ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานรับรองคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ อย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก เขตสุขภาพที่ 8 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นิโลบล ช่วยแสง นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พาณี สีตกะลิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง, การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการดำเนินงานการเพื่อการรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก เขตสุขภาพที่ 8 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานรับรองคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก เขตสุขภาพที่ 8 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประขาการจำนวน 816 คน จากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงชุมชนขนาดเล็กทั้ง 9 แห่ง ในเขตสุขภาพที่ 8 ที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถามประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านโครงสร้าง ปัจจัยด้านกระบวนการ และผลลัพธ์การรับรองและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีค่าความตรงที่ 0.91และความเที่ยงที่ 0.87 สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
     ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ78.15 มีประสบการณ์ในการทำงานคุณภาพไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 82.52 และเข้ารับการอบรมในการพัฒนาคุณภาพ ร้อยละ 64.78 และ 2) ปัจจัยด้านโครงสร้างการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลชุมชน (ด้านผู้นำและการสื่อสาร) ปัจจัยด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลชุมชน (การเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ และ ประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมในงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานรับรองคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

References

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. รายงานประจำปี 2563. 14th HTAsiaLink Newsletter: Non-communicable diseases and COVID-19. 2020.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). รายงานประจำปี 2563. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2563.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. รายงานประจำปี 2564. บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน); 2564.

กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2563. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). รายงานประจำปี 2564. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2564.

Israel GD. Sampling the evidence of extension program impact. Program Evaluation and Organizational Development, IFAS, University of Florida; 1992.

Likert R. New patterns of management. McGraw-Hill; 1967.

อำพัน วิมลวัฒนา, คณะ. โมเดลสมการโครงสร้างการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างยั่งยืน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2561;62(3):179-92.

เพชรศิริ พรภัทรศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของทีมสหวิชาชีพ ในโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(3):140-8.

Tashayoei N, Raeissi P, Nasiripour AA. Challenges of implementation of hospital accreditation in Iran: An exploratory factor analysis. J Egypt Public Health Assoc. 2020;95(1):5. https://doi.org/10.1186/s42506-019-0033-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30