ผลของการให้ความรู้เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3 ในงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • เพชรริน วิญญายอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อม, การให้ความรู้เพื่อชะลอไตเสื่อม, โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3 ในงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน ทำการศึกษาในช่วงเดือน พฤษภาคม 2564 – มกราคม 2565 รวมระยะเวลา 9 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อม จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการให้ความรู้ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันภาวะไตเสื่อม และแบบเก็บข้อมูลสถานะทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ก่อน-หลัง ด้วยสถิติเชิงอนุมาน paired t-test
     ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาหรือความลำบากของผู้ป่วยส่วนมากคือที่อยู่อาศัย ร้อยละ 51.22 ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันส่วนมากไม่เป็นการพึ่งพิง ร้อยละ 80.49 อัตราการกรองของไต eGFR (มล./นาที/1.73 ตร.ม.) ส่วนมากอยู่ในช่วง 60-89 eGFR ร้อยละ 34.15 ระดับความเค็มในอาหาร ส่วนมากรับประทานเค็ม (≥ 0.90 %) ร้อยละ 54.47 พฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อมส่วนมากไม่สามารถการดื่มน้ำ 1.5-2 ลิตรต่อวันได้ ร้อยละ 38.62 ภายหลังการเข้าการอบรมให้ความรู้เพื่อชะลอไตเสื่อมเป็นระยะเวลา 9 เดือน พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (t = 2.89, 3.82, 3.18)

References

Centers for Disease Control and Prevention. United States; C2021. Chronic Kidney Disease in the United States; 2021.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2564.

Hamler, T. C., Miler, V. J., & Petrakovitz, S. Chronic Kidney Disease and Older African American Adults: How Embodiment Influences Self-Management. Geriatrics. 2018

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต. สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์วันไตโลก ปี 2565 “เสริมสร้างภูมิความรู้ ควบคู่การดูแลไต. 2565.

โรงพยาบาลลำพูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). 2564.

Bloom, B.S. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

วิศรุดา ตีเมืองซ้าย และพิชญาภร ภัคสุพศิน. การพัฒนารูปแบบการชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกรักษ์ไตปฐมภูมิอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2564; 18(2): 125-135.

อิสรีย์ เกียรติพุฒิกร. การพยาบาลเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง. โรงพยาบาลอินทร์บุรี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. 2564.

ศิริวรรณ สิงหศิริ และคณะ. การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะ 3 คลินิกอายุรกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.2567; 9(3): 395-401.

วรรวิษา สำราญเนตร และคณะ. บทบาทพยาบาลในการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(38): 456-468.

นงค์นุช โฮมหงษ์ และคณะ. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่เลือกการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องในชุมชนตามบทบาทพยาบาลศูนย์ดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ.2567; 9(2): 297-305.

ปวาสินี สุขเจริญ. ผลของการให้ความรู้เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 3 โรงพยาบาลเกาะสมุย. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30