พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจำนวน 213 คน โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2567 โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากสารเคมีอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 99.08) โดยมีความเข้าใจผิดบางประการ เช่น การฉีดพ่นตอนแดดจัดไม่เป็นอันตราย ส่วนความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางและระดับดีใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 49.76 และ 50.24) สำหรับระดับปัจจัยกระตุ้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 54.92) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 90.61) โดยเฉพาะในช่วงก่อนและระหว่างการฉีดพ่น แต่ยังมีบางส่วนที่ปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ เช่น การอ่านฉลาก การใส่ชุดป้องกัน การงดกินอาหาร/สูบบุหรี่ ขณะฉีดพ่น การติดป้ายเตือนหลังฉีดพ่น การเก็บสารเคมี และการไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
References
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ข้าวโพด : การปลูกข้าวโพด [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=8646
กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน Health Data Center (HDC) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/index.php
Champion VL, Skinner CS. The Health Belief Model. In: Glanz K, Rimer BK, Viswanath K, editors. Health behavior and health education: Theory, research, and practice. 4th ed. San Francisco: Jossey-Bass; 2008. p. 189-193.
สุชาดา ข้องแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ [อินเทอร์เน็ต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5157/3/60062947.pdf
กรมวิชาการเกษตร. ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/th/#
Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 11th ed. New York: John Wiley & Sons; 2018.
ณัฐธยา วิไลวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5157/3/60062947.pdf
กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และกาญจนา แซ่อึง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5157/3/60062947.pdf
เอกพล กาละดี และเจตนิพิฐ สมมาตย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้และการป้องกันสารเคมีของผู้ประกอบอาชีพไร่อ้อย: กรณีศึกษาบ้านตลุกชั่งโค ตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5157/3/60062947.pdf
นุกูล หนูสุข. ผลของโปรแกรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ลำปาง: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโป่ง; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5157/3/60062947.pdf