การประเมินผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลและการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรทัย พรรณานนท์ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสื่อสารระหว่างบุคคล, การจัดการความขัดแย้ง, พยาบาลหัวหน้าเวร, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลและการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดขอนแก่น ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม วิธีการศึกษา:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental  Research) กลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง ดัดแปลงตามแนวคิดการจัดการความขัดแย้ง กลุ่มเป้าหมายพยาบาลวิชาชีพหัวหน้าเวรจำนวน 38 คน ศึกษาเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ.2567 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ One Way Repeated Measures Anova เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลและแบบประเมินการจัดการความขัดแย้ง
     ผลการศึกษาพบว่าทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมทันที (คะแนนเฉลี่ย = 81.08) ระยะติดตาม (คะแนนเฉลี่ย = 84.16) มีค่าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (คะแนนเฉลี่ย = 74.84) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001 ) การจัดการความขัดแย้งภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมทันที (คะแนนเฉลี่ย = 15.92) และระยะติดตาม (คะแนนเฉลี่ย = 14.89) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (คะแนนเฉลี่ย = 9.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001 )

References

กองการพยาบาล. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน.

ธนพล ศรีธัญรัตน์ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2563). อิทธิพลของการสื่อสารที่มีต่อการจัดการความ ขัดแย้งในองค์กรภาครัฐ. วารสารบริหารธุรกิจ, 43(168), 1-25.

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2554). การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2542). สำหรับการฝึกอบรมกลุ่มสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. สงขลา: เทมการพิมพ์.

ฟาริดา อิบราฮิม. (2542). สาระการบริหารพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.

วิภา รักการสื่อสาร. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย ใจดี. (2565). ปัญหาการสื่อสารในองค์กรและแนวทางแก้ไข. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 45-60.

สุกัญญา เผ่าวงษา. (2551). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. วารสาร สุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน, 22(ฉบับพิเศษ), 45-58.

Adler, R.B., & Elmhorst, J.M. (2005). Communicating at work: Principles and practices for business and the professions. New York: McGraw-Hill .

Almost, J., Wolff, A. C., Stewart-Pyne, A., McCormick, L. G., Strachan, D., & D'Souza, C. (2016). Managing and mitigating conflict in healthcare teams: An integrative review. Journal of Advanced Nursing, 72(7), 1490-1505.

Devito, J.A. (2003). Human communication: The basic course. 9th ed. Boston: Pearson Education.

Omisore, B.O., & Abiodun, A.R. (2014). Organizational Conflicts: Causes, Effects and Remedies. International Journal of Academic Research in Economics and Management Sciences, 3(6), 118-137.

Romig, D.A. (1996). Breakthrough teamwork: Outstanding result using structured teamwork. Chicago: Irwin.

Thomas, K. W., & Kilmann, R. H. (2007). Thomas-Kilmann conflict mode instrument. Boston, MA: Xicom

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30