค์, อุเทน ปัญโญ, อเนก ช้างน้อย, มนัส ยอดคำ. การส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานเอกชน : โครงการวิจัยเพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงานภาคเอกชน: กรณีศึกษาสี่จังหวัดภาคเหนือ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1272?locale-attribute=th

Rogers B. Occupational and environmental health nursing: Concept and practice. 2nd ed. Philadelphia, PA: Elsevier Science; 2003.

รจเรข ธรรมกร่าง, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีที่ไม่เคยตรวจคัดกรอง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 2557;1(5):19-29.

Prochaska JO, Redding CA, Evers KE. The transtheoretical model and stages of change. In: Glanz K, Rimer BK, Lewis FM, editors. Health behavior and health education. 3rd ed. San Francisco: Jossey-Bass; 2002.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. หลักสูตรการปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ กรมควบคุมโรค. แบบคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน (แบบ TWH01) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/976020200130083101.pdf

อุดมศักดิ์ แก้วบังเกิด. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทยต่อดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสมรรถภาพทางกาย ของบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ชุลีพร หีตอักษร. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ประกอบการตลาดสดกอบกาญจน์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(พิเศษ):91-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30