ประสิทธิผลของการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกของผู้คลอดที่คลอดทางช่องคลอด

ผู้แต่ง

  • รุ่งตะวัน อัยวรรณ งานการพยาบาลผู้ห้องคลอด โรงพยาบาลพระอาจารย์วัน อุตฺตโม

คำสำคัญ:

ภาวะตกเลือดหลังคลอด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) นี้เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตกเลือด อัตราความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอด และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกของผู้คลอดที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลพระอาจารย์วัน อุตตฺโม จังหวัดสกลนคร เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2567 –  พฤษภาคม  2567 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้อมูลในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกภาวะสุขภาพ (การสูญเสียเลือดจากการคลอดทางช่องคลอด) และรายงานการคลอดของมารดาที่คลอดทางช่องคลอด ที่บันทึกในโปรแกรม HOSxP แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 15 คน กลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 15 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดอย่างน้อย 12 เดือน จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย คือ แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก แบบประเมินความเสี่ยง และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และปรียบเทียบอุบัติการณ์ตกเลือดก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ข้อมูลที่ได้นำมาทดสอบวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบฟิชเชอร์ (Fisher’s exact probability test)
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาล มีอัตราการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกแตกต่างกับกลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p = .000) กลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาล มีอัตราความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกน้อยกว่ากลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ในระดับมาก 5 คน (ร้อยละ 100) โดยพยาบาลร้อยละ 100 มีความคิดเห็นว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดรวมทั้งสามารถปฏิบัติตามได้ทุกข้อ และสามารถใช้แนวปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง

References

Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guidelines Program.Primary postpartum hemorrhage. Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guideline[Internet]. 2012[cited 2023 Mar 5]; Available from:http://www.health.qld.gov.au/qcg.

MicheletD, Ricbourg A, Rossignol M, Schurando P, Barranger E. Emergency hysterectomy for lifethreatening postpartum hemorrhage: Risk factors and psychological impact. Gynecologic Obstetric and Fertilities 2015;43(12):773-779.

Anderson, J. M., & Etches, D. (2007). Prevention and management of postpartum hemorrhage. Intermational Journal of American Family Physician, 75, 875-882.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2560). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด. ใน นันทพร แสนศิริพันธ์และ ฉวี เบาทรวง, บรรณาธิการ.การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. (หน้า 321-332). เชียงใหม่:สมาร์ทโคตรติ้ง แอนด์ เซอร์วิส.

Iamchareon T. Postpartum hemorrhage: Significance of nurse’s roles in prevention. APHEIT Journal 2017; 6(2): 146-57

Bing D, Melsop K, Main E. CMQCC obstetric hemorrhage hospital level implementation guide. California: Stanford University; 2010.

Pornsak Satapornteera, Sakda Arj-Ong, Oraphan Aswakul. Factors Associated with EarlyPostpartum Hemorrhage of Singleton Pregnancy in MaharatNakhon Ratchasima Hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology 2012;20:21-28.

WHO. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum haemorrhage. Geneva: WHO; 2012.

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. ตำราภาวะฉุกเฉินทางสูติ – นรีเวช. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

รสสุคนธ์ จันทร์ดาประดิษฐ์, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. ประสิทธิภาพของการใช้ถุงพลาสติกแผ่นฟิล์มวัดปริมาณ การสูญเสียเลือดหลังคลอด[อินเทอร์เน็ต].2558[เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค.2566].เข้าถึงได้จาก: http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1952

จิตร สิทธิอมร, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, สงวนสิน รัตนเลิศ, และ เกียรติศักดิ์ ราชบรีรักษ์. (2543).Clinical practice guideline: การจัดทำและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: ดีไซด์.

ณฐนนท์ ศิริมาศ,ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง, จีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแล หญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการ ดูแลสุขภาพ 2557;32(2):37-46.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาตา วิภวกานต์, อารีกิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลัง คลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้2559;3(3):127-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30