รูปแบบความสุขของผู้สูงอายุ จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • รณภพ เกตุทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ความสุขผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่มีอิทธิพล, รูปแบบกิจกรรม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความสุขของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุ และ 3) สร้างและรับรองรูปแบบความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้สูงอายุ 290 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เชิงคุณภาพเพื่อสร้างรูปแบบ โดยสนทนากลุ่มและยืนยันรูปแบบ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสุข 5 มิติของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) มี 11 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง (Beta = 0.179) ค่านิยมส่วนบุคคล (Beta = 0.141) และการมีส่วนร่วมการทำประโยชน์เพื่อสังคม (Beta = 0.130) 3) รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุประกอบด้วย 15 กิจกรรม ครอบคลุมด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ การพัฒนาจิตใจ การเงิน และการมีส่วนร่วมในสังคม ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ 20 ท่านได้ยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบและกิจกรรม โดยเห็นด้วยกับปัจจัยทั้ง 11 ด้าน (ค่าเฉลี่ย 4.40) และกิจกรรมส่งเสริมความสุข (ค่าเฉลี่ย 4.25) ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2566.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจผู้สูงอายุในประเทศไทย 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ประชากรและสังคม 2562: ครอบครัวไทย...สะท้อนอะไรในสังคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2564.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม 1/2558 (พฤศจิกายน). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2557.

สิทธิพรร์ สุนทร, วัชรินทร์ สุทธิศัย, พงษศักดิ์ ซิมมอนด์ส. รูปแบบการพัฒนาความสุขของผู้สูงวัยในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, วรวรรณ จุฑา. การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.

นาตยา ศรีหทัยเทพ, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, สุพร ดนัยศุษฎีกุล. ปัจจัยทำนายความมีคุณค่าในตนเองระหว่างการเปลี่ยนผ่านในผู้สูงอายุวัยเกษียณ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2565;28(2):เม.ย.-มิ.ย.

ภัทรนันท์ อุ่นอ่อน. แนวทางการพัฒนาความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2565;14(2):ก.ค.-ธ.ค.

กัณฐิกา ปัญญาละ. ระดับความสุขของผู้สูงอายุในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30