การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุตำบลหนองบก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหา, การพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลหนองบก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้สูงอายุสมัครใจร่วมกิจกรรม 60 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลการพลัดตกหกล้ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงรายบุคคลในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพป้องกันการพลัดตกหกล้ม และแบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหา และปรับปรุงเครื่องมือตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
ผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย1) พัฒนาแกนนำครูก.อาสาสมัครสาธารณสุขด้านการประเมินคัดกรอง ให้คำแนะนำและส่งต่อผู้มีความเสี่ยงฯและร่วมออกแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2) ฝึกอบรมผู้สูงอายุโดยครู ก มีการคัดกรองประเมินความเสี่ยงด้วยแบบประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงรายบุคคลที่สร้างขึ้น การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประเมินการเคลื่อนไหว ฝึกออกกำลังกายด้วยแรงต้านโดยใช้ยางยืด และวางแผนแก้ไขปัจจัยเสี่ยงรายบุคคลด้วย Mini care plan 3) การประเมินแนะนำปรับปรุงให้บ้านปลอดภัยฯร่วมกับภาคีเครือข่าย และ 4) การเยี่ยมเสริมพลัง ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ในการป้องกันฯ สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และผู้สูงอายุหกล้มลดลง
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนงานด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะ 5 ปี(พ.ศ. 2566-2570). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ จำกัด. กันยายน 2565.
กองการป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564). รายงานประจำปี 2564 .สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.กรุงเทพฯ หน้า 65-69
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มสผส.). คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. 2562
ภาวดี วิมลพันธ์ และคณะ. (2556). ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 Feb. 25 [cited 2024 Jun. 22];23(3):98-109. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/16632
Centers for Disease Control and Prevention. (2015). Older Adult Falls: Get the Facts. Retrieved from: https://www.cdc.gov/homeandrecreationalsafety/falls/adultfalls.html
แดนเนาวรัตน์ จามรจันทร์, จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม, และสุจิตรา บุญหยง. (2548). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาเรื่องการทรงตัวและหกล้มในผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
นงนุช วงศ์สว่าง และคณะ (2560). ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 2492-2506.
กมลทิพย์ หลักมั่น. (2558). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลาพูน. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต), เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสาวลักษณ์ อุ่นละม้าย และอัมพรพรรณ ธีรานุตร (2553).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน.วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ขอนแก่น.
Mcmahon S., Talley K. & Wyman J. (2011) Older people’s perspectives on fall risk and fall prevention programs: a literature review. International Journal of Older People Nursing6, 289–298
ละออม สร้อยแสง, จริยวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15, 122-128)
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566. สืบค้นจากเวบไซต์ https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=34617&deptcode= . เข้าถึงวันที่ 1 พ.ย.2566)
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2565 (HDC.) ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566. สืบค้นจากเวบไซต์ https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=34617&deptcode= . เข้าถึงวันที่ 1 พ.ย.2566
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2565 (HDC.)
Kemmis S, McTaggart R. (1988) The ActionResearch Reader. 3rded. Australia:Deakin University Press;1988.
Haddon, W. Jr. (1972). A logical framework for categorizing highway safety phenomena and activity. The Journal of Trauma, 12(3), 193–207.
สุพรรณี เตรียมวิศิษฐ์และคณะ (2548). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการพลัดตกหกล้มและตกเตียงในผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสวนดอก. 12(2), 8-18.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2559). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ทิพยรัตน์ ผลอินทร์และคณะ (2560).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และ พฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 29(1), 36-50.
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(4), 288-298.
วิวรรณ พงศ์พัฒนานนท์ (2566). การพัฒนาโปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 31(2), 191-206.
รัฎภัทร์ บุญมาทอง. (2558). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
วิลาวรรณ สมตน. (2556). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(3), 58-70.