การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 2 ราย โดยกรณีศึกษาทั้ง 2 มีสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดต่างกัน กรณีศึกษาที่ 1 เกิดจากการติดเชื้อ Leptospirosis with septic shock กรณีศึกษาที่ 2 เกิดจาก Pneumonia with ARF with ARDS with sepsis with septic shock ต้องได้รับการกำจัดแหล่งติดเชื้อโดยการให้ยาฆ่าเชื้อ ทั้ง 2 กรณีศึกษา มีอาการแสดงภาวะช็อกตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน รายแรกได้รับการรักษา Fluid Resuscitation และ Nor – epinephrine มาจากโรงพยาบาลชุมชน รายที่ 2 ได้รับการรักษา Fluid Resuscitation มาจากโรงพยาบาลชุมชน และได้รับยา Nor – epinephrine ในโรงพยาบาลศูนย์ตรัง
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ เปิดเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอ (Central line Insertion) เพื่อให้ยาและสารน้ำ ให้ยากระตุ้นความดันโลหิต ในด้านการพยาบาลผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน(Gordon) ข้อวินิจฉัยการพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองรายที่แตกต่าง คือ 1) เซลล์ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซและการระบายอากาศลดลงจากการติดเชื้อที่ปอด 2)มีภาวะของเสียคั่งจากภาวะไตสูญเสียหน้าที่ 3) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ 4) ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ 5) มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแต่ละรายได้รับการแก้ไขจนผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต อาการดีขึ้น ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน รายที่ 1 แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ อีก 2 สัปดาห์ นัดมาติดตามอาการ ผู้ป่วยรายที่ 2 แพทย์ส่งตัวกลับไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมชน เพื่อรอการ Recovery ของปอด
References
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจราชการ ประจําปี 2562. [อินเตอร์เน็ต].2562. [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2567] สืบค้นจากhttp://dmsic.moph.go.th/index/detail/2779.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558).แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe sepsis และ Septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558, สืบค้น 28 มิถุนายน 2567, จาก https://www.scribd.com/document/308976515/ร่างแนวทาง เวชปฏิบัติ-sepsis-และ-septic shock -2558
สมใจ จันทะวัง.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลําพูน. Journal of the Phrae Hospital2518; 26(1): 35-46.
ทิฏฐิ ศรีวิชัย และวิมล อ่อนเส็ง. (2560). ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 9(2): 152-162.
มัณฑนา จิระกังวานและชลิตา จันเทพา.(2015). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล.42(3): 9-32.
พรทิพย์ แสงสง่า และนงนุช เคี่ยมการ (2558). ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์“Sepsis bundles” ในงานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาล สงขลา, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(3), 403-410.
วิจิตรา กุสุมภ์และอรุณี เฮงยศมาก. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ: แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.