ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความดันโลหิตและอัตราการกรองของไต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่คลินิกความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, ความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความดันโลหิต และอัตราการกรองของไต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 30 ราย ที่คลินิกความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการจัดการตนเอง แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง และแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการเชิงอนุมาณ (Pair t-test)
ผลการวิจัย หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ยกเว้นด้านการจัดการความเครียด ระดับความดันโลหิตทั้งซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
References
ทิพมาส ชิณวงศ์. การจัดการรายกรณีผู้ที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2560 ; 37(1):148-157.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2565.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่.กลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลตอบสนอง Service Plan [Internet]. 2567 ; สืบค้นข้อมูลวันที่ 30 เมษายน 2567. แล่งข้อมูล : https://kbi.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.
World Health Organization. Noncommunicable diseases progress monitor 2015. 2015.
Abegaz TM, Shehab A, Gebreyohannes EA, Bhagavathula AS, Elnour AA. Nonadherence to antihypertensive drugs: A systematic review and meta-analysis. Medicine. 2017; 96(4):e5641. https://doi.org/10.1097/MD.0000000000005641.
Costantini L, Beanlands H, McCay E, Cattran D, Hladunewich M, Francis D. The self-management experience of people with mild to moderate chronic kidney disease. Nephrol Nurs J. 2008 ; 35(2):147.
สุนิสา สีผม, วรรณภา ประไพพานิช, พูลสุข เจนพาณิชย์, วรางคณา พชัยวงศ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความเสื่อมของไตต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2557 ; 25(1): 16-31.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors. Helping people change: A textbook of methods. 4th ed. Pergamon Press; 1991. p. 305-360.
Kanfer FH. Self-management therapy: Orchestration of basic components for individual clients. Eur Psychother. 2000 ; 1(1) : 10-14.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:บริษัทวิทยพัฒน์. 2556.
Briesch AM, Chafouleas SM. Review and analysis of literature on self-management interventions to promote appropriate classroom behaviors (1988-2008). Sch Psychol Q. 2009;24(2):106-118. https://doi.org/10.1037/a0016159
Swerissen H, Belfrage J, Weeks A, Jordan L, Walker C, Furler J, McAvoy B, Carter M, Peterson C. A randomized control trial of a self-management program for people with a chronic illness from Vietnamese, Chinese, Italian and Greek backgrounds. Patient Educ Couns. 2006 ; 64(1-3):360-368. https://doi.org/10.1016/j.pec.2006.04.003.
Chodosh J, Morton SC, Mojica W, Maglione M, Suttorp MJ, Hilton L, et al. Meta-analysis: chronic disease self-management programs for older adults. Ann Intern Med. 2005 ; 143(6):427-438.
นภาภรณ์ จันทร์ศรี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาล. 2562 ; 34(2) : 45-56.
อติเทพ ผาติอภินันท์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, วีนัส ลีฬหกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2561;29(2):12-27.
เพ็ญพร ทวีบุตร. ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(1):129-145.
Clark NM, Gong M, Kaciroti N. A model of self-regulation for control of chronic disease. Health Educ Behav. 2010;37(5):664-678.
กิตติยา วังตะพันธ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารวิจัยสุขภาพ. 2563;12(1):78-89.