การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จีระศักดิ์ เหล็กเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองนาคำ

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองนาคำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาข้อมูลการเจ็บป่วย ปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง การรักษา และการพยาบาล  เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน  คลินิกโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก การสังเกต สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูล แบบบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อให้ทราบปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทยอายุ 67  ปี เป็นโรคเบาหวาน 22 ปี ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ มีโรคร่วมความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรังระยะ 3B - 4  อาการสำคัญ นอนไม่รู้สึกตัว 1 ชั่วโมงก่อนถึงโรงพยาบาล วัดสัญญาณชีพอุณหภูมิ 36.8 เซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 84 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 130/70 mmHg เจาะ DTX = 37 mg% แพทย์มีแผนการรักษาให้  50% Glucose 50 ml vein push ช้าๆหลังจากนั้นผู้ป่วยรู้สึกตัวดีพูดคุยรู้เรื่อง เจาะเลือดส่ง lab CBC, BUN, Creatinine, Electrolyte ให้งดยาเบาหวานไว้ก่อน on iv 10%D/N/2 1000 ml vein drip 60 ml/hr.  DTX ซ้ำใน 15 นาทีได้ 136 mg% สังเกตอาการ 6 ชั่วโมงตรวจ DTX ซ้ำทุก 1 ชั่วโมงพบระดับน้ำตาลในเลือด 136 – 180 mg% ซึ่งอยู่ในค่าเป้าหมายการรักษา อีกทั้งยังมีภาวะ hypokalemia ร่วมด้วย จึงรับการรักษาด้วย Elixer KCL 30 ml oral q 3 hr x 3 dose  ให้กลับบ้าน และนัด F/U พรุ่งนี้เช้า repeat electrolyte และ FBS กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 65 ปี 11 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รับยาประจำที่โรงพยาบาลหนองนาคำ ได้รับการรักษาด้วยยารับประทาน ไม่ขาดยา อาการสำคัญ ซึมลง ไม่พูด  1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล โดยมีประวัติว่าหลังตื่นนอนตอนเช้า ญาติพบผู้ป่วย ไม่กินอาหาร ซึมลง ไม่พูด ไม่ปัสสาวะตั้งแต่เมื่อคืน ญาติจึงพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองนาคำ ตรวจพบว่า DTX แรกรับ  34 mg% ได้รับการรักษา 50% glucose 50 cc iv push และ 10 %DN/2 1000 ml iv rate 60 ml/hr เจาะ DTX ซ้ำ 15 นาที ได้ 210 mg% ผู้ป่วยรู้สึกตัว แต่ดูซึม ไม่ค่อยพูด มีท่าทางเหนื่อยอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย  มีปัญหาเรื่องซีด Hct = 24.6 vol% เมื่อสังเกตอาการ 1 ชั่วโมงเจาะ DTX ซ้ำ ได้ผล HI จึงได้มีการรักษา ด้วยยาฉีดอินซูลินที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ RI 10-unit SC และยังพบภาวะอื่นร่วมด้วยคือ hyperkalemia ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย จึงได้รับการรักษา ด้วย RI 10 unit + 50% glucose 50 ml iv slowly push , 10% Ca gluconate 1 amp iv push  , 7.5%NaHCO3 1 amp iv push ,Kali mate 30 gm.+ น้ำ 50 ml oral stat ระหว่างที่อยู่ ER รพ.หนองนาคำ ยังปฏิเสธ RRT จึง refer รพ.ภูเวียง ที่ รพ.ภูเวียงผู้ป่วยยินยอมที่จะฟอกไต รพ.ภูเวียง refer ต่อ รพ.ชุมแพ เพื่อ RRT

References

World Health Organization. (5 April 2023). Diabetes. https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/diabetes.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

พรเทพ วัฒนศรีสาโรช, ละออง สาลีพวง, สุวรรธนา จงห่วงกลาง. ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลกบินทร์บุรี. วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม 2559;13(3): 51-60.

วไลลักษณ์ เพ่งฤทธิ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

สุพัชรี ใจแน่, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยทำนายภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ที่เข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารเกื้อการุณย์ 2559;23(1):148-62. 7.

Cryer PE, Axelrod L, Grossman AB, Heller SR, Montori VM, Seaquist ER, Service FJ.Evaluation and management of adult hypoglycemic disorders: an Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab 2009; 94: 709-28.

Yale JF, Begg I, Gerstein H, Houlden R, Jones H, Meheux P, Pacaud D. 2001 Canadian Diabetes Association Clinical Practice Guidelines for the prevention and management of hypoglycemia in diabetes. Can J Diabetes 2001; 26: 22-35.

วัลลภ เกิดนวล. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานภาวะเลือดพร่องน้ำตาล โรงพยาบาลพยุหะคีรี. วารสารวิจัย ระบบสาธารณสุข 2551;2(1):596 - 603.

Seaquist ER, Anderson J, Childs B, Cryer P, Dagogo-Jack SE, Fish L, et a hypoglycemia and diabetes: a report of a workgroup of the American Diabetes Association and the Endocrine Society. Diabetes Care 2013; 36: 1384-95.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566) แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30