วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej <p><strong>Journal of Environmental Education Medical and Health</strong><br /><strong>วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ<br />Print ISSN: 3027-8678<br />Online ISSN: 3027-866X</strong></p> สมาคมนักวิจัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จังหวัดกาฬสินธุ์ th-TH วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 3027-8678 การประยุกต์ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและสมรรถนะแห่งตนเพื่อการป้องกัน การสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280450 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง วัดก่อน และหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสมรรถนะแห่งตนเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ความรู้เกี่ยวกับโทษ และพิษบุหรี่ การรับรู้ตนเองต่อการป้องกันสูบบุหรี่ และเจคติที่ดีต่อการไม่สูบบุหรี่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าเฉลี่ย เจตคติต่อการสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการไม่สูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ แตกต่างกันกับก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ชนาธิป สันติวงศ์ ฐานิดา สมขันตี สุมาลา สว่างจิต วิราพร สืบสุนทร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 1 10 ผลของโปรแกรมการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนที่มีต่อความรู้ ทัศนคติและความพึงพอใจ ของผู้ดูแลในเขตตำบลอิสาณ จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280521 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนที่มีต่อความรู้ ทัศนคติและความพึงพอใจของผู้ดูแลในเขตตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 48 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการอบรม โดยใช้สถิติ Paired Samples Statistics ผลการวิจัยพบว่า ก่อนอบรมมีผู้ตอบคำถามถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 81.25 และหลังอบรมมีผู้ตอบถูกเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 85.4 ความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการดูแลผู้สูงอายุในโครงการ ด้านอาจารย์ผู้สอน/วิทยากรระดับมาก ด้านการใช้เอกสารประกอบการอบรมระดับมาก และด้านความเหมาะสมของเนื้อหาสาระระดับมากที่สุด และความรู้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อน และหลังการอบรมระดับเพิ่มมากขึ้น </p> สาวรจ ปลั่งกลาง ปิยลักษณ์ ขันติยวิชัย Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 11 19 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคองต่อผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280549 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคองต่อผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ในช่วงเวลาการวิจัย จำนวน 15 ราย คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ผ่านการคัดกรองโดยใช้แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เข้าสู่การดูแลแบบประคับประคอง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ ทดสอบค่าที และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ประกอบด้วย 1) ทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน 2) การให้ความรู้ให้คำปรึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3) สนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และผลการดูแลพบว่า หลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิกมีค่าเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ หลังการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ชุมศรี ต้นเกตุ อรพิน นวพงศกร ปัณณทัต บนขุนทด ณรงค์กร ชัยวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 20 27 ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280569 <p> การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 ราย ทดสอบก่อน และหลังได้รับโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา ระยะเวลาในการทดลองใช้เวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองก่อน และหลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองทุกด้าน โดยด้านการรับข้อมูลข่าวสาร ด้านการรู้เท่าทันสื่อลามก และด้านความรู้ความเข้าใจ เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร คะแนนความรอบรู้เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับมาก</p> ตวิษา อนุภัย นิภา สุทธิพันธ์ เกษม ชูสอน กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 28 35 การพัฒนารูปแบบในการป้องกันปอดอักเสบติดเชื้อที่เกิดในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280750 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา แนวทาง และ พัฒนารูปแบบในการป้องกันปอดอักเสบติดเชื้อที่เกิดในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล จำนวน 32 คน ดำเนินการวิจัยเดือน ตุลาคม 2566 ถึง กันยายน 2567 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการปฏิบัติในพยาบาลตาม Bundle of care ในการควบคุมโรคติดเชื้อ แบบประเมินความรู้ในญาติผู้ดูแล และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณในการทดสอบก่อนหลังพัฒนาด้วยสถิติ pared t-test<br /> ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาประกอบด้วยประกอบด้วย 7 กระบวนการสำคัญ 1) พัฒนาระบบเฝ้าระวังในผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหญิงทุกรายโดยมีใบเฝ้าระวังเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน 2) ส่งเสริมและวางระบบให้มีการอบรม ICWN ทุก 2 สัปดาห์ ครบทุกหน่วยงาน อย่างน้อย 1 คนต่อหอผู้ป่วย 3) วางแผนการอบรมเพื่อฟื้นฟู หลักสูตร การวินิจฉัยการติดเชื้อสำหรับพยาบาลที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IPC) ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบในหอผู้ป่วย โดยประสานกับ ICN ที่ดูแล ระบบ IPC ให้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาลยางตลาด 4) นำเอา Bundle of care มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยทุกตำแหน่งที่เฝ้าระวัง 5) ค้นหาปัญหาในระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อจัดเรียงลำดับความสำคัญของงปัญหา และดำเนินแก้ไขปัญหาตามความสำคัญเร่งด่วน 6) ดำเนินการจัดตั้งไลน์กลุ่มย่อยเพื่อสะดวกต่อการประสานงาน แจ้งข้อมูลข่าวสาร 7) พัฒนาระบบประสาน และระบบติดตามงานผ่านหัวหน้างานในการติดตามนิเทศ ผลลัพธ์ของการนำแนวทางไปใช้พบว่าพยาบาลมีทักษะการดูแลผู้ป่วยตาม Bundle of care เพิ่มมากขึ้น จากการทดสอบทางสถิติพบว่า ความรู้ในญาติผู้ดูแลเพิ่มมากขึ้น ระดับความพึงพอใจในผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t =14.72, 11.49 ตามลำดับ)</p> พวงเพชร มงคลสินธุ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 36 43 การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280860 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา แนวทาง และ พัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ในเชิงคุณภาพ กลุ่มทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 34 คน เชิงปริมาณหญิงวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี ในพื้นที่ อำเภอกมลาไสย จำนวน 64 คน ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน มกราคม 2567 ถึง ธันวาคม 2567 รวมระยะ 12 เดือน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณในการทดสอบก่อนหลังพัฒนาด้วยสถิติ pared t-test<br /> ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประกอบด้วย 11 กระบวนการดังนี้ 1) วางแผนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย 2) แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ครู อบต. อปท. รพ.สต. นักเรียน แกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน 3) ชี้แจงนโยบายการดำเนินงาน 4) การให้บริการการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยทำงานเป็นทีม 5) จัดตั้งคลินิกวัยใสในพื้นที่ 6) ดำเนินการเชิงรุกให้ความรู้ผู้ปกครองและนักเรียน 7) สร้างแกนนำจิตอาสาในแต่ละหมู่บ้าน 8) พัฒนาจิตอาสาชายรักชายในทุกตำบล 9) ดำเนินงานเชิงรุกเยี่ยมคู่สมรสรายใหม่ 10) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในทุกช่องทาง 11) ออกรณรงค์เชิงรุกตามบุญประเพณีต่างๆที่มีสุ่มเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลลัพธ์ของการนำรูปแบบไปใช้พบว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ไม่พึงประสงค์ลดลง วัยรุ่นมีความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น ความพึงพอใจเพิ่มากขึ้น อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t =8.29, 10.24 ตามลำดับ) </p> ถนิมกาญจน์ ญาณธรรม Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 44 50 โปรแกรมการสอนสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/280879 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ และศึกษาโปรแกรมการสอนสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวม 30 คน และสุ่มตัวอย่างมาวิจัยโดยวิธีการจับฉลากคัดเลือกชั้นปีละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ paired sample t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีการรับรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีการรับรู้ระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.77, S.D.=.43 ) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม 0.27 คะแนน โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) มีการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศระดับดี (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 1.65, S.D.=.23 ) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม 0.40 คะแนน โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05)</p> ธีรวัฒน์ พงศ์ภาณุพัฒน์ ชนาธิป สันติวงศ์ เพ็ญพิศ นุกูลสวัสดิ์ ปภาวรินทร์ มีชนะ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 51 59 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด สูตร 5-FU/LV และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282636 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด สูตร 5-FU/LV ร่วมกับรังสีรักษา ซึ่งอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในการได้รับยา 5-Fluorouracil คือ แผลในปาก พบในช่วง 5-8 วันหลังให้ยาเคมีบำบัด วิธีการดำเนินการ เลือกผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสังเกต การสัมภาษณ์ และนำมาวางแผนการพยาบาล โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็มมาเป็นกรอบในการให้การพยาบาล<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยชายไทย อายุ 65 ปี มาตามแพทย์นัด เพื่อรับการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา การวินิจฉัยโรค CA Rectum Stage II T3N0M0 ได้รับการผ่าตัด Low Anterior Resection ผลการตรวจชิ้นเนื้อ Moderately Differentiated Adenocarcinoma ระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดสูตร 5-FU/LV ผู้ป่วยมีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ:เกรด 2 ส่งผลกระทบทั้งต่อการรักษา และการดำเนินโรค เนื่องจากผู้ป่วยต้องเลื่อนระยะเวลาในการให้ยาเคมีบำบัดออกไป และต้องปรับลดขนาดยาลง ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลงได้ พยาบาลผู้บริหารยาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ ในเรื่องของยาเคมีบำบัด มีการประเมิน เฝ้าระวัง ป้องกัน วินิจฉัยปัญหาและจัดการอาการเมื่อเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบจากยาเคมีบำบัดได้อย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้</p> วิจิตรา สุวรรณพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 60 68 ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/278530 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยกึ่งทดลอง(quasi-experimental research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ที่ขึ้นทะเบียนรับการตรวจรักษาที่งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม จำนวน90 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความตรงตาม เนื้อหาและหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาคได้เท่ากับ 0.872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา paired t-test และ independent t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง(M= 9.782 ,SD =1.811) ลดลงหลังการทดลอง(M= 8.498 ,SD= 1.853) ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; .001) ส่วนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานก่อนการทดลอง( M=3.479, SD =.468) หลังการทดลองเพิ่ม(M= 3.735, SD= .418) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; .01) และ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; .001) ส่วนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; .01)</p> เพียรมะสอน หมื่นห่อ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 69 78 ผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปต่อองค์ประกอบของร่างกายในสตรีวัยทำงาน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281349 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปต่อองค์ประกอบของร่างกายในสตรีวัยทำงาน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปต่อองค์ประกอบของร่างกายในสตรีวัยทำงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ สมุดบันทึกองค์ประกอบของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าองค์ประกอบของร่างกาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย และระดับไขมันในช่องท้อง น้อยลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย มีแนวโน้มลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สำหรับการเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> กรณ์ภัสสรณ์ ศักดิ์โสภา เบญจรัตน์ จันสน Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 79 87 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานด้วยการสอนสุขภาพและเสริมแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลพิบูลย์รักษ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282637 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานด้วยการสอนสุขภาพและเสริมแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมสุภาพ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพิบูลย์รักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มละ ดำเนินการวิจัยระหว่าง ตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึง เดือน มกราคม พ.ศ. 2568<strong> </strong>เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วย แบบประเมินความรู้ พฤติกรรม และความพึงพอใจของผู้ดูแลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยข้อมูลของผู้ป่วยและญาติก่อนและหลังทำกิจกรรมด้วยสถิติ paried t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า ด้านความรู้เรื่องการป้องกันไตเสื่อมก่อนและหลังเข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .005) ด้านพฤติกรรมการป้องกันไตเสื่อมก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .005) ระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการได้เข้าร่วมกิจกรรมค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมต่ำลงจาก 10.78 เป็น 8.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.04, p &lt; .005) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิตโตลิก/ไดแอสโตลิก ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .005) และอัตราการกรองของไต (eGFR) ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .005)</p> รุ่งฤดี ปลัดกอง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 88 98 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282647 <p> การศึกษานี้วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงกันยายน 2567 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยยาและสารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดที่งานการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่บ้าน (home ward) จำนวน 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ชุดที่ 2-3 ความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัวต่อการบริการ และชุดที่ 4 แบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการกลับมารักษาซ้ำแบบผู้ป่วยในภายใน 3 เดือนในแต่ละปีด้วยสถิติ Chi-square test การคงอยู่ในระบบการติดตามต่อเนื่อง 1 ปี ด้วยสถิติ Fisher’s exact test ความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัวด้วยสถิติ repeated measure ANOVA และคุณภาพชีวิตด้วยสถิติ independent t-test<br /> ผลการศึกษา 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (home ward) ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้านมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะบำบัดยา ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และระยะติดตาม โดยใช้ระบบการพยาบาลด้วยการจัดการผู้ป่วยรายกรณี (case management) 2) ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน ในระยะเวลา 3 ปี (ปี 2565–2567) พบว่า การกลับมารักษาซ้ำแบบผู้ป่วยในภายใน 3 เดือน (readmission) ลดลง ร้อยละ 14.74, 12.50 และ 3.85 ตามลำดับ และปี 2566–2567 ผู้ป่วยคงอยู่ในระบบการติดตามต่อเนื่อง 1 ปี (retention) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 93.83 และ 96.25 ตามลำดับ ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับในระดับมากถึงมากที่สุด รวมทั้งผู้ป่วยยาและสารเสพติดมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบการกลับมารักษาซ้ำแบบผู้ป่วยในภายใน 3 เดือน ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการและคุณภาพชีวิตในแต่ละปีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการคงอยู่ในระบบการติดตามต่อเนื่อง 1 ปี และความพึงพอใจของครอบครัวต่อการบริการทั้ง 3 ปี ไม่แตกต่างกัน</p> สำเนา นิลบรรพ์ สุดารัตน์ อรัญญา นันทา ชัยพิชิตพันธ์ สุวพร แหลมภู่ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 99 111 การพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ เครือข่ายโรงพยาบาลหนองคาย โดยใช้แนวคิด LEAN https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282650 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ที่เข้ารับบริการที่คลินิกสูตินรีเวช เครือข่ายโรงพยาบาลหนองคาย โดยใช้กรอบแนวคิดลีนในการปรับปรุงพัฒนาการบริการ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ที่เข้ารับบริการที่คลินิกสูตินรีเวช โรงพยาบาลหนองคาย จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ และประสิทธิผลทางด้านคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย<br /> ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90.76 และพึงพอใจระดับมาก ร้อยละ 9.24 และผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ มีระดับความพึงพอใจใน ระดับมากที่สุด ร้อยละ 87.10 พึงพอใจระดับ มาก ร้อยละ 11.67 และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 1.33 ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยจากการใช้รูปแบบทีพัฒนาขึ้น พบว่า ผู้ป่วยหลังรับการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้รับการผ่าตัดภายใน 4 สัปดาห์ ร้อยละ 100 และผู้ป่วยหลังรับการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด/รังสีรักษา ภายใน 6 สัปดาห์ ร้อยละ 89.29 จำนวนรอบในการเดินทางมาโรงพยาบาลและขั้นตอนในการบริการ (1 รอบ 15 ขั้นตอน) สามารถทำได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 93.33</p> นิดชรากรณ์ ชัยจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 112 121 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุม ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองธาตุพนม จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282654 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองธาตุพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานและแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.1ย การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพฯและพฤติกรรมสุขภาพวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อนหลังเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้สถิติ paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ก่อน-หลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ คะแนนเฉลี่ย 4.90 (SD=.44) การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คะแนนเฉลี่ย 4.61 (SD=.99) อยู่ในระดับมากที่สุด, การออกกำลังกาย คะแนนเฉลี่ย 3.06 (SD=.86) การบริโภคอาหาร คะแนนเฉลี่ย 2.64 (SD=.79) และการใช้ยาเบาหวาน คะแนนเฉลี่ย 2.65 (SD=.80) อยู่ในระดับปานกลาง และการจัดการความเครียด คะแนนเฉลี่ย 1.83 (SD=1.07) อยู่ในระดับน้อย และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) มีค่าเฉลี่ยลดลง 8.29 (SD=2.09) เป็น 7.7 (SD=1.71) เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุดาพันธ์ อ้วนโสดา Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 122 129 ผลการเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ในโรงเรียนเบาหวาน ของโรงพยาบาลเรณูนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282655 <p> การวิจัยกึ่งทดลอง (The Quasi-Experimental Research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมในโรงเรียนเบาหวานของโรงพยาบาลเรณูนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 52 คน กลุ่มตัวอย่างเดียววัดผล ก่อน-หลัง (One-group, Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับความตระหนักรู้การบริโภคเกลือและโซเดียม, ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานกับภาวะไตเสื่อม และเครื่องวัดความเค็มในอาหารแบบพกพา (Chem Meter) การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, ความรู้เกี่ยวกับตระหนักรู้การบริโภคเกลือและโซเดียมและโรคเบาหวานกับภาวะไตเสื่อม, ผลการบริโภคเกลือและโซเดียม, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด,ระดับไขมันในเลือด และอัตราการกรองของไต วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อนหลังเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้สถิติ Pair t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ก่อน-หลังร่วมกิจกรรมพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับความตระหนักรู้การบริโภคเกลือและโซเดียมคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 5.23 (SD=1.19) เป็น 6.76 (SD=0.98) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานกับภาวะไตเสื่อมคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 10.05 (SD=1.46) เป็น 12.03 (SD=1.18) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ อัตราการกรองของไต (eGFR) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (TG), ระดับไขมันเลว (LDL) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการบริโภคเกลือและโซเดียมมีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 0.84 (SD=.37) เป็น 0.73 (SD=.12) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อุษนีย์ รามฤทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 130 137 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ด้วยภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลสรรพยา จังหวัดชัยนาท https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282781 <p> การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง(Intermediate care) ด้วยภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลสรรพยา จังหวัดชัยนาท ประกอบไปด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์และหาแนวทางร่วมกับภาคีเครือข่ายในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง เก็บข้อมูลใช้วิธีสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 การนำปัญหาและแนวทางมาร่วมกันออกแบบและพัฒนารูปแบบในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ระยะที่ 3 ประเมินผลในการใช้รูปแบบการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โดยการใช้กลุ่มตัวอย่าง 153 คน ได้แก่ ผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ ผู้รับบริการได้แก่ผู้ป่วยระยะกลางและญาติ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการวิจัยในครั้งนี้ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน (ADL)และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าสถิติก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์พรรณนาเชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง(Intermediate care) ด้วยภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลสรรพยา จังหวัดชัยนาท ดังนี้ ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางของผู้ให้บริการทั้งเจ้าหน้าผู้ให้บริการและอาสาสมัครสาธารณสุข เพิ่มขึ้นก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 มีผู้ป่วยระยะกลางที่ได้รับการพักรักษาด้วยที่โรงพยาบาลด้วยโปแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางอย่างเข้มข้นด้วยสหวิชาชีพ พบ เป็นผู้ป่วยติดบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.57 และเมื่อติดตามครบ 6 เดือน พบว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มติดสังคมถึงร้อยละ 85.71 และมีระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 และ พบความพึงพอใจของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการทั้งผู้ป่วยและญาติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> อุทุมพร สุมากรณ์ มยุรี บุญทัด Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 138 147 การศึกษาคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งจากกากยาสมุนไพร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281358 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากกากยาสมุนไพร และเพื่อศึกษาคุณสมบัติถ่านอัดแท่งจากกากยาสมุนไพร เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ใช้พื้นที่ศึกษาที่โรงผลิตยาสมุนไพร ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน วิธีดำเนินการวิจัย โดยทำการทดลองเพื่อหาอัตราส่วนผสมของผงถ่านไม้ : สมุนไพร : แป้ง : น้ำ แล้วนำไปอัดเป็นแท่งถ่าน โดยใช้เครื่องอัดแบบสกรู ขนาดกำลัง 5 แรงม้า แล้วนำถ่านอัดแท่งผสมสมุนไพรที่สามารถขึ้นรูปได้ไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ความยาว น้ำหนัก ความชื้นของถ่านอัดแท่ง ความหนาแน่นของก้อนถ่าน (Density) และความหนาแน่นรวม (Bulk Density) และหาคุณสมบัติค่าความร้อนเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของถ่านอัดแท่งสมุนไพรทั้งสามสูตร<br /> ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนผสมของผงถ่านไม้ : สมุนไพร : แป้ง : น้ำ ของถ่านอัดแท่งจากกากยาสมุนไพรจำนวน 3 สูตร ถ่านอัดแท่งสามารถขึ้นรูปได้ดีทั้ง 3 สูตร ถ่านมีการจับตัวเกาะแน่นและมีผิวเรียบเช่นเดียวกับการขึ้นรูปผงถ่านไม้ ถ่านอัดแท่งจากกากยาสมุนไพร ทั้ง 3 สูตร มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปหุงต้มอาหารได้ ซึ่งเป็นถ่านที่มีการนำกากยาสมุนไพรที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตยามาใช้ประโยชน์ในการเป็นพลังงานความร้อน และเป็นการจัดการขยะที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม</p> ปุรฉัตร วัฒนพรชัย นิสา พักตร์วิไล สุนทรี จีนธรรม นงลักษณ์ เล็กรุ่งเรืองกิจ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 148 157 การสังเคราะห์ข้อเสนอแพลตฟอร์มสุขภาพดิจิทัลตามนโยบายปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขในเขตสุขภาพนำร่อง : ประเด็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคไม่ติดต่อ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281364 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาหารูปแบบและแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมทั้งระบบนิเวศน์ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาพดิจิทัล โดยดำเนินการเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1) การทบทวนระบบสุขภาพดิจิทัล ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการอภิบาลสุขภาพดิจิทัลที่ดีจะต้องมีการอภิบาลแบบมีส่วนร่วม มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีอำนาจการตัดสินใจและอยู่ในวาระต่อเนื่อง มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล และให้ความสำคัญกับการมีมาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพ โดยมีแบบอย่างที่ดีของ ออสเตรเลีย อังกฤษ ฟินแลนด์ และ อินเดีย 2) การพัฒนาเครื่องมือต้นแบบของระบบข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล มีการบูรณาการข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลจากหลายแหล่งฐานข้อมูล มีการเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติโดยตรงจากโรงพยาบาลเข้าสู่ส่วนกลาง สามารถแสดงข้อมูลสุขภาพผ่านโมบายแอปพลิเคชัน มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล เพื่อใช้ประกอบการรักษาพยาบาล และ 3) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะ ปรับการบริหารจัดการข้อมูลเป็นแบบ Silo Base ให้เป็นแบบ Authority Base เพื่อการกำกับดูแลที่ดีอย่างยั่งยืน จึงมีข้อเสนอเพื่อพัฒนาใน 5 พันธกิจ และจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบสุขภาพดิจิทัลโดยตรง โดยมีข้อเสนอแผนปฏิบัติการจัดตั้งองค์กรกลางด้านระบบสุขภาพดิจิทัล (National Digital Health Authority)</p> อนันต์ กนกศิลป์ บุญชัย กิจสนาโยธิน กนกวรรณ มาป้อง รุ่งนิภา อมาตยคง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 158 173 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ประกอบการ ปลาร้าและปลาส้ม เขตสุขภาพที่ 7 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281374 <p> การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Survey research by cross sectional analytic study) เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ประกอบการปลาร้าและปลาส้ม เขตสุขภาพที่ 7 พื้นที่ศึกษาคือ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 8 แห่งในจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและร้อยเอ็ด เกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ศึกษา คือ ท้องถิ่นที่มีสถานประกอบการปลาร้าและปลาส้มผลิตเพื่อจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการปลาร้าและปลาส้มที่ผลิตเพื่อจำหน่าย จำนวน 72 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกผู้ประกอบการทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Sperman rank correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการปลาร้าและปลาส้ม 72 คน มีอายุเฉลี่ย 54 ปี (S.D =9.5) เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 83.4 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 69.5 อาศัยอยู่ติดแหล่งน้ำร้อยละ 77.8 ส่วนใหญ่เป็นผู้ปรุงอาหารในครัวเรือนร้อยละ 63.9 มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี/ตับร้อยละ 18.1 เคยตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิเพื่อค้นหาพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 86.1 และติดพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 22.2 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ประกอบการปลาร้าและปลาส้มอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 93.1 พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ประกอบการปลาร้าและปลาส้ม พบว่าอยู่ในระดับควรต้องปรับปรุง ร้อยละ 73.6 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r<sub>s = </sub>0.515, p-value =.0001) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเข้าถึงข้อมูลและการบริการทางสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r<sub>s =</sub>0.297,p-value =.011)</p> เกษร แถวโนนงิ้ว สุพัตรา วัฒนเสน ณดาญาภา ปุสธรรม เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 174 181 ความหลากหลายทางชีวภาพของไม้ยืนต้น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281375 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของไม้ยืนต้น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายในพื้นที่ 288 ไร่ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 6 โซน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ ระบุชนิดของต้นไม้ และนับจำนวน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความหลากหลายและความสม่ำเสมอของไม้ยืนต้น<br /> ผลการศึกษาพบไม้ยืนต้นทั้งหมด 2,380 ต้น จำแนกเป็นชนิด จำนวน 77 ชนิด และจําแนกเป็นวงศ์ จำนวน 30 วงศ์ โดยวงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Fabaceae พบ 20 ชนิด รองลงมาได้แก่วงศ์ Bignoniaceae จำนวน 8 ชนิด และวงศ์ Moraceae จำนวน 7 ชนิด ตามลำดับ วงศ์ที่มีจำนวนไม้ยืนต้นมากที่สุด คือ วงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 886 ต้น รองลงมา คือ วงศ์ตะแบก (Lythraceae) จำนวน 298 ต้น และวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) จำนวน 275 ต้น ไม้ยืนต้นที่พบมากที่สุดคือ ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) โดยมีจำนวน 414 ต้น บริเวณที่พบชนิดของไม้ยืนต้นมากที่สุดคือ โซนที่ 3 บริเวณเรือนไทยถึงหอพักเพทาย จำนวน 49 ชนิด บริเวณที่พบไม้ยืนต้นมากที่สุดคือ โซนที่ 4 บริเวณโรงยิมเนเซียม 3 หอพักนักศึกษาถึงบางส่วนของบ้านพักบุคลากร จำนวน 528 ต้น ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพรรณในมหาวิทยาลัย เท่ากับ 3.24 และมีดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพันธุ์ ที่ 0.75 ซึ่งอยู่ในระดับมาก บริเวณที่มีค่าดัชนีความหลากหลายของพรรณไม้มากที่สุด คือ โซนที่ 2 ศูนย์อาหารถึงถนนหน้าเรือนไทย โดยมีค่า 3.12 บริเวณที่มีดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพันธุ์มากที่สุด คือ โซนที่ 5 บริเวณสนามกีฬาถึงบ้านพักบุคลากร เท่ากับ 0.85</p> วันชาติ บุณยประสาท นิสา พักตร์วิไล สุนทรี จีนธรรม ประวรดา โภชนจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 182 188 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากกากยาสมุนไพรและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281379 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของกากสมุนไพรและเศษวัสดุทางการเกษตรในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์จากกากยาสมุนไพรและเศษวัสดุทางการเกษตร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ใช้พื้นที่ศึกษาที่โรงผลิตยาสมุนไพร ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และห้องปฏิบัติการเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐม วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่1 การเตรียมวัตถุดิบ ระยะที่ 2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และ ระยะที่ 3 การทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์จากกากยาสมุนไพรและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลักษณะของปุ๋ยเป็นชนิดผง มีสีน้ำตาลปนดำ มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 8.92 ค่าสภาพการนำไฟฟ้า เท่ากับ 1.08 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ปริมาณอินทรียวัตถุ เท่ากับ ร้อยละ 38.47 อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 16:1 ไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 1.42 ฟอสฟอรัสทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 1.54 และโพแทชทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 0.74 ตามลำดับ โดยจัดอยู่ในเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่กรมพัฒนาที่ดินกำหนดไว้</p> ทรงกลด วัฒนพรชัย นิสา พักตร์วิไล สุนทรี จีนธรรม ประวรดา โภชนจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 189 198 การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลโนนศิลา : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281550 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโดยคัดเลือกผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 2 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนศิลา เพื่อที่จะเปรียบเทียบ อาการ, การรักษา,ภาวะแทรกซ้อนของโรค และแนวทางการพยาบาล ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง โดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ร่วมกับการสังเกต กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนด้านสุขภาพของกอร์ดอน เป็นกรอบในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษา :ผู้ป่วยทั้ง 2รายมีอาการเจ็บป่วยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยรายที่1 มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม น้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากการควบคุมอาหารไม่เหมาะสม ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ยังมีภาวะซีด แพทย์ให้รับประทานยาเพิ่มความเข้มข้นของเลือด เหนื่อยวิงเวียนน้อยลง ผู้ป่วยรายที่ 2 โรคเบาหวานรักษาแบบควบคุมอาหารและผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ปวดจุกท้องลดลง ไม่มีภาวะติดเชื้อในช่องท้อง เหนื่อยลดลง หายใจปกติ</p> อมรรัตน์ จินารักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 199 206 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281220 <p> การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่านิยม ทัศนคติต่อการรับรู้ประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับดี มีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษายังบ่งชี้ว่า นักศึกษาพยาบาลที่มีเพศ อายุ รายรับต่อเดือน และระดับการศึกษาของมารดาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ อันได้แก่ค่านิยม ทัศนคติ การรับรู้ ความสามารถแห่งตน และการรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ</p> เพ็ญพิศ นุกูลสวัสดิ์ อัญชุกร เจริญศิริ กัลยา มั่นล้วน พันธิพา จารนัย Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 207 215 การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283135 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการแบบเฉพาะเจาะจง ตามที่มีคุณสมบัติตรงกับเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย ผู้ป่วยยาเสพติด 74 คน ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วย 74 คน บุคลากรทางการแพทย์ 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ความเข้มแข็งทางใจ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดซ้ำ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องการเสพติดซ้ำ ความตั้งใจในเลิกใช้ยาเสพติด แบบวัดการทำหน้าที่ของครอบครัว แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ใช้สถิติ t-test<br /> ผลการศึกษา ขั้นตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด พบว่าปัญหาก่อนจำหน่าย คือ ขาดการวางแผนเสริมสร้างทักษะที่จำเป็น ขาดกิจกรรมที่จะช่วยลดภาวะเสี่ยง ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับไปเสพติดซ้ำ และขาดการเสริมแรงให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับการเลิกยาเสพติด และปัญหาหลังจำหน่าย ได้แก่ ไม่มีการติดตามดูแลผู้ป่วย (ทางโทรศัพท์และการติดตามเยี่ยมบ้าน) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องประกอบด้วย 19 กิจกรรมสำหรับผู้ป่วย 11 กิจกรรม คือ 1) รู้จักกันพาคลายเครียด 2) อารมณ์ดีชีวีมีสุข 3) พลังบวกด้วยใจเข้มแข็ง 4) สานฝันสู่เป้าหมาย 5) สู่อ้อมกอดของครอบครัว 6) ปัญหามีไว้แก้ 7) คุณค่าในตนเอง 8) โทรถามยามไกล 9) เติมพลังใจก้าวต่อ 10) โทรไปให้ใจสู้ 11) เรียนรู้สู่ความสำเร็จ ส่วนกิจกรรมสำหรับครอบครัว 8 กิจกรรม คือ 1) รู้จักกันพาคลายเครียด 2) รู้ทันสารเสพติดและสมองติดยา 3) ครอบครัวนี้มีสุข 4) สู่อ้อมกอดของครอบครัว 5) โทรถามตามเยี่ยม-1 6) ห่วงใย ใส่ใจกัน 7) โทรถามตามเยี่ยม-2 8) สู่เส้นชัยก้าวไปด้วยกัน และขั้นตอนที่ 3 ผลการประเมิน ในกลุ่มผู้ป่วยพบว่าความเข้มแข็งทางใจ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดซ้ำ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องการเสพติดซ้ำ ความตั้งใจในเลิกใช้ยาเสพติด การทำหน้าที่ของครอบครัวและความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด หลังการทดลองใช้รูปแบบการดูแลต่อเนื่องกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในกลุ่มครอบครัวพบว่าการทำหน้าที่ของครอบครัวและความพึงพอใจ หลังการทดลองใช้รูปแบบกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; .05)</p> รัตนา ดีปัญญา จรุณรักษ์ ยี่ภู่ ไพวัล อาจหาญ ลักขณา กลางคาร กาญจนา ภูยาธร สุกัญญา เวียงอินทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 216 226 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283156 <p> การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การตกเลือดหลังคลอด และเพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่างเดือน กรกฎาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย 1) พยาบาลและทีมสหวิชาชีพ 2) หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลชนบท คัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือก เครื่องมือรวบรวมข้อมูลปรอกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกและแนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา<br /> ผลการศึกษา เกิดแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด ที่ครอบคลุมทั้งการประเมินและการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มไม่มีความเสี่ยง หลังการทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล พบว่าหญิงหลังคลอดไม่เกิดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ สำหรับกลุ่มมารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด คิดเป็น ร้อยละ 100</p> อัจฉรา ยาวะสิทธิ์ รพิพรรณ เสนาราช มุก อิงคประเสริฐ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 227 235 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281804 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยใช้กระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชน ผู้ปกครอง และเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนารูปแบบฯ ผู้ปกครองและเด็กมีระดับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เพิ่มขึ้น และและสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันการจมน้ำ เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001)</p> ชัย บุญร่วม Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 236 248 กระบวนการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม ภายใต้บริบทชุมชนภูไท ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ระยะที่ 1) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/281920 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา บริบทการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาแผนการดูแลผู้สูงอายุภายใต้บริบทชุมชนภูไท ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแกนนำในการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ 75 คน และผู้สูงอายุ 287 คน ใช้เทคนิคเทคโนโลยีการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผน ประกอบด้วยการถกปัญหาด้วยวิธี ORID และการประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยเทคนิค AIC เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบบันทึกผลการพัฒนาแผน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา<br /> ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.61) มีรายได้ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 64.46) แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ร้อยละ 82.23) ชุมชนมีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุที่หลากหลาย การพัฒนาแผนการดูแลผู้สูงอายุได้กำหนดโครงการครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างความมั่นคงทางการเงิน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ การเสริมสร้างระบบการดูแลในชุมชน และการพัฒนาศักยภาพ Care Giver</p> <p> </p> ธวัชชัย ยุบลเขต วิทยา พลนาคู Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 249 258 การพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกกับการเรียนรู้ ในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283160 <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกกับการเรียนรู้ในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โดยดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) พัฒนาโปรแกรม 2) ทดลองการใช้โปรแกรมและ 3) ทดสอบผลการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ในโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ จำนวน 30 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมจิตสังคมบำบัดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกกับการเรียนรู้ แบบประเมินระดับความรุนแรงของความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชไทย (PVSS) และแบบประเมินคุณภาพชีวิต(WHOQOL–BREF–THAI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Repeated Measure ANOVA และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัย โปรแกรมจิตสังคมบำบัดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกกับการเรียนรู้ มีเป้าหมายหลัก เพิ่มความรู้สึกต่อตนเองในเชิงบวก สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงและเพิ่มคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงและคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ ติดตาม 1 เดือน แตกต่างกัน (F = 29.9, p &lt; .001; F = 0.025, p &lt; 0.87) ตามลําดับ</p> อัญชลี วิจิตรปัญญา สุนันทา พลเดชาสวัสดิ์ อดิศักดิ์ ชัยศิริ เพ็ญสุดา ไชยเมือง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 259 268 การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283162 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา และความต้องการรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุ 3) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุ 4) ประเมินระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนธันวาคม 2567- เดือนมกราคม 2568เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราค ตามลำดับดังนี้ 0.86, 0.89 และ 0.93 แนวคำถามการสนทนากลุ่ม รูปแบบการดูแลสุขจิตตนเองของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ paired sample t-test<br /> ผลการศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน พบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพจิตด้วยตนเองของผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุใน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับดีกว่าคนทั่วไป จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 57.26 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน พบว่า ระดับความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.46, S.D.= 0.54)</p> อุกฤษฎ์ บุษบงค์ สัณณ์ภณ ตะพังพินิจการ กาญจนา นิ่มสุนทร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 269 280 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กในชุมชนที่ อายุยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283163 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชนที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 45 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่าเด็กปฐมวัยในชุมชนได้รับการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเพิ่มขึ้น ก่อนการพัฒนา เด็กปฐมวัยในชุมชนได้รับคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 75.41 พบพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 69.56 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 30.44 และหลังการพัฒนา เด็กปฐมวัยในชุมชนได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 100.0 พบพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 78.69 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 21.31 มีการกระตุ้นและติดตามพัฒนาการในรายที่พบพัฒนาการสงสัยล่าช้าทุกคน หลังการกระตุ้นพัฒนาการแล้วเด็กมีพัฒนาการสมวัย และพบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรม การรับรู้ และด้านการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นและเด็กปฐมวัยในชุมชนมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100.0</p> บุญถือ พุ่มจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 281 290 ผลของการให้ข้อมูลและการดูแลด้านจิตใจต่อความเจ็บปวด แรงกดและปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนมได้รับ ของผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283164 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) วัดผลก่อนและหลังการทดลองศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลและการดูแลด้านจิตในผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติต่อความเจ็บปวด แรงกด และปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนมได้รับ กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคือผู้ป่วยที่มารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2567 จำนวน 148 รายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)การให้ข้อมูลและการดูแลด้านจิตใจ 2) แบบประเมิณความเจ็บปวด Numerical rating scale (NRS) 3) แบบบันทึกแรงกดขณะเอกซเรย์เต้านม(N) 4)แบบบันทึกปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนมได้รับ(mGy)โดยมีผลวิจัยดังนี้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&gt;0.05) นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยแรงกดและค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนมได้รับขณะเอกซเรย์เต้านมในท่า R CC , L CC ,R MLO, L MLO ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P&lt;0.05)</p> สมานลักษ์ วิรุณพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 291 297 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันระยะเฉียบพลัน ในเครือข่ายโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283167 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้ มุ่งพัฒนาและประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันระยะเฉียบพลันในเครือข่ายโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2567 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) วิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง (2) พัฒนาและทดลองใช้ระบบการดูแล และ (3) ประเมินผล&nbsp; กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ระยะเฉียบพลัน (2) แบบแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ระยะเฉียบพลัน (3)แบบบันทึกการตรวจสอบเวชระเบียน (4) แบบสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ (5) แบบประเมินความรู้และแบบประเมินสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ระยะเฉียบพลัน ของพยาบาล (6) แบบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ระยะเฉียบพลัน ของพยาบาล (7) แบบประเมินการปฏิบัติตามแบบแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ของทีมสหสาขาวิชาชีพ และ (8) แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ paired-sample t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา หลังพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันในระยะเฉียบพลัน พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ย Door to needle time รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลง พยาบาลมีความรู้และสมรรถนะ&nbsp; เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) และมีความเห็นต่อระบบการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับดีมาก และกว่าร้อยละ 90 ของทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามแผนการดูแลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม</p> แสงอาทิตย์ วิชัยยา เขมิกา สิริโรจน์พร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 298 311 การพัฒนารูปแบบบริการการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ที่เตรียมลำไส้เองที่บ้าน ในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ(ODS) โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283168 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบบริการการการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ที่เตรียมลำไส้เองจากบ้านและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ที่เตรียมลำไส้เองที่บ้าน ในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ จำนวน 47 ราย เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่เตรียมลำไส้เองที่บ้าน แบบสอบ ถามผู้รับบริการเรื่องความสะอาดของลำไส้ และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมองและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา : รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการปรับปรุงแบบบริการงานห้องผ่าตัด มีศูนย์ Scope centerสามารถเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ที่เตรียมลำไส้เองที่บ้าน ผู้ป่วยเตรียมลำไส้ได้สะอาดไม่พบอุบัติการณ์การเลื่อนส่องตรวจลำไส้ใหญ่ ลดวันนอน ลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายและความพึงพอใจในการบริการห้องผ่าตัด อยู่ในระดับดีมาก</p> นุชสิญาภัช ฟูลเน็คกี้ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 312 320 การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลวิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โรงพยาบาลอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283300 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลวิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โควิด 19 และ 2) ศึกษาผลการพยาบาลวิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยแยกโรค 84 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางการพยาบาลวิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 แนวทางการบริหารอัตรากำลังพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของกองการพยาบาล แนวทางการบริหารอัตรากำลังพยาบาล ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอุดรธานี แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการ ติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมการแพทย์ แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19 แผนประคองกิจการ เพื่อรองรับการระบาดในกรณีโรค&nbsp;&nbsp; โควิด 19 ของโรงพยาบาลอุดรธานี แผนการประชุมระดมสมอง และ 2) แบบทดสอบวัดความรู้ และ 4) แบบประเมินความ พึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">กลุ่มการพยาบาล มีการบริหารอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด และมีค่าผลิตภาพทางการพยาบาลอยู่ในเกณฑ์</li> <li class="show">แนวทางการพยาบาลวิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วย การซักประวัติและการประเมินผู้ป่วย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แรกรับ การพยาบาลและการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนภาวะวิกฤตขณะรับการรักษา การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวางแผนจำหน่าย การประสานการดูแลต่อเนื่องกับเครือข่าย และการบันทึกทางการพยาบาล</li> <li class="show">ผลลัพธ์การใช้แนวทางการพยาบาลวิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ได้แก่ ด้านผู้ให้บริการ พบว่า มีความรู้ และทักษะการปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการใช้แนวทางการพยาบาลวิถีใหม่ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.45, SD = 0.49) ด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ พบว่าบุคลากรพยาบาลมีการติดเชื้อโควิด 19 ลดลง และอุบัติการณ์ความเสี่ยงในการย้ายผู้ป่วยไปหอผู้ป่วยแยกโรควิกฤตลดลง</li> </ol> เนาวนิตย์ พลพินิจ สมไสว อินทะชุบ วรัญรดา เชื้อตายา ณัฐชยา สิมมะลี Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 321 332 ผลการสอนแนะการนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝายแตก ตำบลลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283169 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi experimental design) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (One group pre-posttest design) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้ และระดับพฤติกรรมการนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝายแตก ตำบลลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2567 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามวัดระดับคะแนนความรู้ และระดับพฤติกรรมการนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า ระดับคะแนนความรู้ และระดับพฤติกรรมการนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวาน ก่อนและหลังการสอนแนะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยที่หลังการสอนแนะระดับคะแนนความรู้ และระดับพฤติกรรมการนับคาร์โบไฮเดรต สูงกว่าก่อนการสอนแนะ คือ การนับคาร์โบไฮเดรต การเลือกปริมาณการรับปประทานอาหาร การใช้ยาตามคำแนะนำ การออกกำลังกาย และผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น</p> มะลัย วรรณอำไพ วิภาวี เหล่าจตุรพิศ วรรณภา สุระพร สุภาพร ชื่นอภัย ปิยะธิดา ป้องหาญชัย Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 333 340 การศึกษารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรัง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283170 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมและป้องกันโรคไตเรื้อรังในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 จำนวน 26 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมและป้องกันโรคไตเรื้อรัง และ 2) สมุดบันทึกสุขภาพตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการกรองของไต (eGFR) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (<em>p&lt;0.05</em>) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ความเครียด รวมถึงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการค่า FBS, HbA1C, Total cholesterol, LDL, BUN, Creatinine, Urine Protein, Urine creatinine และUPCI มีแนวโน้มลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามภายหลังได้รับโปรแกรมฯ พบว่า เส้นรอบเอว ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตค่า Systolic Blood Pressure, Diastolic blood pressure ค่าเฉลี่ยคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) &nbsp;และค่าเฉลี่ยไตรกลีเซอไรด์ (TG) ไม่แตกต่างกัน</p> บัณฑิต ดวงดี จินตนา พัฒนพงศ์ธร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 341 351 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283171 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งหมด 256 คน การพัฒนารูปแบบแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์และค้นหาปัญหาฟันผุในเด็กปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 3) ดำเนินการตามรูปแบบที่พัฒนาและร่วมมือกับครอบครัวและชุมชน 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสภาวะฟันผุ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ paired sample t-test เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาหลังการใช้รูปแบบส่งเสริมสุขภาพช่องปากพบว่า ค่าเฉลี่ยจำนวนฟันผุลดลงเล็กน้อยแต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.003) รวมถึงคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพฟันเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p&lt;0.001)</p> สินีนาฏ ลือชูวงศ์ พรรณภัค เป็งมี ธัญวรัตม์ ถนอมจิตร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 352 359 ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาผ่านแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมของมารดา ในการดูแลเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283172 <p> โรคปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี การสอนแนะให้มารดามีพฤติกรรมการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาผ่านแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาของเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่มีอายุ 1 เดือน ถึง 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศภาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะมารดาผ่านแอปพลิเคชันและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสอนแนะมารดา ผ่านแอปพลิเคชัน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองมารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบสูงกว่ากลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value&lt;0.001, p-value&lt;0.001 ตามลำดับ)</p> ชรินทร ผ่องกมลกุล ชาญวิทย์ ตั้งสุวรรณกุล Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 360 369 การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีบุคลิกภาพพฤติกรรมก้าวร้าว: กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283173 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีบุคลิกภาพพฤติกรรมก้าวร้าว 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีประวัติใช้และติดสารเสพติด ร่วมกับมีอาการและบุคลิกภาพพฤติกรรมก้าวร้าว มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาทม โดยศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 ที่เข้ารับบริการ วันที่ 1 มีนาคม 2567 และศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 การเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ สังเกต และเวชระเบียน ใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน แบบประเมินพฤติกรรมรุนแรง OAS (Overt Aggression Scale) และกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลร่วมกับแนวคิดกระบวนการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วย</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 เพศชาย อายุ 31 ปี อาการสำคัญ 1 วันก่อนมา พูดบ่นคนเดียว หงุดหงิด โวยวาย ก้าวร้าว ทำร้ายตนเอง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Multiple Substance-Induced Psychosis Disorder ได้รับการรักษา ให้ยาฉีด Haloperidol 5 mg IM, Valium 10 mg IV ทุก 6 ชั่วโมง ดูแลตามแผนการพยาบาล 6 แผน อาการดีขึ้นจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน รายที่ 2 เพศชาย อายุ 37 ปี อาการสำคัญ 1วันก่อนมา หงุดหงิดฉุนเฉียว โวยวาย ขู่ทำร้ายญาติ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Multiple Substance-Induced Psychosis Disorder ได้รับการรักษา ให้ยาฉีด Haloperidol 5 mg IM, Valium 5 mg IV ทุก 6 ชั่วโมง ดูแลตามแผนการพยาบาล 7 แผน อาการอาการดีขึ้นจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับการรักษาพยาบาลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินของกรมสุขภาพจิต</p> ทองใบ สุขรี Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 370 377 การพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283174 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน และพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะวิจัย เป็นการศึกษาตั้งแต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่ระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ในกลุ่มทดลอง และในกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2567– เดือนมกราคม 2568 และระยะที่ 2 ระยะพัฒนา เป็นการขยายผลจากระยะที่ 1 ไปศึกษาต่อในพื้นที่อำเภอท่ามะกา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 แห่ง ตั้งแต่วันที่ ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม 2568 จำนวน 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) Chi-square test, Independent t-test, paired simple t-test และ F-test ด้วยเทคนิค One way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่โดย Scheffe</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ระยะที่ 1 ระยะวิจัย พบว่า ระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การแจ้งเตือนให้มารักษาตามนัด 2) ประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยในการดูแลตนเอง 3) ให้การรักษาพยาบาลและคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) ติดตาม ให้กำลังใจ 5) แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ป่วย และ 6) ให้การสนับสนุน รพ.สต. โดยโรงพยาบาลในพื้นที่ ผลการใช้ระบบ พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม และด้านต่างๆ (ยกเว้นด้านการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และการเฝ้าระวังโรค) ดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือด ลดลง และดีกว่าระบบการดูแลแบบเดิมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและด้านต่างๆ (ยกเว้นด้านการรับประทานยา) และระดับน้ำตาลในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ทั้งนี้ ระบบที่พัฒนานี้ทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากกว่าระบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา พบว่า 1) การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยที่หลังดำเนินการความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่าก่อนการดำเนินการ 5) การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และ พฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังการดำเนินงาน ระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่า ไม่แตกต่างกัน</p> รังสิมันตุ์ ทองสวัสดิ์ บุญชัย อุดม Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 378 392 ความหลากหลายของพรรณพืชและภูมิปัญญาท้องถิ่นในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283175 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณพืช ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพรรณพืชและ จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายของพรรณพืช ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ระยะที่ 2 สำรวจความหลากหลายและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพรรณพืชในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของพรรณพืช</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย จากการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืช ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ พบว่า พรรณพืชที่สำรวจพบมีจำนวน 129 ชนิด แบ่งเป็นไม้ต้น จำนวน 65 ชนิด ไม้พุ่ม จำนวน 24 ชนิด ไม้เลื้อย จำนวน 14 ชนิด ไม้ล้มลุก จำนวน 14 ชนิด ไม้น้ำ จำนวน 6 ชนิด และหญ้า จำนวน 6 ชนิด จากการศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพรรณพืช พบว่า มีการนำพรรณพืชไปใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ได้แก่ แคป่า ขี้เหล็ก ผักกูด ไผ่ ด้านสมุนไพร ได้แก่ ฝาง รางแดง เปล้าใหญ่ และด้านการใช้สอย ได้แก่ พฤกษ์ ประดู่ พะยอม มะหาด สามารถจัดระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายของพรรณพืชได้ จำนวน 129 ชนิด</p> สุนทรี จีนธรรม จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท พรนภา เตียสุธิกุล พัชรี ประสังริโย รัชนีวรรณ จีนธรรม Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 393 404 ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283177 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม แบ่งการศึกษาเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest-posttest design) ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน (t = 12.35, 95%CI = 0.31 ถึง 0.43, p &lt; 0.000) พฤติกรรมทางสุขภาพ (t = 18.02, 95%CI = 0.79 ถึง 0.99, p &lt; 0.000) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (t = 19.28, 95%CI = 1.42 ถึง 1.84, p &lt; 0.000) ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร (t = 2.97, 95%CI = 3.01 ถึง 15.72, p = 0.05) ระดับน้ำตาลหลังอาหาร (t = 6.90, 95%CI = 42.91 ถึง 78.36, p &lt;0.000) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ณัฐวดี ศรีแสนยงค์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 405 413 ผลของการใช้นวัตกรรมหุ่นจำลองกลไกการคลอด SIMILAR ต่อความรู้ ความเข้าใจ การสาธิตย้อนกลับและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283178 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมหุ่นจำลองกลไกการคลอด SIMILAR ต่อความรู้ ความเข้าใจ การสาธิตย้อนกลับ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ Pretest-posttest control group design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินการสาธิตย้อนกลับ และแบบประเมินความพึงพอใจ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเรื่องกลไกการคลอดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.48 คะแนน vs 6.20 คะแนน, p &lt; 0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยการสาธิตย้อนกลับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.32 คะแนน vs 5.66 คะแนน, p &lt; 0.001) โดยกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.0) มีทักษะการสาธิตย้อนกลับอยู่ในระดับดี ในขณะที่กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64.0) อยู่ในระดับพอใช้ นอกจากนี้ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมหุ่นจำลองกลไกการคลอด SIMILAR พบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.60, S.D. = 0.51)</p> พรรวินท์ ธนินธิติพงศ์ รวีพร อุดมก้านตง เรืองศรี ศรีสวนจิก Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 414 424 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีส่องกล้อง : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282019 <p> การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีส่องกล้อง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น ในเดือนกรกฎาคม 2567 จำนวน 2 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลแบบองค์รวม ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีส่องกล้อง โดยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอนในขั้นตอนกากรประเมินภาวะสุขภาพรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตาม 11 แบบแผนสุขภาพของ Gordon เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลภาวะสุขภาพ การรักษา ข้อวินิจฉัยการพยาบาลในระยะก่อนระงับความรู้สึก ระหว่างระงับความรู้สึกและระยะระงับความรู้สึก</p> <p> ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วบทั้ง 2 รายได้รับการวินิจฉัยเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเหมือนกัน แต่รายที่ 1 มีอาการอักเสบของถุงน้ำดี มีโรคร่วม มีภาวะอ้วน และจากการประเมินด้วยการตรวจร่างกายพบว่า มีภาวะการใส่ท่อช่วยหายใจยากร่วมด้วย ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและระงับความรู้สึกทั้ง 2 ราย กรณีศึกษารายที่ 1 พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลจำนวน 13 ข้อ กรณีศึกษารายที่ 2 จำนวน 10 ข้อ ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ดูแลระหว่างผ่าตัด และติดตามเยี่ยมหลังผ่าตัดและระงับความรู้สึก ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคที่เป็น การผ่าตัดและการระงับความรู้สึกที่ได้รับ ความเสี่ยงต่าง ๆ และการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด ประสานพยาบาลหอผู้ป่วยในการส่งข้อมูลการผ่าตัดและระงับความรู้สึก ร่วมกันวางแผนการพยาบาลเพื่อป้องกันความเสี่ยงและบรรเทาอาการรบกวนต่างๆของผู้ป่วย ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดและระงับความรู้สึก ภาวะเสี่ยงต่ออันตรายจากการใส่ท่อช่วยหายใจยากและการระงับความรู้สึก ความไม่สุขสบายจากการปวดแผลผ่าตัด ทั้ง 2 รายได้รับการดูแลจนอาการทุเลา แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รายที่ 1 จำนวน 4 วัน รายที่ 2 จำนวน 2 วัน เนื่องจากกรณีที่ 1 มีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงมากกว่าระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลจึงนานกว่า</p> นพน้อย พานิชชา Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 425 433 ผลของโปรแกรมการวางแผนจําหน่ายแบบไฮบริดต่อความรู้ ทักษะการดูแลบุตรของมารดา และภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282063 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจําหน่ายแบบไฮบริดต่อความรู้ ทักษะการดูแลบุตรของมารดา และภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) โดยใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลกุมภวาปี ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567 จำนวน 33 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการวางแผนจําหน่ายแบบไฮบริดต่อความรู้ ทักษะการดูแลบุตรของมารดาและภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี และแบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด แบบประเมินทักษะการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงความถี่ และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองใช้โปรแกรมการวางแผนจําหน่ายแบบไฮบริดต่อความรู้ ทักษะการดูแลบุตรของมารดาและภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี มารดาของทารกคลอดก่อนกำหนด มีความรู้(t=9.88, p-value &lt;0.001, 95% CI = 4.23 – 6.43) และทักษะการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด(t=8.17, p-value &lt;0.001, 95% CI = .66 – 7.76) สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> ณพัชญา สืบมา Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 434 443 ผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการขออนุญาตโฆษณาของสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282331 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)นี้ ศึกษาสถานการณ์ พัฒนา และศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการขออนุญาตโฆษณา ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนา ระยะที่ 3 นำไปใช้ และระยะที่ 4 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการสถานพยาบาลที่ขออนุญาตโฆษณา จำนวน 38 คน และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ จำนวน 3 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา One sample T-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมส่งเสริมการขออนุญาตโฆษณาที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดทำคู่มือให้คำแนะนำการขออนุญาตโฆษณา กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบให้คำปรึกษาผ่าน LINE Official Account กิจกรรมที่ 3 พัฒนา เว็บแอปพลิเคชันระบบตรวจสอบข้อความที่ควรหลีกเลี่ยงในการโฆษณา กิจกรรมที่ 4 พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Access เพื่อจัดทำหนังสืออนุมัติโฆษณา และกิจกรรมที่ 5 พัฒนาแนวทางการขออนุญาตโฆษณา ซึ่งทำให้ผลการพิจารณาอนุมัติโฆษณาสถานพยาบาลแบบไม่มีแก้ไขร้อยละ 76.06 ระยะเวลารวมในการดำเนินการอนุมัติโฆษณาน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) และผลการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันฯ ภาพรวม กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเว็บแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพมากที่สุด (4.70±0.22)</p> วรรณิภา ประกอบสิน กนกพร ชนะค้า ปิยพร ผลประดับเพ็ชร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 444 453 การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ของเกษตรกรสวนยางพารา ในพื้นที่อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282333 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรสวนยางพาราในอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล การศึกษานี้เป็นการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรสวนยางพาราจำนวน 60 คน ที่มีอายุ 20-65 ปี และมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน เช่น การสัมผัสสารเคมี ปัจจัยทางการยศาสตร์ และอันตรายจากสัตว์มีพิษ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมวิจัย วางแผน และกำหนดกิจกรรม โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากสารเคมี การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การใช้ท่าทางที่เหมาะสมในการทำงาน และมาตรการป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษ หลังทดลองใช้โปรแกรมพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานลดลงร้อยละ 34.78 มีอาการปวดเมื่อยลดลงร้อยละ 31.81 และผู้เข้าร่วมมีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานดีขึ้น เช่น การสวมถุงมือและรองเท้าบูทขณะทำงานในสวนยางพารา สวมหน้ากากป้องกันสารเคมีขณะใช้สารเคมี รวมถึงความพึงพอใจในโปรแกรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวันและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่ม</p> วรายุส วรรณวิไล สันติพงษ์ ทองหอม Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 454 460 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282402 <p> การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโซเชียล ด้านมือถือ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการจัดเก็บข้อมูลและด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 53 ราย คำนวณโดยใช้สูตรยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและ t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ก่อนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีความเห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านมือถือ รองลงมา ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพ ด้านการวิเคราะห์ ด้านโซเชียล และด้านการจัดเก็บข้อมูล และยังพบปัญหาการขาดทักษะการใช้เทคโลยีดิจิทัล ได้พัฒนาโดยการจัดการประชุม อบรม สอนทักษะการใช้เทคโนโลยีที่จำเป็น ภายหลังพัฒนา พบว่า การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านประสิทธิภาพ รองลงมา ได้แก่ ด้านมือถือ ด้านการวิเคราะห์ การจัดเก็บข้อมูล และด้านโซเชียล ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบ ก่อนและภายหลังการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทำให้ระดับความคิดเห็นด้านโซเชียล ด้านมือถือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูลและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธิดารัตน์ ศรีตะบุตร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 461 470 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนในการจัดการอุบัติเหตุทางถนน อำเภอละงู จังหวัดสตูล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282501 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR โดยใช้วงจร PAOR มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์การจัดการอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนอำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอละงู จังหวัดสตูล จำนวน 55 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึก รายงาน และสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์สถานการณ์ได้นำไปสู่การกำหนดเป็นรูปแบบ LANGU Model ในการจัดการอุบัติเหตุทางถนน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประกอบด้วยกลไกหลักในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) L (Leadership) การแต่งตั้งและกำหนดบทบาทของเจ้าภาพหลัก, 2) A (Assessment and Monitoring): การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง, 3) N (New Thinking and Learning): การพัฒนาความคิดใหม่ ๆ และการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ และ 4) GU (Good Team and Unity): การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกระดับ จากการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินงานการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในระดับดีเยี่ยม การวิเคราะห์ผลดำเนินงานตามนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้ยุทธศาสตร์ หลัก 5 ด้าน (5 Es) อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.57 S.D. = 0.63) อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงระยะเวลาเดียวกันมีอัตราลดเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน 3 ปี ย้อนลง ร่วมถึงได้มีการดำเนินงานการจัดการจุดเสี่ยงที่มีอยู่ในอำเภอรวม 6 จุด จากทั้งหมด 15 จุด</p> วรายุส วรรณวิไล ณัฐสิทธิ์ สองเมือง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 471 480 รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283188 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมี 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยและเครือข่ายการดูแล (2) ถ่ายทอดแนวทางการดูแลที่พัฒนาแล้ว (3) นำรูปแบบใหม่ไปปรับใช้ (4) ติดตามผลการรักษาทางคลินิก และ (5) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผ่านข้อมูลทุติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วย COPD ที่ขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลฆ้องชัย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเชิงปริมาณและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา: พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่พัฒนาแล้วช่วยลดอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และลดจำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลฆ้องชัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลตามแนวทางที่พัฒนาขึ้นมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้ยาสูดพ่นที่ถูกต้องและการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ นอกจากนี้ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อรูปแบบการดูแลใหม่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในด้านการให้คำแนะนำและการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพของแนวทางที่พัฒนาขึ้น</p> กนกกาญจน์ อนันต์ศิริไพศาล Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 481 490 รูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการผลิตผลงานวิจัยโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283190 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการผลิตผลงานวิจัย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร คณะกรรมการวิจัยโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามทีสร้างขึ้น ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่ม ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ Paired Samples t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหา 2)ประชุมวางแผน จัดทำแผนปฏิบัติการ 3)จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านงานวิจัยแก่บุคลากร 5 ระยะ 4) กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ Mentor ด้านงานวิจัย 5) กิจกรรมการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย 6)การสังเกตและประเมินผล กิจกรรม 7) การถอดบทเรียน และสะท้อนแนวคิดการพัฒนางานวิจัย กระบวนการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย มีการเปลี่ยนแปลง ด้านความรู้ การปฏิบัติการวิจัย และความพึงพอใจ ในการทำวิจัย เพิ่มสูงขึ้นก่อนดาเนินการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.05) เกิดนักวิจัยหน้าใหม่ 40 คน เกิดผลงานวิจัย 56 เรื่อง ตีพิมพ์ 16 เรื่อง มีการขยายผลการทำวิจัยในทุกหน่วยงาน เกิดทีมวิจัยที่เข้มแข็ง เกิดภาคีเครือข่ายด้านวิชาการที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค เพิ่มการเข้าถึงบริการผู้ป่วย เกิดการพัฒนาระบบบริการในด้านต่างๆ นักวิจัยเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร เกิดการพัฒนาคู่มือ แนวปฏิบัติ และนวัตกรรมที่พัฒนาต่อเนื่องจากงานวิจัย และเกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน</p> อภิชญา อารีเอื้อ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 491 498 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายโรงพยาบาลเขาวง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283191 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาแนวปฏิบัติ ระยะที่ 2 ระยะใช้แนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 ระยะพัฒนาต่อยอดแนวปฏิบัติ ดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ มกราคม – มีนาคม 2568 รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติทางการพยาบาลมี 9 ข้อ 1) การฝึกอบรม&nbsp;&nbsp; 2) การเฝ้าระวังการติดเชื้อ 3) การทำความสะอาดมือ 4) การแทงเข็มให้สารน้ำ 5) การดูแลตำแหน่งที่แทงเข็ม 6) การเปลี่ยนชุดให้สารน้ำ 7) การเปลี่ยนสายและเปลี่ยนตำแหน่งที่ให้สารน้ำ 8) การเปลี่ยนขวดให้สารน้ำ 9) การเตรียมและให้ยาฉีด ด้านความรู้พบว่าหลังใช้แนวปฏิบัติสูงมากกว่าเดิมร้อยละ 88.2 ด้านปฏิบัติพบว่าหลังใช้แนวปฏิบัติสูงมากกว่าเดิมร้อยละ 89.5 ด้านอุบัติการณ์หลังใช้แนวปฏิบัติการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบเกรด 1 จำนวน 2 คน เกรด 2 จำนวน 1 คน ไม่พบอุบัติการณ์ระดับ 3 กับ 4 และด้านความพึงพอใจของพยาบาลร้อยละ 85.3 พบสาเหตุของปัญหาคือการใช้ ยาเสี่ยงสูง ทางทีมพัฒนาจึงเพิ่มเติมแนวปฏิบัติให้ใช้ยาอย่างเคร่งครัดถ้าให้ยา ครั้งเดียวให้ หยุดเส้นไม่ต้อง On heparin lock หลังจากนำแนวปฏิบัติไปใช้ 3 เดือน ไม่พบอุบัติการณ์ซ้ำ</p> สุนทรา พลเจริญ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 499 508 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของกลุ่มผู้ดูแลวัยหนุ่ม พื้นที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283193 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ระดับความเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของผู้ดูแลวัยหนุ่มในพื้นที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยใช้รูปแบบการวิจัยภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ดูแลวัยหนุ่มอายุระหว่าง 13–29 ปี จำนวน 323 คน ซึ่งคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้แก่ แบบประเมินความเครียด (SPST-20; α = 0.865) และแบบสอบถามทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (α = 0.855)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลวัยหนุ่มส่วนใหญ่มีระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (64.09%) โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดมากที่สุดคือ ภาระด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ไม่พอใช้จ่าย (Mean = 2.89, SD = 1.19) ขณะที่ระดับทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี (50.15%) โดยส่วนใหญ่เห็นว่าการดูแลผู้สูงอายุเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู (Mean = 4.19, SD = 0.78) การวิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์และ Fisher’s exact test พบว่า สถานภาพการอยู่อาศัย การมีประวัติเจ็บป่วยที่สำคัญ และระดับทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05)</p> นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ ชนะพล ศรีฤาชา วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 509 515 การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283204 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำปัจจัยที่ค้นพบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเขตอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษซึ่งมีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้ความสามารถแห่งตน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรค และความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองไข่พยาธิใบไม้ตับในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ของประชาชนอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ42.6 ( R2=0.426, R2adj=0.420, SEest=1.853, F=71.538, p &lt; 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนำมาเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาพของอำภอซึ่งยังมีพื้นที่ที่ดำเนินการยากส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต้นแบบ 1 ตำบล ของอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวม 103 คนและประชาชนในตำบลกู่ จำนวน 90 คน โดยใช้กระบวนการของ Kemmis และMc taggart (1968) จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล เก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการวิจัย ระหว่าง พฤษภาคม 2567 – กุมภาพันธ์ 2568 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ วัดทัศนคติ บรรทัดฐานทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม การขับเคลื่อนการใช้เครื่องธรรมนูญสุขภาพตำบล การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ใช้และควบคุมกำกับธรรมนูญสุขภาพตำบล หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> สุริยนต์ หล้าคำ สุคนธ์ทิพย์ อรุณกมลพัฒน์ ธวัชชัย เติมใจ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 516 530 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการสร้างสุข 5 มิติ แบบมีส่วนร่วม คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลเขาวง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283205 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการสร้างสุข 5 มิติ แบบมีส่วนร่วม คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลเขาวง กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลเขาวง ที่ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าโดย 2Q ได้ผลการประเมินตั้งแต่ 1 คะแนนขึ้นไป แต่ประเมิน 9Q &lt;7 คะแนน จำนวน 30 คน การดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินการรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบวัดการเห็นคุณค่าในตัวเองของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะซึมเศร้า แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก และ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนารูปแบบฯ โดยใช้สถิติิ Paired t-test สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า หลังรับบริการในรูปแบบใหม่ พบว่า ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า การรับรู้ความรุนแรงของโรค การเห็นคุณค่าในตัวเอง การสนับสนุนทางสังคม การมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> คมกฤษ วิเศษ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 531 543 ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283207 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม ศึกษาในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ และนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (Paramedic) จำนวน 22 คน โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม ทำการศึกษาในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2567 เปรียบเทียบก่อนและหลังชนิดแบบ 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ และนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป,แบบประเมินความรู้,แบบประเมินความพึงพอใจ,แบบประเมินทักษะและแบบประเมินความถูกต้องเกี่ยวกับการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage (สำหรับผู้ประเมิน/ผู้วิจัย) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป,ความรู้, ค่าคะแนนทักษะและความถูกต้องในการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage รวมทั้งความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และเปรียบเทียบค่าคะแนนความรู้,ทักษะและความถูกต้องในการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) โดยใช้สถิติ Chi-square test</p> <p> ผลการศึกษา<strong> :</strong> 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ทักษะและความถูกต้องเกี่ยวกับการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจในการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบ MOPH Triage ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ปริศนา ท้าวฤทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 544 553 รูปแบบการพัฒนาคุณภาพกิจการสปา ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 จังหวัดพังงา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283208 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทสปา จังหวัดพังงา โดยกำหนดขั้นตอนการศึกษาเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและส่วนขาด 2) การออกแบบและพัฒนาคุณภาพ 3) การนำรูปแบบการพัฒนาไปทดลองใช้จริง 4) การประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินมาตรฐานสถาน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean : ¯X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และสถิติค่าที (paired t-test)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่ามีผลการประเมินในระดับที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามรูปแบบการได้ในระดับดีเยี่ยมร้อยละ 100 ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการให้บริการ โดยใช้สถิติค่าที (paired t-test) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.84, p-value &lt; .001) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทสปา สามารถยกระดับการผ่านมาตรฐานเป็นระดับดีเยี่ยม ผู้รับบริการแพทย์แผนไทยมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก และประสิทธิผลของรูปแบบที่นำไปใช้พัฒนาอยู่ในระดับเหมาะสมต่อการนำไปใช้พัฒนา ผลการศึกษาครั้งนี้ ควรกำหนดให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทสปา นำรูปแบบการพัฒนาในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดพังงา ไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง</p> วรชัย ใจเย็น Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 554 562 ผลของโปรแกรมการเยี่ยมก่อนผ่าตัดช่องท้องของพยาบาลห้องผ่าตัด ต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283209 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมก่อนผ่าตัดช่องท้องของพยาบาลห้องผ่าตัด ต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดช่องท้อง จำนวน 62 คน และสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วย จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 31 คน กลุ่มควบคุมได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัดตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเยี่ยมก่อนผ่าตัด ดำเนินการระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 14 มีนาคม 2568 เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและครอบครัว แบบวัดความวิตกกังวล และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรม เครื่องมือในการทดลองคือ โปรแกรมการเยี่ยมก่อนผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มใช้ Independent t-test สถิติเปรียบเทียบภายในกลุ่มใช้ Paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวกลุ่มทดลองหลังดำเนินโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=5.984, p&lt;0.001 และ t=4.773, p&lt;0.001) และคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวกลุ่มทดลองหลังดำเนินโปรแกรมต่ำกว่าก่อนดำเนินโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=5.724, p&lt;0.001 และ t=5.347, p&lt;0.001) ด้านความพึงพอใจพบว่าผู้ป่วยและครอบครัวกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมการเยี่ยมก่อนผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=-16.658, p&lt;0.001 และ t=-9.263, p&lt;0.001)</p> ทรงศรี สาริบุตร อัญชะนา สงโพธิ์กลาง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 563 575 ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283210 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนทดลองและหลังการทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดมากกว่าร้อยละ 7 จำนวน 60 ราย ที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสันกำแพง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 รายกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและแบบประเมินระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Pair T- Test and independent t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้านการรับประทานอาหารและรับประทานยาดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value&lt;.05) และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของกลุ่มทดลองมีระดับน้อยกว่าก่อนการทดลองและน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value&lt;.05)</p> ดวงเดือน สิทธิพานิช Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 576 583 ผลการนิเทศทางคลินิกต่อความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282842 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการนิเทศทางคลินิกต่อความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ในโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง หอผู้ป่วยอายุกรรมสาม และหอผู้ป่วยศัลยกรรม จำนวน 64 คน โดยใช้แนวคิดการนิเทศทางคลินิกของพรอคเตอร์ประกอบด้วยการนิเทศตามแบบแผน การนิเทศตามมาตรฐาน การนิเทศตามหลักสมานฉันท์ กิจกรรมการใช้แนวทางการนิเทศทางคลินิก ประกอบด้วย การประชุมหัวหน้าหน่วยงานในการใช้แนวทางการนิเทศกลุ่มตัวอย่าง การให้ความรู้ การสอนแนะ การให้คำปรึกษา และการประชุมปรึกษาทางการพยาบาล ใช้เวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวทางการนิเทศทางคลินิก 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด 3) แบบประเมินทักษะการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการนิเทศทางคลินิก 5) แบบรวบรวมผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired sample t-test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าหลังการใช้แนวทางการนิเทศทางคลินิก 1) คะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางนิเทศทางคลินิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) 2) ทักษะการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางการนิเทศทางคลินิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) 3) คะแนนความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้แนวทางการนิเทศทางคลินิกในระดับมาก เฉลี่ย 4.29 คะแนน (SD 0.60) 4) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยหลังการใช้แนวทางการนิเทศทางคลินิกพบว่า ผู้ป่วยได้รับการดักจับและรายงานแพทย์เมื่อมี Early Warning Sign : EWS เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 83.33 ผู้ป่วยที่มีภาวะ septic shock ลดลงจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 6.67 ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 13.33 เหลือร้อยละ 6.67</p> ภัทรวดี สุวรรณรัตน์ สิริพร นาโถ เรณู อินทร์ตา Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 584 593 ผลของการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อสมรรถนะภาวะผู้นำในบทบาทพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กแห่งหนึ่ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282807 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะในบทบาทพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยและเปรียบเทียบสมรรถนะภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย และรองหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลอรัญประเทศ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำตามแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของอโวไลโอ แบส และจัง ดำเนินการในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การวิเคราะห์กรณีศึกษา และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแบบวัดสมรรถนะภาวะผู้นำตามแนวคิดของเบนนิส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบWilcoxon Signed Ranks Test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนความรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.697, p = 0.007) โดยเฉพาะด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญา (Z = -3.076, p = 0.002) สำหรับสมรรถนะภาวะผู้นำโดยรวมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -1.777, p = 0.076) แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านแรงขับเคลื่อนความมุ่งมั่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.939, p = 0.003) ขณะที่ด้านการสร้างความไว้วางใจ/การเพิ่มความสามารถให้ผู้อื่น (Z = -4.336, p &lt; 0.001) และด้านความคิดรวบยอด (Z = -2.000, p = 0.046) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ขนิษฐา ประดุจพรม ปรารถนา วันดี รำไพ หาญมนต์ พรพิมล อ่ำพิจิตร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 594 602 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อประสิทธิภาพการทำงานของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รักษาในโรงพยาบาลงาว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282797 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ One Group Pretest-Posttest Design เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อประสิทธิภาพการทำงานของไต และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 ที่รักษาในโรงพยาบาลงาว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 32 คน ที่เข้ารับการรักษา ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย การติดตามตนเอง การประเมินตนเอง และการให้แรงเสริมตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าคู่ (Paired t-test)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรม การจัดการตนเอง ค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) จากค่าเฉลี่ย 37.60 เป็น 43.27 และพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; 0.001) โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การลดการบริโภคโซเดียม ฟอสฟอรัส และน้ำตาล สรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองมีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไต และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3</p> ปาริชาติ ปิยวรกุล Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 603 610 ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโดยใช้ IDEAL Model ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282794 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและทักษะการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายก่อนและหลังได้รับโปรแกรม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ จำนวน 15 ราย ณ โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการจำหน่ายตามแนวคิด IDEAL Model แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และแบบประเมินทักษะการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม 1 วัน หลัง 1 สัปดาห์ และหลัง 2 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p &lt; .05 (p = .023, .000 และ .000 ตามลำดับ) สำหรับทักษะการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะก่อนและหลังการใช้โปรแกรม 1 วัน หลัง 1 สัปดาห์ และหลัง 2 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p &lt; .05 (p = .017, .003 และ .002 ตามลำดับ)</p> พนิดา วิชา Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 611 619 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมฟอสฟอรัสและระดับฟอสฟอรัสในเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลอินทร์บุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283237 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการควบคุมฟอสฟอรัส ระดับฟอสฟอรัสในเลือดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมฟอสฟอรัสของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียมของโรงพยาบาลอินทร์บุรี เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2567 จำนวน 31 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) โปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมฟอสฟอรัส 2) แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมฟอสฟอรัส 3) แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองใช้ paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมฟอสฟอรัสของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) 2) ค่าเฉลี่ยระดับฟอสฟอรัสในเลือดหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมฟอสฟอรัสของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> หทัยรัตน์ จีนเท่ห์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 620 629 การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงใน อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์: การวิจัยและพัฒนา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283238 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ระบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการงานคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการคัดกรองที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยและพัฒนาที่นำแนวคิดการวิจัยและพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุมชนมาเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน อายุ 50-70 ปี จำนวน 297 คน และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล กรณีการวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน สถิติอ้างอิง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า อัตราการคัดกรองด้วย FIT TEST เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.6 เป็นร้อยละ 72.5 อัตราการเข้ารับการส่องกล้องในกลุ่มที่มีผล FIT TEST เป็นบวกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.2 เป็นร้อยละ 88.7 และสัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.3 เป็นร้อยละ 83.2 องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ รูปแบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่มีประสิทธิผล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันเพื่อเพิ่มอัตราการคัดกรองและการวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มแรก</p> ชนิศา เสนคราม Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 630 637 ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283240 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม ไม่มีภาวะสมองเสื่อม สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ในระดับปกติ และยินดีเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 150 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายกลุ่มละ 50 คน โดยกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มได้รับโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย เป็นเวลา 20 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินสมรรถนะทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent samples t-test และเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ และ 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง 2กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม การทรงตัว และสมรรถนะทางกายสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวในการหกล้มต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> สุมาลี ช่างกล Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 638 646 การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีถิ่นอาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283241 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีถิ่นอาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเอง 2) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีถิ่นอาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะ 1 การศึกษาตามหลักการ PAOR 4 ขั้นตอน ตามทฤษฎีของ Kermis &amp; McTaggart (1988) กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) Chi-square test, Fisher’s exact test, Independent t-test, paired simple t-test และ F-test ด้วยเทคนิค One way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่โดย Scheffe</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา พบว่า</p> <ol> <li class="show">หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001)</li> <li class="show">หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001)</li> <li class="show">หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีผลการตรวจเสมหหะพบเชื้อวัณโรค ร้อยละ 2.0 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติของผลการตรวจเสมหหะ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า การได้รับรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองที่พัฒนา ทำให้เกิดผลการตรวจเสมหะพบเชื้อวัณโรคได้น้อยกว่าการได้รับรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.031)</li> <li class="show">ความพึงพอใจต่อรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พัฒนา พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ร้อยละ 82.0</li> <li class="show">การขยายผล การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีถิ่นอาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยที่หลังดำเนินการความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่าก่อนการดำเนินการ ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังการดำเนินงาน ระหว่างอำเภอ พบว่า ไม่แตกต่างกัน หลังการดำเนินงาน สามารถดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีถิ่นอาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดกาญจนบุรีได้ ร้อยละ 100.0</li> </ol> รังสิมันตุ์ ทองสวัสดิ์ ลักษมีกานต์ สิริกาญจนชัยกุล Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 647 660 ปัจจัยการเกิดภาวะไตวายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283243 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเกิดภาวะไตวายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยในและนอกโรงพยาบาลท่าหลวงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 3 ธันวาคม 2567 จำนวน 344 คน วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยเดียว และปัจจัยร่วม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา: จากจำนวนผู้ป่วย 344 คน เป็นเพศหญิงส่วนใหญ่จำนวน 263 ราย (76.45%) มีอายุเฉลี่ย 65.38 ± 11.89 ปี ระยะเวลาการเป็นเบาหวานเฉลี่ย 8.71± 4.92 ปี มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย (BMI) 26.74 ± 5.71 kg/m<sup>2</sup> มีโรคร่วมส่วนใหญ่จากความดันโลหิตสูงจำนวน 164 ราย (47.67%) รองลงมาไขมันในเลือดสูงจำนวน 98 ราย (28.48%) มีภาวะไตวายระยะที่ 1 64 ราย (18.60%) ระยะที่ 2 124 ราย (36.04%) ระยะที่ 3 132 ราย (38.37%) ระยะที่ 4 จำนวน 6 ราย (1.74%) ระยะที่ 5 จำนวน 18 ราย (5.23%) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไตวายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า อายุ &gt;60 ปี, ค่าดัชนีมวลกาย, ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน และ ระดับ HbA1C เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไตวายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> โกลัญญา ต่างวิวัฒน์ วรากร คำน้อย Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 661 668 ความชุก และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อายุน้อย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283251 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อายุน้อย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ระดับ 1 ขึ้นไปที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านหมี่ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2567 จำนวน 180 คน เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ โลจิสติกในการวิเคราะห์ปัจจัยเดี่ยว และปัจจัยร่วม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา: ความชุกการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อายุน้อย พบร้อยละ 18.89 อายุเฉลี่ยในผู้ป่วยเพศชาย 39.42±3.87 ปี ส่วนผู้ป่วยเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 39.14±3.21 ปี กลุ่มปกติกับกลุ่มเป็นโรคหลอดเลือดสมองมีความแตกต่างกันด้าน อาชีพ โรคประจำตัว และระดับ BMI เมื่อเปรียบความชุกกับต่างประเทศและในประเทศน้อยกว่าการศึกษาในต่างประเทศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อายุน้อย พบว่า เพศชาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคเบาหวาน ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05)</p> วศินันท์ พลพืชน์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 669 674 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282952 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive Cross-section Study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่ระบาด อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงเวลาหนึ่ง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งปฏิบัติงานในตำบลที่มีอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก พ.ศ.2566 สูงเกินค่ามัธยฐาน 5 ปี (2561-2565) ของอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดเก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 โดยใช้แบบสอบถามการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 6 ส่วน ส่วนที่สะท้อนถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ปัจจัยการรับรู้และความคาดหวัง ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ และส่วนที่สะท้อนด้านพฤติกรรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสมัครสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 9.96 จาก 15 คะแนน) มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคและโอกาสเสี่ยงในระดับสูง รวมถึงมีความคาดหวังในประสิทธิภาพและความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรคในระดับสูง ส่วนปัจจัยด้านทรัพยากรมีความเพียงพอในระดับสูง (45.00%) แต่การใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (43.93%) ด้านการปฏิบัติตามบทบาท พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (60.29%) โดยกิจกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่วนการจัดทำข้อมูลข่าวสารเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยการรับรู้และความคาดหวัง (r = 0.44) และปัจจัยด้านทรัพยากร (r = 0.11) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรค ในขณะที่ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม (r = -0.47) มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) ส่วนระดับรายได้และระยะเวลาเป็นอาสาสมัครไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมได้ 59% (R² = 0.59) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ การรับรู้และความคาดหวัง (Beta = 0.44) รองลงมาคือ ทรัพยากร (Beta = 0.11) และ แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = -0.47)</p> กวีวัฒน์ โพธิ์ศรีทอง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 675 680 ผลของโปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ต่อคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/282949 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองขั้นต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ต่อคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรและโรงพยาบาลสรรคบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ (JNE Report: Jainad Narendra hospital Endoscopic Report) คู่มือการใช้โปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการใช้โปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ แบบสอบถามคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้โปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสอบถามพึงพอใจในการใช้โปรแกรม โดยเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยการคำนวณ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 , 0.92 และ 0.97 โดยแบบสอบถามในภาพรวม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.943 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยของการบันทึกทางพยาบาลต่อผู้รับบริการ 1 ราย ด้วยโปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ (JNE Report: Jainad Narendra hospital Endoscopic Report) ใช้เวลาบันทึกน้อยกว่าการเขียนบันทึกด้วยรูปแบบ Paper base อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <em>(</em><em>p &lt; .05)</em> โดยการบันทึกด้วยโปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ (JNE Report: Jainad Narendra hospital Endoscopic Report) ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.65 นาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 และการบันทึกด้วยรูปแบบ Paper base ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 12.37 นาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.29 นอกจากนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้โปรแกรมบันทึกรายงานผลการส่องกล้องในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45</p> <p> </p> เฉลิมวัฒน์ เสือลอย ยุทธนา นุ่นละออง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 681 691 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคุมกำเนิดของสตรีไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ในเขตพื้นที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283252 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการคุมกำเนิดและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคุมกำเนิดของสตรีไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงในเขตพื้นที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เก็บรวมรวมข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างสตรีไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15-49 ปี จำนวน 416 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอัตราการคุมกำเนิดร้อยละ 86.54 คะแนนความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดเฉลี่ยคือ 8.77 คะแนน อุปสรรคในการเข้ารับบริการคุมกำเนิดมากที่สุดคือไม่มีความรู้เรื่องวิธีการคุมกำเนิดชนิดต่างๆ รองลงมาคือวิตกกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากการคุมกำเนิด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่ใช้การคุมกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป (OR<sub>adj </sub>8.38, 95%CI: 1.44-48.78) ไม่ประกอบอาชีพ (OR<sub>adj </sub>2.72, 95%CI: 1.26-5.87) สถานะหย่าร้าง (OR<sub>adj</sub> 22.36, 95%CI: 2.77-180.27) และการมีบุตรที่มีชีวิต 2 คน (OR<sub>adj </sub>0.35, 95%CI: 0.15-0.83)</p> พิทยา หล้าวงค์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 692 699 การส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องชนิดที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุจากห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283256 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องชนิดที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุที่ได้รับการตรวจส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม ศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องชนิดที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุจากห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช 1 มกราคม 2562- 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 382 คน เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง ข้อมูลการวินิจฉัย วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา โลจิสติก</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย: จากจำนวนผู้ป่วย 382 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 61.78% อายุเฉลี่ย 48.94 ปี ข้อบ่งชี้ของการส่งตรวจมากที่สุด คือ เพื่อการวินิจฉัย 68.06% ยืนยันการวินิจฉัยเดิม 24.61% อาการและอาการแสดงที่มากสูงสุด คือ ปวดท้องร่วมกับมีไข้ 27.23% รองลงมา ปวดท้องร่วมกับมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน 13.61การวินิจฉัยครั้งแรกมากที่สุด คือ Acute appendicitis 28.27% รองลงมา Cholecystitis, cholelithiasis or biliary tract disease 12.57% ผลการตรวจมีความถูกต้องมากกว่า 80% ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม พบว่า อายุ &gt; 60 ปี รับส่งตัวมารักษา (refer in) ใส่ท่อช่วยหายใจ มีความสัมพันธ์กับการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> ลลิดา วุฒิพลากร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 700 706 ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283257 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 53 คน รวม 106 คน กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนตำบลป่าโมง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคไข้เลือดออก แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สังคม สุวรรณกูฏ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 707 715 ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283270 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 55 คน รวม 110 คน กลุ่มทดลอง คือ ผู้สูงอายุตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ผู้สูงอายุตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ถึง วันที่ 31 มกราคม 2568 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิต และพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ปริชาติ แสนชาติ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 716 724 รูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283271 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเข้าใจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน และศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน มกราคม ถึง เดือน มีนาคม 2568 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน จำนวน 81 คน&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูล โดย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ</p> <p>Dependent t – test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และความเข้าใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน ตามดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) หลังดำเนินการ รายข้อและโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเข้าใจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์และความเข้าใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับกิจวัตรประจําวัน ตามดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยที่หลังดำเนินการความเข้าใจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์และความเข้าใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับกิจวัตรประจําวัน ตามดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ดีกว่าก่อนการดำเนินการ</p> พรทิพย์ ภูสง่า Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 725 736 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวฉับพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283278 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวฉับพลัน จำนวน 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาล โดยใช้นำแบบแผนของกอร์ดอน มาประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ในการดูแลผู้ป่วยและมีการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลเป็น 3 ระยะ ดังนี้ การพยาบาลระยะวิกฤต การพยาบาลระยะฟื้นฟู และการพยาบาลระยะจำหน่าย โดยกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลลัพธ์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา: จากการศึกษากรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย พบว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ชักประวัติ ประเมินอาการ การเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย การจัดกิจกรรมพยาบาลเพื่อให้ตรงกับความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละราย ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีสมรรถนะ ตั้งแต่การประเมิน การคาดการณ์โอกาสเสี่ยง การประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ การให้ข้อมูล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ครอบคลุมมีประสิทธิภาพทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยลดอัตราการเสียชีวิตผู้รับบริการพึงพอใจ บุคลากรมีความปลอดภัย</p> ชุติมา ไชยศิริ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 737 745 การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283280 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนน ก่อนและหลังการพัฒนา ในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 20 คน ประชาชน จำนวน 245 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนธันวาคม 2567 – เมษายน 2568 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.67 – 1 และนำมาวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้สูตรของครูเตอร์และริชาร์ดสัน ในการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้เกี่ยวกับการจราจร ได้เท่ากับ 0.83 และทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค ในการคำนวณหาค่าเชื่อมั่นข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงาน ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ และความพึงพอใจได้เท่ากับ 0.94, 0.96 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ประกอบด้วย 5 มาตรการ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนน สภาพแวดล้อม และด้านยานพาหนะ 3) ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย 4) ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ และ 5) การสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย 2. ผลการพัฒนาคุณภาพกระบวนการ การดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.70, S.D. = 0.46) ประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการจราจร อยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 15.68, S.D. = 3.18) มีพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.55, S.D. = 0.56) และ 3. ผลลัพธ์การดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจคุณภาพการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.23, S.D. = 0.53)</p> สานิตย์ เหง้าพรหมมินทร์ พรพิมล มัฆนาโส ธัชธรรม์ มัฆนาโส Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 746 755 การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานผู้สูงอายุ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283282 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการดำเนินงานผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการพัฒนา ในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรผู้ให้บริการ จำนวน 27 คน กลุ่มเครือข่ายท้องถิ่น จำนวน 224 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 243 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.67 – 1 และนำมาวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือโดยทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.91, 0.87 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1.กระบวนการการดำเนินงานผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 มาตรการ ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ 2) การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ 3) การพัฒนากระบวนการดำเนินงานผู้สูงอายุ 4) การบริการเยี่ยมบ้านเชิงรุกในชุมชน และ 5) การสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายท้องถิ่น 2. ผลการพัฒนาคุณภาพกระบวนการ การดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.45, S.D. = 0.46) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.19, S.D. = 0.59) ผู้สูงอายุมีระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่ในระดับที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ มีสมรรถภาพความจำ อยู่ในระดับสูง และไม่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 3. ผลลัพธ์การดำเนินงานผู้สูงอายุตามเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 66.67) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจคุณภาพการดำเนินงานผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.12, S.D. = 0.67)</p> สานิตย์ เหง้าพรหมมินทร์ พรพิมล มัฆนาโส Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 756 764 แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283283 <p> การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรู้ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร, ความเชื่อด้านสุขภาพตามการรับรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลบนฉลากกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำนวน 392 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square Test ระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม 2567</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.4 ภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 59.9 อ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 19.3 ความรู้ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารระดับดี ร้อยละ 36.0 ความเชื่อด้านสุขภาพตามการรับรู้ ระดับปานกลาง ร้อยละ 71.2 ด้านความสัมพันธ์พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารลด หวาน มัน เค็ม เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน และ พบว่าความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.05) กลุ่มที่มีความเชื่อด้านสุขภาพในระดับดี มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีถึงร้อยละ 87.5</p> ทรัสลักษมณ์ ก่อเกียรติธัญกร จุฑานภ พุ้ยน้อย Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 765 770 การบูรณาการการใช้เสียงตามสายและบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283284 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบูรณาการเทคโนโลยีเสียงตามสายและบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตาย รวมถึงการใช้ QR Code คัดกรองสุขภาพจิต เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ที่ดำเนินการในตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน 357 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 30 คน เก็บข้อมูลผ่าน แบบสอบถามก่อนและหลังโครงการ (Pre-test และ Post-test), การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ t-test และ ANOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ Thematic Analysis</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาการรับรู้บทบาทของ อสม. เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 3.4 เป็น 4.47 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายของประชาชนเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยกลุ่ม อายุ 50 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด (p &lt; 0.001) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสุขภาพจิตดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปี (ค่าเฉลี่ยเพิ่มจาก 3.58 เป็น 4.35) พฤติกรรมเฝ้าระวังสุขภาพจิตของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี (2.47 เป็น 4.11) ประชาชนที่ฟังเสียงตามสายเป็นประจำมีระดับการรับรู้บทบาทของ อสม. และทัศนคติที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ฟังเป็นครั้งคราวQR Code คัดกรองสุขภาพจิตช่วยให้ประชาชนสามารถประเมินภาวะสุขภาพจิตของตนเองได้ โดยพบว่าร้อยละ 5.71 ของผู้ที่ทำแบบคัดกรองมีภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 1.90 มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</p> วาสนา ศาสตร์พงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 771 779 การพัฒนาสารควบคุมคุณภาพภายในของการทดสอบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ในเลือดด้วยชุดตรวจรวดเร็ว ในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283285 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหาแนวทางที่เหมาะสมในการเตรียมสารควบคุมคุณภาพที่สามารถผลิตและใช้งานได้เองเพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพภายในของการทดสอบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ในเลือดด้วยชุดตรวจรวดเร็ว พร้อมทั้งประเมินตัวอย่างควบคุมคุณภาพจากห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โดยทดสอบความเสถียรของสารควบคุมคุณภาพที่พัฒนาขึ้นที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส โดยมี 0.1% Sodium azide เป็นสารรักษาสภาพนั้น ได้ทำการทดสอบด้วยแถบทดสอบคุณภาพ ทั้งHBs Ag ,Anti-HCV(วิธีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ) จำนวน 2 ระดับเป็นเวลา 90 วัน วันละ 1 รอบ/สัปดาห์ และเก็บข้อมูลเพื่อทดสอบความเสถียรของสารควบคุมคุณภาพที่ 2-8 องศา เปรียบเทียบกับเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศา โดยที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ทำการทดสอบเฉพาะที่รพ.ชัยนาทนเรนทร วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาสารควบคุมคุณภาพภายใน โดยการใช้พลาสมาของเลือดผู้บริจาค ซึ่งตรวจยืนยันแล้วให้ผลลบหรือบวกแล้วเหลือจากการใช้งานรอกำจัดทำลายทิ้งในงานประจำนั้น มาทำให้เชื้อหมดฤทธิ์ (Inactivate) และใช้สารยับยั้งแบคทีเรีย (Preservative) เพื่อลดการปนเปื้อนจากนั้นส่งไปเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการในเครือข่ายจังหวัดชัยนาทรวม 10 แห่ง ทำการทดสอบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง&nbsp;&nbsp; ผลการทดสอบประสิทธิภาพตัวอย่างควบคุมคุณภาพที่พัฒนาขึ้นเทียบกับสารควบคุมคุณภาพที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ พบว่าไม่แตกต่างกันและมีความคงตัวที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์ แสดงว่าตัวอย่างควบคุมคุณภาพที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างควบคุมคุณภาพสำหรับการตรวจ HBs Ag และ Anti-HCV ในเลือดด้วยชุดตรวจแบบรวดเร็วได้ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้แก่รพ.อื่นๆในการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานคุณภาพ และเป็นการสนับสนุนเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ให้สำเร็จอีกด้วย</p> ภูมิจิตร นิลสุวรรณวงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 780 792 รูปแบบการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดมหาสารคาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283286 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาวิจัย เดือน พฤศจิกายน 2566–ธันวาคม 2567 ผู้ร่วมวิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง คณะกรรมการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบงานพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม&nbsp;&nbsp; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตัวแทนสถานศึกษา ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมจำนวน 85 คน วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1. การผลักดันเชิงนโยบาย (Policy) โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ(KPIs) ระดับอำเภอ 2. บูรณาการการทำงานผ่านกลไกการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)&nbsp;&nbsp; 3. การสร้างทีมพื้นที่เพื่อนำมาตรการต่างๆสู่การปฏิบัติการ 4. การจัดทำแผนปฏิบัติการและนำสู่การปฏิบัติในแต่ละพื้นที่&nbsp;&nbsp; 5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6. นิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุกไตรมาส และจากการประเมินผลการปฏิบัติราชการ(KPIs) ระดับอำเภอ ปีละ 2 ครั้ง จากการดำเนินงานส่งผลให้ เกิดการกำหนดเป้าหมายและมาตรการร่วมกัน เกิดแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาโดยภาคีเครือข่าย มีระบบการการรักษา ส่งต่อ การติดตามนิเทศกำกับที่ชัดเจน ส่งผลให้ อัตราความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดมหาสารคาม ลดลงจากปี 2566 จากความชุกร้อยละ 5.90 เหลือ 1.90</p> เกษศิรินทร์ ไชยลาภ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 793 804 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านที่เหมาะสมกับ บริบทสังคมวัฒนธรรมชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอำนาจเจริญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283288 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านที่เหมาะสมกับบริบทสังคมวัฒนธรรมชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข ในการทำ Focus group จำนวน 11 คน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 8 คน ญาติผู้ดูแล จำนวน 47 คน ในการศึกษาเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามปลายเปิด Focus group เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL), แบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย (PPS), แบบประเมินความรุนแรงของความปวด (ESASr) แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต(2Q9Q) และแบบประเมินความรู้ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ Paired t test</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 8 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 37.50 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 50.00 การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 6 รูปแบบสำคัญ ดังนี้ 1) พัฒนาระบบการประเมินผู้ป่วย 2) พัฒนาระบบการทบทวนซ้ำ 3) พัฒนาการฝึกอบรมให้ความรู้ฝึกทักษะผู้ดูแล 4) สร้างการประเมินผลในบรรยากาศที่เป็นบ้านตนเองที่สงบคุ้นเคย 5) พัฒนาระบบการประสานงานกับสหวิชาชีพและทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง 6) ส่งเสริมการมีและใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในองค์กรและชุมชนให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน การทดสอบความแตกต่างทางสถิติภายหลังการพัฒนา พบว่า ความรู้ ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (PPS) ความทุกข์ทรมานจากอาการ (ESASr) การดูแลแบบประคับประคอง (PCOS) มีค่าเฉลี่ยดีขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p &lt;.05</p> ขนิษฐา คงทนศิวะกุล นิตยา บัวสาย ชลิตดา ขันแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 805 815 การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลโดยใช้บัตรภาพและบัตรคำเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา ในเด็ก 0-5 ปีพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283290 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมและประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของบัตรภาพและบัตรคำเพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาในเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากการคัดกรองเด็ก จำนวน 50 คน พบเด็กสงสัยล่าช้าและล่าช้าจำนวน 30 คน ประกอบด้วย (1) เด็ก 0-5 ปี ที่มารับบริการคลินิกรักษ์เด็ก จำนวน 13 คน คลินิกเด็กดี&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จำนวน 10 คน และจากการลงประเมินพัฒนาการในชุมชนนำร่อง จังหวัดปัตตานีจำนวน 7 คน รวมทั้งหมด จำนวน 30 คน (2) ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน การดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนกันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ (1) เครื่องมือที่ใช้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการทดลอง ได้แก่ นวัตกรรมบัตรภาพและบัตรคำ โดยผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นจากคู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) และคู่มือการฝึกพูดเบื้องต้น โดยให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการกระตุ้นพัฒนาการ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือประเมิน DSPM,TEDA4I แบบประเมินประสิทธิภาพ ของนวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยการรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่านวัตกรรมบัตรภาพและบัตรคำมีความสะดวกต่อการใช้งานมีเนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย การเลือกใช้วัสดุมีความปลอดภัย มีความน่าสนใจกระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ เหมาะกับวิถีชีวิต บริบทศาสนาอิสลามและมีประโยชน์ในการใช้งาน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับดีมาก เด็กมีพัฒนาการ&nbsp;&nbsp; ทางภาษาที่ดีขึ้นหรือสมวัยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 80</p> ฮาลาวาตี สนิหวี อังคณา วังทอง Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 816 824 ผลของโปรแกรมให้ความรู้และเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยนิ่วในไต โรงพยาบาลสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283292 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาศึกษาผลของโปรแกรมให้ความรู้และเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยนิ่วในไต โรงพยาบาลสกลนครกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยนิ่วในไต ที่มารับบริกาห้องตรวจศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ตึกอุบัติเหตุและผู้ป่วยนอก ชั้น3 โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน&nbsp;&nbsp; เครื่องมือวิจัยมี 2 ส่วน เครื่องมือโปรแกรม และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับนิ่วในไต 3) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติบรรยาย ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ paired t-test ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน 12 พฤศจิกายน 2567 – 30 มกราคม 2568</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็น เพศของกลุ่มทดลองส่วนใหญ่เพศชาย ร้อยละ 53.1 (17 คน) ส่วนระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.0 (16 คน ) และกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคนิ่วในไตหลังให้โปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .001 และสมรรถนะหลังให้โปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .001</p> อุดมพร สินธุโคตร อรอุมา แก้วเกิด ณทุดา อุปวรรณดี Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 825 831 ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการหอบกำเริบในผู้ป่วย COPD ระยะ Gold D โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283328 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการหอบกำเริบในผู้ป่วย COPD ระยะ Gold D โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการหอบกำเริบในผู้ป่วย COPD ระยะ Gold D โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่แพทย์ให้การวินิจฉัยโรค COPD โดยให้รหัส ICD-10 J440-J449 เป็นโรคหลัก ในเวชระเบียน ที่ขึ้นทะเบียนที่โรงพยาบาลบางปะกง และอยู่ในระยะ Goad D ที่เข้ารับการรักษา ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ที่มารับบริการที่คลินิกพิเศษ โรงบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการอาการหอบกำเริบในผู้ป่วย COPD ระยะ Gold D ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจของกิบสัน (empowerment) และแนวคิดความตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรุนแรงและการควบคุมโรค ตามแบบประเมิน Appendix 1 มีทั้งหมด 7 ข้อ และ Appendix 2 มีทั้งหมด 8 ข้อ แบบสอบถามประเมินและวิเคราะห์ความวิตกกังวล มีทั้งหมด 7 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการหอบกำเริบในผู้ป่วย COPD ระยะGold D โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิด Acute Exacerbation ลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;0.05 2) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการหอบกำเริบในผู้ป่วย COPD ระยะ Gold D โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการและความรุนแรงของโรค ลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;0.05 3) ตัวชี้วัดผู้ป่วย COPD ปี 2565 ผ่านเกณฑ์ทุกตัว พบว่า 1) อัตรา COPD Revisit ใน 48 ชม. ลดลง ปี 2564 จาก ร้อยละ 3.50 ปี2565 เหลือ ร้อยละ 0.75 2) อัตรา COPD Readmit ใน 28 วัน ลดลง ปี 264 จากร้อยละ 17.16 ปี 2566 เหลือ ร้อยละ 4.77</p> อิงอร ลิ้มวัฒนาถาวรกุล ประทีป อัจฉรานิวัฒน์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 832 839 การพัฒนารูปแบบการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดระนอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283340 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดระนอง ในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่ศึกษา 3 อำเภอ 12 ตำบล จังหวัดระนอง เก็บข้อมูลจากแบบประมินและแบบบันทึก วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่และร้อยละ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเห็นว่าการสร้างเวทีการเรียนรู้เพื่อนำกลไกทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มองค์กร ทุนและความรู้มาก่อรูปให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สานกลไกทั้ง 3 ให้เกิดการระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์ประเด็นการควบคุมและการจัดการไข้มาลาเรียในพื้นที่ เป็นการสร้างความรู้และความตระหนักในการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการปัญหาโรคหรือภัยสุขภาพในพื้นที่เป็นการรวมพลังภาคีเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาในรูปแบบหรือแนวทางหรือการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียเป็นเรื่องที่ดีที่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถจัดการปัญหาสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและยั่งยืน&nbsp;&nbsp; สิ่งที่ชุมชน ได้รับประโยชน์จากการพัฒนานี้คือความรู้และความตระหนักในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคไข้มาลาเรียในชุมชนส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียลดลงอย่างชัดเจนจากอัตราการตรวจพบเชื้อที่มากกว่าร้อยละ 1.00เหลือต่ำกว่าร้อยละ 0.3 ในพื้นที่ศึกษาทั้ง 3 แห่ง</p> สุธน คุ้มเพชร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 840 850 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ของจังหวัดระนอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283342 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคในกลุ่มแรงงานต่างด้าวของจังหวัดระนอง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานการควบคุมวัณโรคระดับต่างๆ ที่ได้ มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จำนวน และร้อยละ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการพัฒนารูปแบบการควบคุมเพื่อการจัดการปัญหาวัณโรคในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจังหวัดระนองโดยบูรณาการงานกับภาคีเครือ ข่ายในพื้นที่เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและการใช้หลักการดําเนินงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มตามแนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาออกแบบกระบวนสร้างเวทีประกอบการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่ออัตราการการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น ลดอัตราการขาดยา อัตราการเสียชีวิตระหว่างการรักษาและผุ้ป่วยที่โอนออกไม่ทราบผลการรักษาได้รับการติดตามและแจ้งผลการรักษากลับมามากขึ้นและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่</p> สุธน คุ้มเพชร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 851 858 การพัฒนารูปแบบทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายด้วยท่ามณีเวชเพื่อลดความเสี่ยงการหกล้มในผู้สูงอายุ คลินิกฝังเข็มโรงพยาบาลอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283343 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบทางการพยาบาลในส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายด้วยท่ามณีเวชในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน มีนาคม 2567 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 ทดลองใช้รูปแบบ 12 สัปดาห์ โดยจัดกิจกรรมทุก 2 สัปดาห์ ครั้งละ 60 นาที ที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกฝังเข็ม โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)ตามเกณฑ์ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดย ความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายท่ามณีเวช ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม พฤติกรรมการจัดการตนเองในการป้องกันการหกล้มการทดสอบกำลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (30 second chair stand) สมดุลการทรงตัวขณะยืนนิ่ง (4 stage balance) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก31.72±5.63 เป็น 38.78±.94 หลังการใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) คะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วย(FES-I) ค่าการทรงตัวและความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว (Timed Up and Go) มีค่าลดลง หลังการใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) พยาบาลมีความพึงพอใจในระดับมากในทุกประเด็น (ค่าเฉลี่ย = 4.27-4.47, SD ± 0.594-0.640) โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ความครอบคลุมและเหมาะสมของการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์ของรูปแบบในการส่งเสริมการออกกำลังกายท่ามณีเวชในผู้สูงอายุ (ค่าเฉลี่ย = 4.47)</p> รัชนี เจริญเพ็ง ศิวัชญา จิตตะยโศธร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 859 869 การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสนวน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283192 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสนวน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตามแนวคิดของ Kemmis และMcTaggart คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมี 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างในการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คนและ (2) ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง ทดลองใช้รูปแบบจำนวน 55 คน เข้าร่วมกระบวนการวิจัยที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสนวน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2567 – มีนาคม 2568 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูลสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง โดยมี 5 กิจกรรม คือ 1) การเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน ด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรับมือปัญหาผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง 3) มีเพื่อนร่วมวัยเป็นผู้ดูแลแบบไม่เป็นทางการ 4) การสนับสนุนและช่วยเหลือจากองค์การต่างๆ และ 5) ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองตามวิธีการจัดการชีวิตและภาวะพึ่งพิงเป็นรายกรณี ในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านสุขภาพกาย และ ด้านสุขภาพจิต อย่างต่อเนื่อง หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ และ การปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยผลต่างเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามีผลต่างค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05)</p> สุทร สุขรอบ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 870 880 ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาผ่านแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283344 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง (two-group pre-test post-test design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาผ่านแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาของเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่มีอายุ 1 เดือน ถึง 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะมารดาผ่านแอปพลิเคชันและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสอนแนะมารดา ผ่านแอปพลิเคชัน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองมารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลบุตรป่วยโรคปอดอักเสบสูงกว่ากลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001, p-value &lt;0.001 ตามลำดับ)</p> ชรินทร ผ่องกมลกุล สุวรัตน์ ธีระสุต ชุลินดา ทิพย์เกษร Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 881 890 ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และความวิตกกังวลของมารดาในการดูแลทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลชลบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283345 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (Pre-Experiment Research) เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน - หลัง (One group Pre - Posttest design) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความวิตกกังวล และความพึงพอใจของมารดาในการดูแลทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 35 ราย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยผู้วิจัยเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา (Inclusion criteria) ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .774 , 0.837และ 0.901 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของมารดาในการดูแลทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หลังเข้าโปรแกรมวางแผนจำหน่ายเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของมารดาในการดูแลทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หลังเข้าโปรแกรมวางแผนจำหน่ายลดลงเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการบริการของมารดาที่มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ระดับมาก 2 ลำดับแรก คือ ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปดูแลทารกต่อเนื่องที่บ้านได้ เท่ากับ 4.77 และเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ การตอบคำถาม เท่ากับ 4.74</p> ดวงแก้ว ไตรแดง ปิยะนุช จันทร์คูณ พนิตนาฏ รัศมีธรรมกุล Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 891 899 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากกากยาสมุนไพรและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283155 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของกากสมุนไพรและเศษวัสดุทางการเกษตรในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์จากกากยาสมุนไพรและเศษวัสดุทางการเกษตร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ใช้พื้นที่ศึกษาที่โรงผลิตยาสมุนไพร ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และห้องปฏิบัติการเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐม วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่1 การเตรียมวัตถุดิบ ระยะที่ 2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และ ระยะที่ 3 การทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์จากกากยาสมุนไพรและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลักษณะของปุ๋ยเป็นชนิดผง มีสีน้ำตาลปนดำ มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 8.92 ค่าสภาพการนำไฟฟ้า เท่ากับ 1.08 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ปริมาณอินทรียวัตถุ เท่ากับ ร้อยละ 38.47 อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 16:1 ไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 1.42 ฟอสฟอรัสทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 1.54 และโพแทชทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 0.74 ตามลำดับ โดยจัดอยู่ในเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่กรมพัฒนาที่ดินกำหนดไว้</p> ทรงกลด วัฒนพรชัย นิสา พักตร์วิไล สุนทรี จีนธรรม ประวรดา โภชนจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 900 909 อุบัติการณ์และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรกของโรงพยาบาลบางปะอิน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283341 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรก ของโรงพยาบาลบางปะอิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรกเกิดระยะแรกที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรก (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) จำนวน 294 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมารดาและข้อมูลทางเวชระเบียน โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ในการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าต่ำสุด (Minimum), ค่าสูงสุด (Maximum) และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Chi-square test และ และ การหาขนาดของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ใช้ค่าของ Odd Ratio, 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการศึกษา: พบว่า ทารกที่มีคะแนนสุขภาพแรกเกิดต่ำกว่า 7 มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อสูงกว่า 24 เท่า (OR = 24.291, 95%CI = 3.176–185.80, p-value &lt; 0.001), ทารกที่มีน้ำหนักตัวไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อสูงกว่า 12 เท่า (OR = 12.558, 95%CI = 5.121–30.796, p-value &lt; 0.001), ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อสูงกว่าทารกครบกำหนด เป็น 0.1 เท่า (OR = 0.087, 95%CI = 0.042–0.181, p-value &lt; 0.001), ทารกที่มารดามีจำนวนการตั้งครรภ์มากกว่า 1 ครั้ง มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อสูงกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับมารดาที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก (OR = 2.136, 95%CI = 1.284–3.552, p-value = 0.003), ทารกที่มารดามีอายุน้อยกว่า 25 ปี มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อสูงกว่า 2 เท่า (OR = 2.077, 95%CI = 1.293–3.337, p-value = 0.002), ทารกที่มารดามีโรคประจำตัว มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อสูงกว่าทารกที่มารดาไม่มีโรคประจำตัว เป็น 0.3 เท่า (OR = 0.283, 95%CI = 0.087–0.924, p-value = 0.027) และทารกที่มารดาฝากครรภ์ไม่ครบ เป็น 0.5 เท่า (OR = 0.528, 95%CI = 0.324–0.862, p-value = 0.010)</p> อริษา พรหมเอื้อ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 910 917 การพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัลของประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283364 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยใช้ระเบียบวิธีการทบทวนแนวคิดและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัลของประเทศไทย วิธีการศึกษา การศึกษานี้ใช้การรวบรวมและวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นในหลายประเด็น เช่น ภาพรวมของการพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล, ปัญหาอุปสรรค, เป้าหมาย, รูปแบบกระบวนการพัฒนา, บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง, ผลลัพธ์การพัฒนา, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย</p> <p> ผลการศึกษา การพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัลของประเทศไทยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการสุขภาพให้ประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนและใช้มาตรฐานข้อมูลที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การกำกับดูแลที่ดีอย่างยั่งยืน ผลการศึกษานี้ยังช่วยให้ระบบสุขภาพไทยมีความยั่งยืนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัลควรให้ความสำคัญกับการสร้างหน่วยงานกลางในการกำกับดูแล การกำหนดมาตรฐานข้อมูลสุขภาพที่ชัดเจน และการส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสุขภาพ</p> อนันต์ กนกศิลป์ Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 918 931 ผลของโปรแกรมการให้คุณค่าและการเสริมพลังต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283396 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คุณค่าและการเสริมพลังต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 69 คน รวม 138 คน กลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลตบหู อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การได้รับการเสริมพลัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สุจิตรา บัวขาว Copyright (c) 2025 วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2025-03-31 2025-03-31 10 1 932 942 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสันกำแพง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283468 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง&nbsp; โรงพยาบาลสันกำแพง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังทุกระยะ โรงพยาบาลสันกำแพง ระยะ 2 – 4 จำนวน 222 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.4 อายุเฉลี่ย 67.38 ปี S.D. 7.71 ต่ำสุด 29 ปี สูงสุด 88 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 60.04 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 43.7 รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 82.0 ใช้สิทธิ์บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 92.3 ค่าไต(eGFR) เฉลี่ย 61.76 S.D. 19.28 ต่ำสุด 19.00 สูงสุด 89.74 ระยะไตเสื่อม stage2 ร้อยละ 57.7 รองลงมา stage1 ร้อยละ 35.53 stage3a ร้อยละ 13.47 stage3 ร้อยละ 33.8 stage4 ร้อยละ 8.6 2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสันกำแพง &nbsp;2.1) ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 79.19) 2.2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสันกำแพง &nbsp;ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.88 S.D. = 1.46) 3) พฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสันกำแพง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.97 S.D. = 1.12)</p> ธนิต บรรสพผล Copyright (c) 2025 2025-03-31 2025-03-31 10 1 943 950 การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283469 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยแบบผสมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 370 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน 9 เมษายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยทำนายด้วยสถิติ Multiple linear regression ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล ระยะเวลาดำเนินการจำนวน 16 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบมาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 54 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มี 6 ปัจจัย คือ จำนวนสมาชิกครอบครัว ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของขยะ การรับรู้ความรุนแรงของขยะ การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการขยะ และการรับรู้อุปสรรคในการจัดการขยะ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 74.1 (R<sup>2</sup>=0.741, R<sup>2</sup><sub>adj</sub>=0.737, F= 173.344, p&lt;0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของขยะ การรับรู้ความรุนแรงของขยะ การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการขยะ การรับรู้อุปสรรคในการจัดการขยะ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชน สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05&nbsp;</p> วานิช สายยืน Copyright (c) 2025 2025-03-31 2025-03-31 10 1 951 960 ปัจจัยทำนายการเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลเครือข่ายเอกชน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/283473 <p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp;วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลเครือข่ายเอกชน<br><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp;วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ โรงพยาบาลเครือข่ายเอกชนจำนวน 148 คน โรงพยาบาลชุมชน 154 คน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558-30 ธันวาคม 2567 แสดงสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ด้วยปัจจัยเดียว และปัจจัยร่วม<br><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย STEMI ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลเครือข่ายเอกชน กับโรงพยาบาลชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน มีความแตกต่างกันในเรื่อง ระยะเวลา FMC to&nbsp;device time &gt;120 min โดยพบว่า ในโรงพยาบาลชุมชนมีระยะเวลามากกว่า (84.37 ± 3.92 นาที, 38.12 ± 6.85 นาที) และจำนวนการเสียชีวิตมากกว่าโรงพยาบาลเครือข่ายเอกชน (ร้อยละ 24.67, ร้อยละ 18.24) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI โรงพยาบาลเครือข่ายเอกชน และโรงพยาบาลชุมชน ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI เหมือนกันได้แก่ ผู้ที่มีอายุ &gt; 60 ปี, Previous MI, Onset-to-FMC &gt; 180 min ส่วนปัจจัยที่แตกต่างกัน ได้แก่ Stroke, ESI ระดับ 3,4, Cardiogenic shock, ประวัติสูบบุหรี่, door to EKG &gt; 10 min, FMC to&nbsp;device time &gt;120 min<br><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp;สรุป </strong>จากการศึกษานี้ ผู้ที่มีอายุ &gt; 60 ปี, Previous MI, Onset-to-FMC &gt; 180 min เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI ทั้งในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลเครือข่ายเอกชน</p> พรลักษณ์ หาญพาณิชย์ วรากร คำน้อย Copyright (c) 2025 2025-03-31 2025-03-31 10 1 961 968