ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพผู้สูงอายุของตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพ, คุณภาพผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ 305 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างโดยเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพของตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์รายข้อ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสูงสุด ต่ำสุด และวิเคราะห์รายข้อทุกข้อ การสนับสนุนทางสังคม หาค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย เฉลี่ยร้อยละ และเบี่ยงเบนมาตรฐาน คุณภาพชีวิต หาค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย เฉลี่ยร้อยละ และเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต โดยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหเพียร์สัน (Pearson’s correlation)
ผลการวิจัย พบว่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพจากญาติ มีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย จิตใจ สิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพจากเพื่อน มีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพจากวัด มีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม มีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ, ศิวพร อึ้งวัฒนา และสุกฤตา สวนแก้ว. การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. พยาบาลสาร, 2563; 47(3): 267-276.
Thai Elderly Research and Development Institute Foundation. The situation of Thai elderly in 2016. Retrieved from from http://thaitgri.org/?p=38427 (In Thai); 2016.
ภูริชญา เทพศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. (สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ
นิรัชรา เหลี่ยมเลิศ. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
รวีวรรณ แก้วอยู่, พัชรรินทร์ เนียมเกิด, สุปราณี พรหมสุขันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเกื้อหนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2563; 3(2): 166-177.
จันทนา สารแสง. คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่; 2561.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และ รติพร ถึงฝั่ง. การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 2559; 21(2): 94-109.