การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารทะลุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุณิสา บุตรเอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านหมี่

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคกระเพาะอาหารทะลุ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารทะลุ ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยชายไทยอายุ 48 ปี มาโรงพยาบาลวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาด้วยอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด นอนราบไม่ได้ 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติโรคประจำตัว เก๊าต์ ไตวายเรื้อรัง ตับ มีประวัติรับประทานยาแก้ปวด Diclofenac
     ผลการศึกษา ส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบ ruptured hollow viscus organ แพทย์วินิจฉัย Peptic ulcer perforation with Sepsis ได้รับการผ่าตัด Explore laparotomy with Simple suture with Omental Graft ระยะก่อนผ่าตัด มีภาวะพร่องออกซิเจน มีภาวะช็อกจากพร่องสารน้ำและเกลือแร่ร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือด ได้ให้การพยาบาลให้ออกซิเจน ให้สารน้ำอย่างเพียงพอ ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาติดตามสัญญาณชีพใกล้ชิด ระยะหลังผ่าตัด เสี่ยงต่อภาวะช็อกซ้ำ เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ ปวดแผลผ่าตัดมาก ได้ให้การพยาบาล ติดตามสัญญาณชีพ บรรเทาอาการปวดแผล Morphine 3 mg iv stat prn ทุก 4 ชั่วโมง 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด สามารถถอดท่อหายใจได้ หลังผ่าตัด 4 วัน เริ่มรับประทานอาหารได้ อาการดีขึ้นตามลำดับ จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 รวมระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล 11 วัน

References

อมราภรณ์ ชาครานนท์. (2567). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระเพาะอาหารทะลุ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. https://srth.go.th /research/file/20240403161134-25_

Chung, K, T. & Shelat, v. g. (2017). Perforated peptic ulcer- an update. World Journal of Gastrointestinaln Surgery, 1 (9), 1-12.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติโรค. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลบ้านหมี่ หน่วยงานศัลยกรรม. (2566). รายงานประจำปี 2566. โรงพยาบาลบ้านหมี่.

สุนทรี เรืองสวัสดิ์. (2566). กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคแผลกะเพาะทะลุร่วมกับภาวะช็อกที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง. บทความวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30