ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวี
คำสำคัญ:
การวางแผนจำหน่าย, การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับ การรักษาในหอผู้ป่วยในชาย และหญิง โรงพยาบาลสวี จังหวัดชุมพร ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และสมัครใจเข้าร่วมวิจัย จำนวน 60 คน ดำเนินการวิจัยช่วง กุมภาพันธ์ 2567 – พฤษภาคม 2567 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด (Purposive sampling) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมแผนการจำหน่าย จำนวน 3 ครั้ง ได้รับการประเมิน การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด ในวันแรกรับ หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และหลังการทดลองเสร็จสิ้นสี่สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในกลุ่ม เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดในระยะก่อนการทดลองหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และหลังการทดลองเสร็จสิ้นสี่สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการวิเคราะห์สถิติ two – way analysis of variance : repeated measure ANOVA และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายมีค่าเฉลี่ยคะแนน การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของวันแรก วันเสร็จสิ้นทันที และหลังเสร็จสิ้นสี่สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบกันไม่มีความแตกต่าง ส่วนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน หลังจากทดลองแล้วพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองในวันเสร็จสิ้นทันที และหลังเสร็จสิ้นสี่สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากวันแรกรับ และผลระดับน้ำตาล ในเลือด จากการทดลองพบว่า วันเสร็จสิ้นทันที และหลังเสร็จสิ้นสี่สัปดาห์ ลดลงจากวันแรกรับ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนน การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม จากการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองไม่มีความแตกต่างกันและพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่มีความแตกต่างกัน และหลังจากทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มทดลองต่ำกว่า กลุ่มควบคุม
References
Rubin, R. j., Altman, W. M., & Mendelson, D. N. (1994). Health careexpenditures for people with diabetes mellitus. Journal of Clinical Endocrinol-Metabolism, 78, 809A -809F
วัลลา ตันตโยทัย และอดิสัย สงดี. (2540). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน. ในสมจิตร หนุเจริญกุล (บรรณาธิการ), การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 4 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : หจก. วีเจ พริ้นติ้ง จำกัด.
Lowenstein, A.J., & Holf. P.S.(1994) . Discharge planning : A Study of Nursing Staff Involve. Journal of nursing Administration , 24 (4) , 45-50
เวชสถิติโรงพยาบาลสวี. (2565, ตุลาคม). รายงานผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม]. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขประจำปี 2565, โรงพยาบาลสวี. (2564).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร : ศรีเมืองการพิมพ์.
สมศักดิ์ ค้าธัญญมงคลและคณะ (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุสิน อำเภอ บางระกำ จังหวัด พิษณุโลก. รายงานการวิจัย.
วัลลา ตันโยทัย. (2540). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพฯ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อไร้ท่อแห่งประเทศไทย,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,และสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
กฤษดา แสวงดี ธีรพร สถิรอังกูร และเรวดี ศิรินคร,(2539). แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.