การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดช็อกจากรกค้างติดแน่น และได้รับการผ่าตัดมดลูก

ผู้แต่ง

  • สวิชญา กองสว่าง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะตกเลือดช็อก, รกค้างติดแน่น, ผ่าตัดมดลูก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดช็อกจากรกค้างติดแน่นและได้รับการผ่าตัดมดลูกตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย กรณีศึกษาคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดช็อกจากรกค้างติดแน่นและได้รับการผ่าตัดมดลูกที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง เดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 1 ราย ทำการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่า มารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดช็อกจากรกค้างติดแน่นและได้รับการผ่าตัดมดลูก พบว่าผู้ป่วยเสี่ยงมีภาวะ Hypovolemic shock เนื่องจากเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ปวดแผลผ่าตัด อ่อนเพลีย เสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด ครอบครัวมีความวิตกกังวล พยาบาลจำเป็นต้องใช้ความสามารถทางการพยาบาลเข้ามาให้การดูแลช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขให้ผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤตสามารถกลับมาดูแลตนเองได้ โดยการสอน ชี้แนะ และใช้ทักษะการประเมินและการดูแลรักษาพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะรกค้างและได้รับการผ่าตัดมดลูกเพื่อลดอัตราแทรกซ้อนและการเสียชีวิต

References

กิติพร กางการ. การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดในระยะคลอด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(2):23-35.

จีรนุช สมโชค, ศรัญญา จุฬารีและจันทร์ทิรา เจียรณัย. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางช่องท้อง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2563;26(1):231-250.

ณัฏฐ์วรดี จิรายุสวุฒิธนา. การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดแบบผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;5(1):110-123.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560;6(2):146-157.

ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา Handbook of drugs. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ: N P Press Limitef Partnership; 2559.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและระบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 20. สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562-2564. แนวทางเวชปฏิบัติิของราชวิทยาลัยสูติินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด : RTCOG Clinical Practice Guideline Prevention and Management of Postpartum Hemorrhage. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.rtcog.or.th/content/viewid/14

รุ่งทิพย์ พฤกษะวัน. การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด : รายงานผู้ป่วย. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2567;4(2):179-188.

เวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลบ้านโป่ง. รายงานสถิติประจำปี 2564-2566. ราชบุรี: โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2566.

อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30