การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดที่กลับเป็นซ้ำและมีเลือดออกในสมองบริเวณ ที่ขาดเลือดร่วมกับภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดที่กลับเป็นซ้ำ, ภาวะเลือดออกในสมองบริเวณที่ขาดเลือด, ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดที่กลับเป็นซ้ำและมีเลือดออกในสมองบริเวณที่ขาดเลือดร่วมกับภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิง อายุ 64 ปี มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกขาข้างซ้าย และโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด มาด้วยอาการสำคัญ ซึม ไม่พูด ก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง
ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาสำคัญที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่ ได้แก่ มีภาวะสมองบวม มีของเสียคั่งในร่างกาย ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกขาข้างซ้าย มีภาวะซีด โปแตสเซียมต่ำ วิตกกังวล มีความรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดลง ซึ่งผลการดูแลรักษาทุกปัญหาได้รับการแก้ไขหมดไป ส่วนปัญหาที่มีความเสี่ยงหรือโอกาสเกิด ได้แก่ เสี่ยงต่อเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูง เสี่ยงต่อติดเชื้อในกระแสเลือด เสี่ยงต่อเกิดแผลกดทับ ข้อติด เสี่ยงต่อเกิดอาการชัก เสี่ยงต่อแผลผ่าตัดติดเชื้อ มีโอกาสเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งได้รับการป้องกัน ติดตาม และเฝ้าระวัง ทำให้ทุกปัญหาไม่เกิดขึ้น
References
วิภารัตน์ โนนกลาง. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทรุดหนักของโรคหลอดเลือดสมอง. [อินเตอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2566].เข้าถึงจาก: https://www.nmu.ac.th/nmu-display-service/render/attach/
สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564; 37(4): 54-60.
อรอุมา คงแก้ว. การรับรู้การเจ็บป่วยและพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ. การป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง. [อินเตอร์เน็ต] 2561. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงจาก 2561https://publication.npru.ac.th/bitstream/)
Spronk E., Sykes G., Falcione S., Munsterman D., Joy T., Kamtchum-Tatuene J., and Jickling GC. Hemorrhagic Transformation in Ischemic Stroke and the Role of Inflammation. Front Neurol 2021; 12: 1-15
Kovács KB., Bencs V., Hudák L., Oláh L. and Csiba L. Hemorrhagic Transformation of Ischemic Strokes. International Journal of Molecular Sciences 2023, 24(18).
ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2563 – 2565 [อินทราเน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงจาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/
สิโรตม์ ศรีมหาดไทย. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเลือดออกในสมองสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตันที่ได้รับยา rtPA วารสารแพทย์เขต 4 - 5 2563.; 39(4): 604 - 615.
Zhang J., Yang Y., Sun H., and Xing Y. Hemorrhagic transformation after cerebral infarction: current concepts and challenges. Annals of translational medicine 2014; 2 (8): 1-7.