วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej <p><strong>Journal of Health and Environmental Education</strong><br><strong>วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา<br>Print ISSN: 2773-854x<br>Online ISSN: 2773-8558</strong></p> th-TH [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ ) [email protected] (นายจักรพันธ์ โพธิ์มาตย์) Fri, 29 Mar 2024 14:46:19 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271878 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 68 ปี มีประวัติเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมา 6 ปี โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง 10 ปี<br /> ผลการศึกษาพบว่า การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอดและส่งเสริมเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความทนในการทำกิจกรรม การลดปริมาณของเสียในร่างกายและชะลอไตเสื่อมสภาพ การ<em>ส่งเสริมภาวะ</em>โภชนาการ การควบคุมอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่ให้กำเริบ การป้องกันการเกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง การลดความวิตกกังวลผู้ป่วย ซึ่งผลการพยาบาลทำให้ทุกปัญหาของผู้ป่วยมีแนวโน้มดีขึ้น</p> สุมาลัย ประจวบอารีย์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271878 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271829 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 87 ปี มาด้วยอาการสำคัญ มีไข้ หนาวสั่น เจ็บแน่นหน้าอก 4 ชั่วโมง<br /> ผลการศึกษาพบว่า แพทย์วินิจฉัยโรคครั้งแรกติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย วินิจฉัยครั้งสุดท้ายเป็นโรคปอดอักเสบและการหายใจล้มเหลว โดยผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอดร่วมด้วย ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาขับปัสสาวะฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ยาละลายเสมหะ ยาพ่นขยายหลอดลม ออกซิเจนบำบัด และใส่ท่อช่วยหายใจ ผลการศึกษาพบว่า การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การดูแลให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การกำจัดและลดเชื้อก่อโรค การลดปริมาณน้ำในถุงลมปอด การป้องกันภาวะช็อกจากการ ติดเชื้อให้กระแสเลือด ผลการพยาบาลที่ไม่บรรลุความสำเร็จ คือ การกำจัดและลดเชื้อก่อโรค ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ช่วยการหายใจให้มีประสิทธิภาพ และส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายในจังหวัด</p> ขวัญดาว ชัยจินดา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271829 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยหายใจล้มเหลวจากภาวะเลือดเป็นกรดเนื่องจากการใช้ยาเมทฟอร์มิน ร่วมกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272008 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยหายใจล้มเหลวจากภาวะเลือดเป็นกรดเนื่องจากการใช้ยาเมทฟอร์มินร่วมกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 78 ปี มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ โดยใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้<br /> จากการศึกษาพบว่า การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การดูแลให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยการแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะน้ำเกิน การดูแลเพื่อลดและกำจัดของเสียออกจากร่างกาย การดูแลให้เกลือแร่ในร่างกายมีความสมดุล การดูแลเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งผลการพยาบาลสามารถทำให้ปัญหาคุกคามชีวิตผู้ป่วยถูกแก้ไขหมดไป ผู้ป่วยปลอดภัยและรอดชีวิต</p> ปณิดา เครือบุญสิน Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272008 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นร่วมกับมีภาวะช็อก และไตเรื้อรังระยะสุดท้าย: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272052 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นร่วมกับมีภาวะช็อกและไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 61 ปี มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหารส่วนปลาย โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดคลื่นเอสทีไม่ยก ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผ่านทางเส้นฟอกเลือดชนิดเส้นเลือดจริง และทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด <br /> จากการศึกษาพบว่า การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การแก้ไขภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือดในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นภาวะคุกคามชีวิตผู้ป่วย การลดและขจัดของเสียในร่างกาย การรักษาความสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย การขจัดน้ำส่วนเกินในร่างกาย การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การให้ความรู้คำแนะนำในการป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารซ้ำ ซึ่งผลการพยาบาลทำให้ปัญหาที่คุกคามชีวิตผู้ป่วยถูกแก้ไขหมดไป ผู้ป่วยปลอดภัย และรอดชีวิต ส่วนปัญหาอื่นได้รับการแก้ไขจนมีแนวโน้ม ดีขึ้น</p> อภิญญา จันหอม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272052 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้เทคนิคการสอนงานพยาบาลห้องผ่าตัดตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272041 <p> การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการสอนงานพยาบาลห้องผ่าตัดตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องผ่าตัดโรงพยาบาลวานรนิวาสไม่เกิน 5 ปี จำนวน 12 คน โดยมีผู้สอนงานคือพยาบาลที่มีประสบการณ์นานกว่า 5 ปี และเป็นหัวหน้าประจำห้องผ่าตัดแต่ละห้อง จำนวน 6 คน ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทักษะการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด แบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิคการสอนงาน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมเทคนิคการสอนงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Wilcoxon Signed Rank test<br /> ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลังใช้เทคนิคการสอนงานสูงกว่าก่อนใช้เทคนิคการสอนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=-3.072, p=0.002) และก่อนใช้เทคนิคการสอนงานพบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 16 ครั้ง แต่ไม่พบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์หลังใช้เทคนิคการสอนงาน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิคการสอนงานอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p> อัญชะนา สงโพธิ์กลาง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272041 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการ ความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272063 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การอุบัติเหตุทางถนนอำเภอกุมภวาปี พัฒนาและประเมินผลรูปแบบความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาดำเนินการวิจัย สิงหาคม 2566 - มกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ อ.กุมภวาปี ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบความปลอดภัยทางถนน ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน (Inferential statistic) ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 1) การขับเคลื่อนสร้างกลไก ศปถ.อำเภอที่มีประสิทธิภาพ 2) การวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุด้วยเครื่องมือจัดการเชิงผลลัพธ์ (เครื่องมือ 5 ชิ้น) 3) การจัดการจุดเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนนโดยภาครัฐ ท้องถิ่นและชุมชน 4) การประชุม ศปถ.อำเภอ ติดตามอย่างต่อเนื่อง 5) การดำเนินงานแนวทาง กุมภวาปี โมเดล กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน พบว่า ภายหลังดำเนินการค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนน ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) และผลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ พบว่า จำนวนผู้รับบาดเจ็บลดลงร้อยละ 34.07 และจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 25.80</p> ประพัทธ์ ธรรมวงศา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272063 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัลของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในระบบบริการสุขภาพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269647 <p> การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ด้านการใช้ดิจิทัลและทัศนคติต่อการใช้ดิจิทัลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัลของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในระบบบริการสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 301 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 79.10) มีช่วงอายุ 28-31 ปี (ร้อยละ 61.10) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 97.00) ทำงานตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข (ร้อยละ 93.70) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ร้อยละ 55.50) ความรู้ด้านการใช้ดิจิทัลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 84.00) ส่วนทัศนคติต่อการใช้ดิจิทัลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 97.00) และความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 96.70) จากการศึกษาพบว่า ระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัล (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 8.514, p &lt; 0.010) ส่วนปัจจัยด้านความรู้ด้านการใช้ดิจิทัลและทัศนคติต่อการใช้ดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัล (r = 0.281, p &lt; 0.001; r = 0.575 p &lt; 0.001 ตามลำดับ)</p> ศุภรัตน์ ชินวัฒน์โสภณ, วิยดา ใจแก้ว, จิรวุฒิ คงคา, ณฐกร นิลเนตร, พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์ ใจดี Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269647 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในโรงพยาบาลสามชัย ปี พ.ศ.2566 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269899 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อเปรียบเทียบการดูแลรักษาและกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในโรงพยาบาลสามชัย ปี พ.ศ.2566 และนำผลการศึกษาไปปรับใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นและพัฒนาแนวทางการให้บริการภายในแผนกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานต่อไป<br /> ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 36 ปี เป็นเบาหวานมา 5 ปี มารับยาหลังนัด ไม่ขาดยา ผู้ป่วยรายที่ 2 หญิงไทย อายุ 59 ปี เป็นเบาหวานมา 10 ปี มารับยาตามนัด กรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย พบปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จาก 1) พฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร 2) ไม่ออกกำลังกาย 3)การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ มีความรู้เรื่องเบาหวานแต่ขาดความตระหนักควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนปัญหาที่ต่างกัน ได้แก่ 1) การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง 2) ปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย คือ รูปแบบการให้บริการที่รวมแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้การใช้รูปแบบการลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรายกรณีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย</p> พรทิพย์ บุษบง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269899 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ใช้สารเสพติด : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269747 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลกรณีศึกษามารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและยังไม่หยุดใช้สารเสพติดตลอดการตั้งครรภ์ 2 ราย ที่มารับการรักษาที่ห้องคลอดโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เปรียบเทียบผู้คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ใช้สารเสพติด 2 รายโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาล<br /> ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยอายุ 18 ปี G2P0-0-1-0 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเขาสวนกวาง เมื่ออายุครรภ์ 18<sup>+3</sup> สัปดาห์ ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (Tetanus toxoid) กระตุ้น 1 เข็ม มาตรวจตามนัด 4 ครั้ง ในระหว่างตั้งครรภ์ทำงานร้านอาหารเป็นเด็กเสิร์ฟต้องเดินบ่อยและทำงานล่วงเวลา พักผ่อนน้อยรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา คลอดเมื่ออายุครรภ์ 36<sup>+2 </sup>สัปดาห์ คลอดปกติทารกเป็นเพศชาย น้ำหนักแรกคลอด 2,510 กรัม ตัวยาว 50 cm. ประเมิน APGAR SCORE = 9 , 10 ทารกหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกตรวจ DTX = 91 มก/ ดล. , Hct = 67% ทารกหลังคลอดมีปอดอักเสบร่วมด้วยจึงอยู่รักษาต่อที่โรงพยาบาลอีก 7 วัน อาการดีขึ้นแพทย์จึง อนุญาตให้กลับบ้านได้ กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยอายุ 25 ปี G4P2-0-1-2 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเขาสวนกวาง เมื่ออายุครรภ์ 24<sup>+3</sup> สัปดาห์มีภาวะซีดได้รับยาFerrous Sulfateไปรับประทานที่บ้านเป็นระยะเวลานาน 1 เดือน ติดตามผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 พบ Hct เพิ่มขึ้น มาตรวจตามนัดเพียง 2 ครั้ง ในระหว่างตั้งครรภ์มีการเสพยาแอมเฟตามีนและดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เมื่อมีการร่วมสังสรรค์กับเพื่อนๆโดยเสพยาและดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องมาจนคลอด เจ็บครรภ์คลอดมา 3 ชั่วโมง 40 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล คลอดเมื่ออายุครรภ์ 35<sup>+4 </sup>สัปดาห์ คลอดปกติทารกเป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 2,130 กรัม ตัวยาว 48 cm. ประเมิน APGAR SCORE = 10, 10 ทารกหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกตรวจ DTX = 40 มก/ ดล, Hct = 66% ทารกหลังคลอดมีปอดอักเสบร่วมด้วยจึงอยู่รักษาต่อที่โรงพยาบาลอีก 7 วัน แต่มีอาการหายใจหอบแพทย์จึงส่งต่อทารกไปรักษาที่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของจังหวัด</p> นันท์นภัส เพรงมา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269747 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรงของเยื่อหุ้มคอชั้นลึกโพรงใต้คาง กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270040 <p> การศึกษากรณีศึกษาเปรียบเทียบจำนวน 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรงของเยื่อหุ้มคอชั้นลึกโพรงใต้คาง ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น<br /> ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นมีสาเหตุการติดเชื้อ จากฟันผุ ทั้ง 2ราย แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รายที่ 1 ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน มีอาการอักเสบระยะเวลาหลายวัน ที่เป็นปัจจัยส่งผลให้การเกิดความรุนแรงของโรคโดยกรณีศึกษาที่ 1 ทำให้มีพยาธิสภาพการติดเชื้อได้ง่ายประกอบกับ สูบบุหรี่ ในขณะที่กรณีศึกษาที่ 2 ไม่มี มีโรคประจำตัว แต่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปริมาณมากถึง20 มวน/วัน ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มาโรงพยาบาลด้วยอาการหอบเหนื่อยรายแรก มีไข้สูง รายที่2 ไม่มีไข้ และยาปฏิชีวนะรายที่1ได้รับยา Augmentin 1.2 กรัมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง ได้รับยาปฏิชีวนะClindamycin600 มิลลิกรัม ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง รายที่ 2ได้รับยา Augmentin 1.2 กรัมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง ได้รับการช่วยหายใจฉุกเฉินด้วยวิธีแบบAwake tracheal stylet Video laryngoscopeประเมิน ทางเดินหายใจผ่านVideo laryngoscope ผ่านการพ่นยาชาในช่องปาก LA 10% lidocaine spayโดยทีมวิสัญญีและศัลยแพทย์ หู คอ จมูก ที่ห้องฉุกเฉิน ทั้ง 2ราย ตามหลัก FASTHUG and BANDAIDS</p> ยุภาพร ศรีภา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270040 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีโรคร่วมและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270304 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกและมีโรคร่วม ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์หญิง และหอผู้ป่วยศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ชาย โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน ตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล<br /> ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 รายเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวร่วม ผู้ป่วยรายที่ 1 ชายไทยอายุ 60 ปี มีโรคประจำตัวร่วม ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และมีภาวะแทรกซ้อนคือ ภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงการผ่าตัด ได้รับแก้ไข,เตรียมการผ่าตัดและปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ได้รับการประเมินจากอายุรแพทย์และวิสัญญีแพทย์ก่อนผ่าตัด ได้รับการผ่าตัดตามกำหนดเวลาที่กำหนด หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัยดี ผู้ป่วยรายที่ 2 หญิงไทยอายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวร่วม ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมได้ดี แต่มีโรคแทรกซ้อนก่อนผ่าตัดได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้รับการประเมินและร่วมรักษาจากอายุรแพทย์ จนปลอดภัยจึงได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัยดี</p> ยุพิน พิมพ์สวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270304 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลมารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลในภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอนจาน: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270284 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาทางการพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลในภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมเปรียบเทียบ 2 รายที่มารับบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอนจาน ระยะเวลาในการศึกษาเดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาล<br /> ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษาที่ 1 เป็นมารดาครรภ์ที่ 2 คลอดทางช่องคลอดพร้อมรกที่บ้านก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง ให้การดูแลตัดสายสะดือที่โรงพยาบาล มารดามีภาวะเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและอุณหภูมิกายต่ำ กรณีศึกษาที่ 2 เป็นมารดาครรภ์ที่ 2 มีประวัติแท้ง มีอาการเจ็บครรภ์คลอดได้คลอดเองที่บ้าน รถโรงพยาบาลออกรับผู้ป่วยพร้อมบุตร ทำการคลอดรกที่โรงพยาบาล มารดามีความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด ภาวะติดเชื้อช่องทางคลอดฉีกขาด และทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยทั้งสองได้รับการส่งต่อการรักษาไปที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่ามารดาและทารกปลอดภัย</p> นรินทร์ ภารวิจิตร Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270284 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีภาวะติดเชื้อฉวยโอกาส : กรณึศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270353 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีภาวะติดเชื้อฉวยโอกาส โดยศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ 2 ราย ที่มารับการรักษาที่ รพ สิรินธรจังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ.2565- 2566<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาเมื่อร่างกายแสดงถึงภาวะเอดส์ชัดเจน เริ่มการรักษาเมื่อระดับภูมิคุ้มกันถูกทำลายไปอย่างมาก ( CD4 0.67% 67 cell ) พบภาวะแทรกซ้อนจากโรคฉวยโอกาส ติดเชื้อ Pneumocystis carinii Pneumonia หรือ Pneumocystis jiroveci pneumonia (PCP) ไข้ เหนื่อยหอบ มีภาวะเชื้อราในปาก ลิ้นเป็นฝ้าขาว ติดเชื้องูสวัสที่ผิวหนัง น้ำหนักลด หลังจากทราบผลว่าติดเชื้อHIV มีความกังวลเรื่องสุขภาพ กลัวถูกเปิดเผย กลัวสังคมรังเกียจ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ พยาบาลผู้ดูแลจำเป็นต้องมีบทบาทให้ความรู้ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยพบปัญหา ส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้สามารถจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งพยาบาลเป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพในการมีส่วนร่วมในการดุแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่องมีสุขภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> <p><br /><br /></p> อำพร เพ็งมา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270353 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตภายหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องเพื่อควบคุมการเสียเลือดในภาวะวิกฤตสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลเปิดทะลุ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270387 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลเปิดทะลุ ที่เข้ารับการผ่าตัดเปิดช่องท้องเพื่อควบคุมการเสียเลือด (Damage control laparotomy) ในโรงพยาบาลอุดรธานี โดยเป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 มีเกณฑ์คัดเข้าได้แก่ ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณช่องท้องที่มีการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานตั้งแต่ 1 อวัยวะ โดยได้รับการวินิจฉัยจากศัลยแพทย์และได้รับการผ่าตัดเปิดช่องท้องเพื่อควบคุมการเสียเลือด ใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย 2) ข้อมูลทางคลินิก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มประชากร รวมถึงอัตราการรอดชีวิตหลังการผ่าตัด ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและแสดงผลในรูปแบบ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตใช้สถิติ logistic regression<br /> ผลการศึกษาพบผู้ป่วย 64 ราย เข้ารับการผ่าตัด Damage control laparotomy มีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 76.56 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย(ร้อยละ 78.13) และมีอายุน้อยกว่า 55 ปี (ร้อยละ 76.56) การบาดเจ็บมีสาเหตุจากอุบัติเหตุทางถนนร้อยละ 87.50 การบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องตั้งแต่ 2 อวัยวะขึ้นไป พบร้อยละ 71.81 อวัยวะภายในช่องท้องที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียเลือดมากที่สุดคือ ตับ (ร้อยละ 57.81) รองลงมาคือ เยื่อแขวนลำไส้ (ร้อยละ 15.63) และม้าม (ร้อยละ 12.50) หัตถการที่ทำในการผ่าตัดครั้งแรกมากที่สุด คือ Abdominal packing คิดเป็นร้อยละ 93.75 รองลงมาเป็น Hepatorrhaphy ร้อยละ 18.75 และ Bowel repair ร้อยละ 15.62 โดยพบว่าการสูญเสียเลือด (AOR=9.61, 95%CI=1.62-56.95) การบาดเจ็บช่องท้องที่พบร่วมกับการบาดเจ็บของสมองรุนแรง (AOR=40.89, 95%CI=2.12-786.85) และค่าไบคาบอเนตในเลือด (AOR=10.00, 95%CI=1.65-60.51) เป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิต</p> วีรยุทธ ชัยน้ำอ้อม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270387 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271765 <p> การศึกษานี้เพื่อศึกษาและพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์ อาการทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อน การรักษาและการพยาบาล ผลลัพธ์การรักษา ผลลัพธ์ด้านทารก และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล การศึกษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ระยะจำหน่าย การวางแผนการจำหน่ายตามหลัก D-METHOD<br /> ผลการศึกษาพบว่า : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์ ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยนำมาปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยที่มาเองและผู้ป่วยที่ส่งต่อรักษาจากโรงพยาบาลชุมชน และได้จัดการปัญหาเพื่อช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ จนกระทั่งปลอดภัยและจำหน่ายกลับบ้านทั้งมารดาและทารก</p> สารณี ไชยวิเศษ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271765 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาลในระยะคลอดต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและความพึงพอใจของผู้คลอดโรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271761 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาลในระยะคลอดที่ปากมดลูกเปิด โดยใช้ขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของเคมิสและแม็คแทกการ์ท (Kemmis and McTaggart, 1988) ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Plan) 2) การลงมือปฏิบัติและการสังเกต (Act &amp; Observe) และ 3) การสะท้อนคิด (Reflect) ลิ4) การปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน (Revised plan) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้คลอดที่มาคลอด ห้องคลอด โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - เดือนธันวาคม 2566 จํานวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาล แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับความเจ็บปวด และแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติการทดสอบค่าไคว์สแคว์ และการทดสอบค่าที<br /> ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาล ประกอบด้วย กิจกรรม การสนับสนุนด้านจิตใจอารมณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูล การสนับสนุนด้านความสุขสบาย และการสนับสนุนด้านการพิทักษ์สิทธิ์ พบว่า ผู้คลอดที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาลมีระดับความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดที่เหมาสมเพิ่มขึ้นหลังที่ได้รับการพยาบาลในทุกระยะของการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p &lt; .01) และมีความพึงพอใจในการคลอด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 5.00, S.D. = 4.03)</p> ดวงใจ หาพรหม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271761 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยาในกลุ่มโรคสำคัญ โรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269898 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนค่ายาของผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในกลุ่มโรคสำคัญที่มีต้นทุนค่ายาสูง เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยทำการศึกษาย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 - 2566 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษาที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ<br /> ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนค่ายารวมในการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจาก 4,995,360.27 บาท เป็น 7,097,684.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.09 โดยจำนวนผู้รับบริการเพิ่มขึ้นจาก 38,546 ครั้ง เป็น 41,840 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 8.56 ต้นทุนค่ายาต่อครั้งเพิ่มขึ้นจาก 129.59 บาท เป็น 169.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.90 กลุ่มโรคที่มีจำนวนครั้งมารับบริการสูง 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคคอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน กลุ่มโรคที่มีต้นทุนค่ายาสูง ได้แก่ โรคเบาหวาน ต้นทุนค่ายา 2,138,634.97 บาท (ร้อยละ 30.13) เท่ากับ 285.68 บาทต่อครั้ง, โรคความดันโลหิตสูง ต้นทุนค่ายา 793,794.64 บาท (ร้อยละ 11.18) เท่ากับ 203.28 บาทต่อครั้ง และโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังต้นทุนค่ายา 587,219.86 บาท (ร้อยละ 8.27) เท่ากับ 428.94 บาทต่อครั้ง ลักษณะกลุ่มโรคที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายยาและจำนวนครั้งในการรับบริการสูง คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยยาที่มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาสูงขึ้น คือ กลุ่มยาเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นยาที่มีต้นทุนค่ายาสูง การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วย และการมีภาวะแทรกซ้อนของโรคที่มากขึ้นในกลุ่มโรคที่มีการใช้ยาเฉพาะโรคที่ต้นทุนค่ายาสูง ซึ่งมีผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยา</p> ศรีสุดา วรสาร Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269898 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271766 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพในชุมชน 2 ราย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ดูแลต่อเนื่องระยะฟื้นฟูสภาพในชุมชน เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living: ADL) การสัมภาษณ์ และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดงการรักษา แบบแผนสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการเกิดโรค ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการดูแลฟื้นฟูสภาพในชุมชน โดยการประสานงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพทั้งในและนอกองค์กร กรณีศึก: เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 85 ปี อาการสำคัญ ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงข้างช้าย 40 นาที ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 83 ปี อาการสำคัญ ซึม พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง 6 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke ผู้ป่วยทั้งสองรายรับไว้รักษา ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน หลังผ่านช่วงวิกฤตของโรคสู่ระยะฟื้นฟูสภาพ แพทย์จำหน่ายและส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องระยะฟื้นฟูสภาพที่บ้านโดยทีมดูแลต่อเนื่องในชุมชนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ<br /> จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามสภาพปัญหา ในรายที่มาถึงโรงพยาบาลล่าช้า เกินกว่า 4.5 ชั่วโมง จึงไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ได้ ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการดูแลติดตามอาการตั้งแต่แรกรับ ระยะนอนรักษาในโรงพยาบาล และระยะที่กลับไปอยู่ในชุมชนเพื่อฟื้นฟูสภาพ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติเมื่อผู้ป่วยกลับมาอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ญาติ ผู้ดูแล และเครือข่ายมีความรู้ในการดูแลฟื้นฟูและลดปัจจัยเสี่ยงโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และมีช่องทางสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วเมื่อผู้ป่วยและญาติต้องการความช่วยเหลือ</p> นภาพร ธีระนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271766 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลด้วยบันทึกสัญญาณเตือน (Search out Severity Score : SOS score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271767 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวทางปฏิบัติการพยาบาลด้วยบันทึกสัญญาณเตือน (Search out Severity Score : SOS score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลสร้างคอม ขั้นตอนการศึกษา 3 กระบวนการ ดังนี้ (1) กระบวนการพัฒนา (2) กระบวนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ (3) กระบวนการการประเมินผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิต จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 30 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน จำนวน 24 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการพยาบาลด้วยบันทึกสัญญาณเตือน (SOS Score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต แบบบันทึกสัญญาณเตือน (SOS Score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต และแบบสอบถามความเป็นไปได้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติฯ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และ .89 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา<br /> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตในกลุ่มทดลองหลังจากใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต มีภาวะอวัยวะล้มเหลวลดลงและไม่พบการเสียชีวิต ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมก่อนการใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ (M= 3.79, SD= .33) และความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติฯ (M= 3.73, SD= .38) อยู่ในระดับมาก</p> อัจชราณี อุดน้อย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271767 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของรูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยบทบาทของพยาบาลวิชาชีพและการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินระยะรอคอย โรงพยาบาลกุดจับ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271768 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้การปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน และประสิทธิผลของการใช้รูปแบบต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 – มีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่คัดแยกแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 16 คน เครื่องมือ ได้แก่ รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยบทบาทของพยาบาลวิชาชีพและการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินระยะรอคอย แบบสังเกตการจำแนกผู้ป่วย แบบบันทึกระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงปริมาณ ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One sample t-test statistic และ Paired t-test statistic ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br /> พบว่า รูปแบบฯ กำหนดประเภทผู้ป่วยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ วิกฤต (Immediate) ได้รับการดูแลรักษาทันทีเจ็บป่วยรุนแรง (Emergency) ได้รับการรักษาภายใน 10 นาที เจ็บป่วยปานกลาง (Urgency) ได้รับการรักษาภายใน 30 นาที เจ็บป่วยเล็กน้อย (Semi-Urgency) ได้รับการรักษาภายใน 60 นาที และเจ็บป่วยทั่วไป (Non-Urgency) สามารถรอรับการรักษาได้ภายใน 120 นาที ด้านประสิทธิผลของการใช้ รูปแบบ หลังการใช้รูปแบบการคัดแยก ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยวิกฤตเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรเลีย (เฉลี่ย 0.02 นาที, &lt;0 นาที)</p> รุ่งลาวรรณ์ ฤทธิวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271768 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านแบบมีส่วนร่วมและการให้ความรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลท่าลี่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271769 <p> การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านแบบมีส่วนร่วมและการให้ความรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในเขตอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในเขตอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 22 คน โดยกลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโครงการโดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักและการปฏิบัติตัวโดยเน้นเกี่ยวกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง การใช้ยา การมารักษาตามนัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความตระหนัก และแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ Independent t-Test และ One way repeated measure ANOVA<br /> ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของความตระหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยของความตระหนักทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน หลังทดลองทันทีและระยะติดตามผล พบว่าในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยของความตระหนักและการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยในกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของความตระหนักและการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ส่วนค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยในกลุ่มทดลอง หลังทดลองทันที และระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตลดต่ำลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ</p> สุชารัตน์ ชาวตวันตก Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271769 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยใช้หลักการ 3อ.2ส. บ้านโคกมะนาว ตำบลหนองปลิง อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271770 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นมีรูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กระบวนเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2ส. ในพื้นที่บ้านโคกมะนาว ตำบลหนองปลิง อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ pearson correlation, paired – t test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ความรู้หลังได้รับการอบรมมีระดับความรู้ดีขึ้นทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาหารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้านอารมณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้านการออกกำลังกายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้านบุหรี่ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและด้านสุรากับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2สของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ที่ได้ใช้โปรแกรมมีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น ได้แก่ ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนักและรอบเอว ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /> ความพึงพอใจต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2ส จากการสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2ส. ทั้งรูปแบบกิจกรรมและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หลังจากปฏิบัติตัวที่บ้าน และมีความพึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพราะทำรู้สึกสบายตัวขึ้น มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชน</p> คำวรรณ์ ปราศรัยงาม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271770 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271763 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง และผลลัพธ์ทางการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การศึกษากรณีศึกษาจำนวน 1 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่เข้ารับบริการที่งานห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ร่วมกับการสังเกต ได้นำกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ร่วมกับกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน เพื่อการวางแผนการพยาบาลได้อย่างครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม<br /> ผลการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์พบภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จากข้อมูลเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์แต่ขาดยา ภาวะเบาหวานพบขณะฝากครรภ์ แพทย์สงสัยว่าเกิดก่อนการตั้งครรภ์และตรวจพบขณะตั้งครรภ์ ได้รับอินซูลินขนาดที่สูงร่วมกับการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อปรับระดับน้ำตาล ยาควบคุมระดับความดันโลหิต ควบคุมอาหาร ได้รับการดูแลตามมาตรฐานตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ กระทรวงสาธารณสุข นำกระบวนการพยาบาลร่วมกับกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน ใช้ในการประเมินและการวางแผนการพยาบาล สามารถดำเนินการตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ได้ มารดาและทารกคลอดอย่างปลอดภัย</p> ลำเพย พิมพ์ทอง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271763 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลวในแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271762 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพ ผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลวในแผนกผู้ป่วยนอก โดยศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษา 1 ราย โดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ร่วมกับกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน <strong>และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม</strong> โดยผ่านการเยี่ยมบ้านทั้งหมด 4 ครั้ง ระยะเวลา 3 เดือน<br /> ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และตีบตันของหลอดเลือดโคโรนารีซ้ำ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง ขาดความรู้ในการปฏิบัติตนหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด รูปแบบการพยาบาลที่ส่งเสริมความสำเร็จ คือ การพยาบาลแบบองค์รวมเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ ตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ผู้ศึกษา และครอบครัว ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลกับผู้ป่วยที่ทำได้จริง</p> อารีย์ สมบัติรงรอง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271762 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์โปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณตามแนวพุทธต่อคุณภาพชีวิตและระดับความพึงพอใจทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุตอนต้น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271880 <p> การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลลัพธ์โปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณตามแนวพุทธต่อคุณภาพชีวิตและระดับความพึงพอใจทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุตอนต้น ตำบลอาจสามารถ จำนวน 70 คน สุ่มอย่างง่ายเลือกแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง 35 คน และกลุ่มทดลอง 35 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลเป็นแบบตรวจสอบ 2) แบบสอบถามความรู้ เรื่องการทำกิจวัตรทางศาสนากับ การนั่งสมาธิ เดินจงกรม 3) แบบสอบถามความเครียดโดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของของ องค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF) และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยความถี่ ร้อยละ ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิต นำเสนอด้วยค่า Independent t-test และ paired t-test<br /> ผลการวิจัย ประสิทธิผลของโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ ความเครียด และคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอทางจิตวิญญาณเพิ่มขึ้นหลังให้โปรแกรม คะแนนความเครียดลดลงหลังให้โปรแกรม และมีคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นหลังให้โปรแกรมและ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อรอุมา แก้วเกิด, นันทนา ควรรสุ, ชิณกรณ์ แดนกาไสย, ศศกรณ์ อินทรชัยศรี, ศิริวรรณ สงจันทร์, รัตติยา ทองอ่อน, เนตรฤทัย ภูนากลม, วศินภัทร์ ปิยะพงศ์สกุล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271880 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนาการจัดเตรียมเครื่องมือผ่าตัดต้อกระจกแบบใหม่ต่อระยะเวลาในการเตรียม เครื่องมือผ่าตัด ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271771 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลแนวปฏิบัติในการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดต้อกระจกของพยาบาล 2) เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ 3) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนครั้งที่หยิบเครื่องมือเพิ่มระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ โดยการผ่าตัดโดยการใช้เครื่องมือผ่าตัด 2 รูปแบบ คือ กลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ และกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบเดิม ในการผ่าตัดผู้ป่วยจำนวนกลุ่มละ 20 คน เก็บข้อมูลในพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู เดือนพฤศจิกายน 2566ถึงเดือนมีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลของข้อมูลระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติอนุมาน<br /> ผลการศึกษา พบว่า<strong> </strong>ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด จำนวนครั้งที่หยิบเครื่องมือเพิ่ม ในกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ดีกว่ากลุ่มการใช้เครื่องมือแบบเดิม (p&lt;0.001) โดยที่ประสบการณ์ทำงานในห้องผ่าตัดของพยาบาลทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการจัดเตรียมเครื่องมือผ่าตัดต้อกระจกของพยาบาลห้องผ่าตัดในภาพรวมพบร้อยละ 100 ในขณะที่กลุ่มการใช้เครื่องมือแบบเดิมมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบเดิมเพียงร้อยละ 50 (p&lt;0.001)</p> ศิวดาติ์ คำภีระ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271771 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271772 <p> การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2566-กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.23, S.D.=0.24) และหลังได้รับโปรแกรมพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.52, S.D.=0.45) และพบว่าหลังได้รับโปรแกรมคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.526, p=0.001) และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านการควบคุมอาหาร (t=-3.731, p=0.001) ด้านการจัดการกับความเครียด (t=-2.660, p=0.013) ด้านการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน (t=-3.003, p=0.005) ด้านการดูแลตนเองเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ (t=-3.496, p=0.002) และด้านการดูแลรักษาต่อเนื่อง (t=-2.971,p=0.006) และผลการติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมลดลงเมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.068, p&lt;.001)</p> อภิญญา ถามูลแสน Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271772 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องผ่านท่อไต โรงพยาบาลสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271899 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องผ่านท่อไต โรงพยาบาลสกลนคร รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ( Quasi-experimental Research ) ศึกษาในผู้ป่วย เข้ารับบริการผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องผ่านท่อไต ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 - กุมภาพันธุ์ 2567 วิเคราะห์ผลลัพธ์ ได้แก่ การเกิดภาวะหนาวสั่น และการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ ขณะผ่าตัดและในห้องพักฟื้น โดยใช้ multivariable risk difference regression<br /> ผลการศึกษาทำให้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องผ่านท่อไต แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย การพยาบาลที่ห้องรอผ่าตัด การพยาบาลในห้องผ่าตัด และการพยาบาลในห้องพักฟื้น ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยวิธีส่องกล้องผ่านท่อไตที่พัฒนาขึ้นพบว่า ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องผ่านท่อไตจำนวน 160 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 75 รายและกลุ่มควบคุม 85 ราย สามารถลดการเกิดภาวะอุณหภูมิต่ำขณะผ่าตัด 47% (95%CI: -0.67,-0.28) (p&lt;0.001) ลดการเกิดภาวะอุณหภูมิต่ำห้องในห้องพักฟื้น 45% (95%CI: -0.62,-0.28) (p&lt;0.001) ลดการเกิดภาวะหนาวสั่นในห้องพักฟื้น 28% (95%CI: -0.44,-0.12) (p=0.001) และลดภาวะอุณหภูมิต่ำก่อนจำหน่ายจากห้องฟักฟื้น 30% (95%CI: -0.47,-0.12) (p=0.001) ส่งผลต่อการรักษา shivering ด้วยยา Pethidine ลดลง 11% (95%CI: -0.23,0.01) (p=0.043) ซึ่งพบความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับแนวปฏิบัติทางการพยาบาลแบบเดิม</p> ภัททิยา สุขสมบูรณ์, นำพล สุทธิสุวรรณ, จิตรภัทรา งันลาโสม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271899 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ทรวงอก ช่องท้อง และกระดูกไหปลาร้าหัก : กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272391 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ทรวงอก ช่องท้อง และกระดูกไหปลาร้าหักส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบาดเจ็บ เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษาเปรียบเทียบหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในชายไทย อายุ 33 ปี มาที่ห้องอุบัติเหตุด้วยอาการ ขี่จักรยานยนต์ชนสุนัข หมดสติ ไม่รู้สึกตัว กู้ภัยนำส่ง ขี่ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 36.9 องศาเซลเซียส อัตราการหายใจ 28 ครั้ง/นาที ชีพจร 68 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 129/81 มิลลิเมตรปรอท GCS: E3V1M5 = 6 pupil 2 mm RTLBE<br /> ผลการศึกษา พบว่า แพทย์วินิจฉัยว่ามีกระดูกซี่โครง ร่วมกับกระดูกไหปลาร้าด้านซ้ายหัก เลือดออกภายในช่องท้อง และมีการบาดเจ็บของม้าม รักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สาย ICD at left lung การดูแลตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้รับการพยาบาลตามหลักการ Advance Trauma Life Support ตาม ABCDE ได้รับการประเมินตั้งแต่แรกรับ ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล ปลอดภัยจากภาวะช็อก ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และได้รับการประสานงานส่งต่อไปยังหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอย่างปลอดภัย</p> ประไพ จอมสูง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272391 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพิบูลมังสาหาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271773 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพิบูลมังสาหาร ระหว่างวันที่ 5 - 25 มกราคม 2567 โดยศึกษาในบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพิบูลมังสาหาร จำนวน 159 คน ประชาชนที่รับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 1,336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้วยสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย( Means) และการวิเคราะห์เนื้อหาจำแนกรายข้อ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วย dependent T-test<br /> ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาศักยภาพการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ ดังนี้ PCU 3 แห่ง NPCU 2 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 13 แห่ง โดยในการจัดบริการ PCU และ NPCU จะมีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวพร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพออกให้บริการ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะมีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวออกให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง ผลการประเมินที่พบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.10 รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของกระบวนการจัดโครงการ(Process) การประเมินด้านความพอเพียงของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ(Input) และด้านความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดโครงการ(Product) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 3.97, 3.78 และ 3.52 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยหน่วยบริการ PCU/NPCU ดีกว่าหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P &lt; 0.05 แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อหน่วยบริการ PCU/NPCU และหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P &lt; 0.05 ดังนั้นจึงยังต้องมีการพัฒนาการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีการเพิ่มศักยภาพให้เป็น PCU หรือ NPCU ให้มีบริการที่แตกต่างและชัดเจนขึ้น</p> ทนง คำศรี, นวรัตน์ สิงห์คำ, นิภารัตน์ แสงกุล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271773 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้คลอดที่ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271900 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้คลอดที่ตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว กรณีศึกษา 2 รายเลือกแบบเจาะจง โดยคัดเลือกผู้คลอดที่มีตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 2 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย จากผู้ป่วย และจากญาติ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล<br /> ผลการศึกษา: กรณีศึกษาที่ 1 ผู้คลอดหญิงลาว อายุ 32 ปี G<sub>2</sub>P<sub>1</sub>A<sub>0</sub>L<sub>1</sub> อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ by ultrasound เจ็บครรภ์ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง เจ็บครรภ์คลอดทุก 5 นาที นาน 1 นาที มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ไม่มีน้ำเดิน เด็กดิ้นดี ทารกเป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 3,200 กรัม ใช้วิธี Active management เลือดออกก่อนรกคลอด 500 มิลลิลิตร 1 ชั่วโมงหลังคลอดปกติมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เสียเลือด 1,000 มิลลิลิตร รวม 1,500 มิลลิลิตร นอนพักรักษาในโรงพยาบาล 3 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ผู้คลอดหญิงไทยอายุ 24 ปี G<sub>1</sub>P<sub>0</sub>A<sub>0</sub>L<sub>0</sub> อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ 4 วัน 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ท้องปั้นแข็ง ครั้งละน้อยกว่า 2 นาที ไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับมีน้ำเดิน คลอดทารกเป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 4,050 กรัม ใช้วิธี Active management มีเลือดออกก่อนรกคลอด 500 มิลิลิตร รกคลอดมีเลือดออกทันที 500 มิลลิลิตร หลังคลอดปกติมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ปากมดลูกฉีกขาด เสียเลือดรวมเป็น 1,000 มิลลิลิตร นอนพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 วัน</p> เพ็ญจันทร์ ธรรมเกษร Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271900 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปิดช่องท้องทำทวารเทียมหน้าท้อง ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน : กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271901 <p> การศึกษานี้เป็นการณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปิดช่องท้องทำทวารเทียมหน้าท้องที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปิดช่องท้องทำทวารเทียมหน้าท้องที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลบ้านโป่ง จำนวน 1 ราย ใช้กระบวนการพยาบาล กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มประยุกต์ใช้ในการพยาบาล ตั้งแต่ระยะก่อนการผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด และระยะวางแผนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 69 ปี มีอาการปวดบิดบริเวณท้องน้อย ปวดตลอดเวลา คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว 5 ครั้ง ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลขาดความรู้ในการการปฏิบัติตัวในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การดูแลทวารเทียม มีภาวะไตวายเฉียบพลัน หลังผ่าตัดตรวจพบภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิตกกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับแนวคิด<strong>ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มมาใช้</strong>เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองโดยมีญาติช่วยเป็นแรงเสริม ผู้ป่วยสามารถพ้นจากภาวะเจ็บป่วยวิกฤติ ปัญหาทั้งหมดได้รับการแก้ไขก่อนจำหน่ายกลับบ้าน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน</p> ศิริวรรณ แป้นน้อย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271901 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272038 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา และเพื่อประเมินผลรูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการระหว่าง พฤศจิกายน 2566 – มกราคม 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ แบบสอบถามรูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง และแบบรายงานการดูแลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรมฯ ใช้สถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยระยะกลาง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากคิดเป็น <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.02 ,SD = 0.547 ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติดูแลผู้ป่วยภายหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) และบุคลากรสหวิชาชีพ มีความคิดเห็นว่าคู่มือการจัดระบบบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง ของโรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำไปใช้ได้ ง่ายอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก</p> ปภัสพร พันธ์จูม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272038 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์และเอกลักษณ์ทางเคมีของเครื่องดื่มนมกระชาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270537 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์และเอกลักษณ์ทางเคมีของเครื่องดื่มนมกระชาย โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ของตัวอย่าง 3 กลุ่มที่เป็นองค์ประกอบของเครื่องดื่มนมกระชาย ประกอบด้วยน้ำต้มกระชายขาว นมถั่วเหลือง และเครื่องดื่มนมกระชายที่เก็บรักษาไว้ที่ตู้แช่เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสในวันที่ 1, 7 และ 14 ของวันที่เตรียมตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เมื่อตรวจสอบการปนเปื้อนในวันแรกของการเตรียมเครื่องดื่มนมกระชายเปรียบเทียบกับวันที่ 7 และ 14 ของการเก็บรักษาในตู้เย็น ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อราและยีสต์, Clostridium spp., Escherichia coli, Salmonella spp. และ Staphylococcus aureus แต่เมื่อเก็บรักษาตัวอย่างต่อไปอีก 2 วันในตู้เย็น มีเพียงน้ำต้มกระชายขาวที่ยังปราศจากการปนเปื้อน ในขณะที่นมถั่วเหลืองและเครื่องดื่มนมกระชายปนเปื้อนเชื้อราและยีสต์ Escherichia coli และ Salmonella spp. แสดงว่ามาตรฐานของการเก็บรักษาและคงคุณภาพของเครื่องดื่มนมกระชายคือไม่เกิน 14 วันในตู้แช่เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ได้ตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีชั้นบางสมรรถนะสูงของตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มที่วันที่ 1 และ 14 ของวันที่เตรียมตัวอย่าง พบการแยกสารของนมถั่วเหลืองและนมกระชายมีค่า R<sub>f</sub> ใกล้เคียงกันเมื่อตรวจสอบภายใต้แสงยูวี 366 นาโนเมตร และพบการแยกสารของน้ำต้มกระชายเมื่อตรวจสอบภายใต้แสงยูวี 254 นาโนเมตร ซึ่งแต่ละชนิดมีรูปแบบการแยกและค่า R<sub>f</sub> ที่ใกล้เคียงกัน งานวิจัยนี้แสดงโอกาสพัฒนามาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร</p> ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์, วนิษา ปันฟ้า, ดวงนภา แดนบุญจันทร์, สุวศิน พลนรัตน์, นวรัตน์ วิริยะเขษม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270537 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษาเขตสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเรณูนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271299 <p> การวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสานวิธี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษาเขตสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเรณูนคร เก็บข้อมูลวิจัยตั้งแต่วันที่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 10 แห่งในเขตอำเภอเรณูนคร จำนวน 109 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความเครียด กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูล เชิง<br /> ผลการวิจัย: ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง (B=.393, p-value=.000) ตัวแปรการสนับสนุนทางสังคม (B=.196, p-value=.000) และตัวแปรความเครียด (B=.110, p-value= .049) สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ ได้ร้อยละ 48.3 (R<sup>2</sup> = .438) ส่วนผลการวิจัย เชิงคุณภาพ พบว่า การรับรู้ความสามารถ การสนับสนุนทางสังคม ความเครียด ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง</p> กนกพร โพชะโน Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271299 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271298 <p> การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง และการศึกษาผลการพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคร่วม โรคความดันโลหิตสูง และ/หรือสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่อาศัยร่วมผู้สูงอายุบ้านเดียวกัน ตามข้อ(1) จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 3 อสม. หมู่บ้านเดียวกัน ข้อ(1) จำนวน 30 คน ตามคุณสมบัติเกณฑ์คัดเข้างานวิจัยเครื่องมือวิจัย มี 2 ส่วนประกอบด้วยส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบประเมินความรู้ ในการดูแลโรคหลอดเลือดสมอง 3)แบบประเมินความพึงพอใจของ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอสม. ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติบรรยาย ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนส่วน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน 31 สิงหาคม 2566–-31 มกราคม2567<br /> ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 63.33 (19 คน) และอายุระหว่าง 60 -69 ปี ร้อยละ 43.33 (13 คน) ส่วนระดับการศึกษา พบว่าจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าประถมศึกษา ร้อยละ 90 (27 คน) การเข้าถึง ระบบ Fast tract ก่อนการพัฒนารูปแบบ 110 (นาที) หลังการพัฒนา 25 (นาที) หลังการพัฒนารูปแบบและกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบแตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบคือค่าเฉลี่ยความรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.41</p> สัญญา สาวิสัย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271298 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์โปรแกรมการประคบแผนไทยและการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อระดับความปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270946 <p> งานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลลัพธ์โปรแกรมการประคบแผนไทยและการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อระดับความปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยผู้สูงอายุผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60-69 ปี กลุ่มควบคุม 35 คน และกลุ่มทดลอง 35 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน 1) โปรแกรมการประคบแผนไทยและการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อระดับความปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้การประคบแผนไทย แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนของเบนดูรา ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .74, .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Dependent t-test และ Independent t-test<br /> ผลการวิจัย หลังทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ และสมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=17.16, p =.000 และ t=8.97, p=.000) ส่วนคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดข้อเข่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (t=0.76, p=0.45)</p> จิรัชญา ต้นสวรรค์, อรอุมา แก้วเกิด, นันทยา นนเลาพล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270946 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลออดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่ายและการติดตามหลังคลอดในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271077 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่ายและการติดตามหลังคลอดในโรงพยาบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือมารดาครรภ์แรกที่คลอดบุตรทางช่องคลอดและผ่าตัดคลอดที่เข้ามารับบริการในหอผู้ป่วยหลังคลอดช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2566 จำนวนทั้งหมด 62 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ31 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงหลังคลอด แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด แบบประเมินความพร้อมในการจําหน่ายจากโรงพยาบาลฉบับมารดาหลังคลอด แบบประเมินความพึงพอใจของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดต่อโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, Paired t-test, Independent t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมก่อนการจำหน่ายสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพร้อมก่อนการจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.002) และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมก่อนการจำหน่ายสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value&lt;0.001) และมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมอยู่ระดับมาก(<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.45,S.D.=0.50)</p> สุกัญญา พงษ์ศิริรักษ์, นฤมล สินสุพรรณ, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271077 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลักเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271089 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลัก ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เลี้ยงดูหลักและเด็กอายุ 3 – 5 ปี จำนวน 45 คู่ โดยใช้เกณฑ์คัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาศึกษา เดือน กุมภาพันธ์ – ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือ DSPM ,แบบวัดทักษะพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เลี้ยงดูหลัก และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test<br /> ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลักในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการ จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมครั้งที่ 1 : การสร้างความพร้อม ,กิจกรรมที่ 2 : การสร้างสายใย ,กิจกรรมที่ 3 : การสร้างวินัย ,กิจกรรมที่ 4 : การสร้างเด็กเก่ง 1 และกิจกรรมที่ 5 : สร้างเด็กเก่ง 2 เด็กที่เข้าร่วมกระบวนการ เพศชาย ร้อยละ 51.11 เพศหญิง ร้อยละ 48.89 อายุเฉลี่ย 3.92 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะเสี่ยงจากการคลอด มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ร้อยละ 66.67 รองลงมา คือ ด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 62.22 และด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 13.33 หลังเข้าร่วมกระบวนการกลับมามีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 ,ทักษะพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดูหลัก มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกระบวนการ 25.31 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 (95% ,p&lt;.001) และความฉลาดทางอารมณ์ ทุกด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ คือ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ร้อยละ 91.11 , 91.11 และ 100 ตามลำดับ</p> วิชิตา ถิ่นวัน Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271089 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลปากพนัง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271236 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีกลุ่มเปรียบเทียบ (quasi-experimental research) วัดผลโดยการเปรียบเทียบการรับรู้การเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการส่งเสริมด้วยเครื่องมือ และตัวชี้วัดการใช้ระบบ Stroke Fast Track วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบ t-test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยการทดสอบ Chi-square test<br /> ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มอาการ Stroke มีความรู้เรื่องอาการสำคัญของ Stroke และขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดอาการมากยิ่งขึ้นหลังได้รับเครื่องมือ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.001) และมีความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือในระดับดีมาก ส่งผลทำให้มีการตระหนักรู้การเข้าถึงระบบ EMS และสามารถนำไปใช้ได้ในกลุ่มสมาชิกในบ้านให้สามารถเฝ้าระวังและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ประสิทธิภาพของการใช้รูปแบบการเข้าถึงบริการแพทย์ฉุกเฉินพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการ Stroke เข้าถึงบริการ EMS (Stroke Fast Track) ภายในเวลา 180 นาที (100%) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่มาด้วยอาการ Stroke คิดเป็น 100% (24/24 ราย) มีการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยมีระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนได้รับการส่งต่อใช้เวลาเฉลี่ย 18.04 ±8.01</p> อาริยา จันทร์นวล , ธเนศ สังข์ศรี Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271236 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271249 <p> การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนมและอาศัยอยู่ในตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 198 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ ฟิชเชอร์ เอกแซค และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br /> ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 52.02 ความสัมพันธ์หระว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานพบว่า ระดับการศึกษาและระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานพบว่า การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> รัชนี วุฒา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271249 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271250 <p> การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเผลการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกต่อความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและคุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดด้านผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยหนัก หออายุรกรรมชาย หออายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จำนวน 45 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired sample t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการทดลองแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 ผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยพบว่า อัตราการได้รับ Antibiotic ภายใน 1 ชม. (นับจากเวลาได้รับการวินิจฉัย) อยู่ที่ร้อยละ 100 อัตราการเจาะ H/C ก่อนให้ Antibiotic อยู่ที่ร้อยละ 100 อัตราการได้รับ IV 30 ml/kg (1.5 ลิตร สำหรับผู้ใหญ่) ใน 1 ชม.แรก อยู่ที่ร้อยละ 100 </p> พรทิพย์ ยศประสงค์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271250 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271305 <p> กรณีศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องกรณีศึกษา 2 ราย โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย นำมาปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น<br /> ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มาด้วยอาการปวดท้อง น้ำยาล้างไตขุ่น ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ผู้ป่วยรายที่ 1 มีการแพร่กระจายเชื้อในช่องท้องอย่างรวดเร็ว มีไข้ หลังได้ยาปฏิชีวนะอาการไม่ดีขึ้น ได้เอาสายล้างไตออก และเปลี่ยนการรักษาเป็นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมชั่วคราว ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ไม่มีไข้ ได้รับการทบทวนและส่งเสริมการดูแลตนเอง จนผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถล้างไตต่อที่บ้านได้ ในการพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อและความยุ่งยากของการพยาบาลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความล่าช้าของการเข้าถึงบริการเมื่อเกิดอาการ การวินิจฉัยรักษาและความสามารถในการปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้องของผู้ป่วย</p> เฟื่องฝน เบ้าจรรยา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271305 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271309 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และประสิทธิผลของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากร จำนวน 11 คน และผู้ป่วยผู้ป่วยหนักศัลยกรรม จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลและข้อมูลผู้ป่วย CVI= 1, แบบสอบถามความรู้ KR-20= 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)<br /> ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยใช้วงล้อ PDSA ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การออกแบบ 3) การเรียนรู้ 4) การนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 5) การนิเทศ ผลการพัฒนาได้คู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาล มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (assessment of readiness to wean) 2) การทดสอบการหายใจเอง (spontaneous breathing trial) 3) การถอดท่อช่วยหายใจ (extubation) หลังพัฒนาส่วนใหญ่มีบุคลากรมีความรู้ในระดับดีเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 18.2 เป็นร้อยละ 90.9 ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจในระดับสูงเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 72.7 เป็น ร้อยละ 90.9 มีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.48, S.D.=0.71) ผลลัพธ์ในผู้ป่วย พบว่า หลังพัฒนา เสียชีวิตลดลง จากร้อยละ 31.6 เป็นร้อยละ 10.5 ไม่มีภาวะช็อคร่วมกับหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) ลดลงจากร้อยละ 78.9 เป็นร้อยละ 89.5, ภาวะ septic shock ลดลงจากร้อยละ 68.4 เป็นร้อยละ 63.2</p> พัชลาวัล สาระพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271309 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันร่วมกับระยะฟื้นฟู : กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272042 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การนำกระบวนการพยาบาลประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันร่วมกับระยะฟื้นฟู เลือกศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จำนวน 1 ราย ศึกษาโกดยใช้กรอบแนวคิดตามขั้นตอนกระบวนการพยาบาล ร่วมกับหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาล : 7 Aspects of care โดยแก้ไขปรับปรุงแผนการพยาบาลให้เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลง<br /> ผลการศึกษา พบว่า จากกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันร่วมกับระยะฟื้นฟู เป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 72 ปี เข้ารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชในโรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ด้วยอาการแขนขาซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว มุมปากซ้ายตก ได้ให้การดูแลรักษาเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนสงสัยจากการตีบตันของหลอดเลือดสมอง ป้องกันการเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงจนผู้ป่วยปลอดภัยจึงส่งไปรับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลโพธาราม และผ่าตัดสมองที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยหลงเหลือความพิการ พยาบาลให้การดูแลต่อเนื่องโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนช่วยเหลือปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบ้านจนผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองได้ ไม่กลับมาเป็นซ้ำของภาวะโรคหลอดเลือดสมอง</p> ณัฐกมล มุกดา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272042 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลจากรถสูบสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272045 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูล นโยบายศักยภาพและการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เทศบาลหรือ อบต.ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 423 แห่ง และแบบเจาะจงที่จัดทำระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลจำนวน 15 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน<br /> ผลการศึกษาพบว่าเทศบาลหรืออบต. มีข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการปฏิกูลมูลฝอย ร้อยละ67.1 นำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งที่ทางสาธารณะ ร้อยละ 75.9 ด้านนโยบาย พบว่า ร้อยละ 67.8 ของผู้บริหารสนใจการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านศักยภาพ พบว่า ร้อยละ 91.2 เจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในงานขององค์กร และพบว่าผู้บริหารสนใจแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบาย ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่ง<br />ปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล ด าเนินการใน 7 ขั้นตอน ได้แก่1) ด้านการสร้างความสนใจแก่ผู้บริหาร 2) ด้านการสร้างองค์ความรู้ 3) ด้านการสร้างความร่วมมือ 4) ด้านการวางแผนดำเนินการ 5) ด้านกระบวนการจัดทำระบบบ าบัด 6) ด้านการควบคุมกำกับการบริหารจัดการ 7) ด้านการสร้างคุณค่าสร้างแรงจูงใจ</p> วาทินี จันทร์เจริญ, อัญธิกา บรรจงสวัสดิ์, ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272045 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินปลาดิบของประชาชนในพื้นที่ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272197 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินปลาดิบของประชาชนตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 18 – 60 ปี ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 138 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2566 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์รายคู่ขั้นต้น โดยใช้ Chi square, Fisher’s Exact, Simple logistic regression และ Crude Odd วิเคราะห์ปัจจัยทำนายโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression และ Adjusted Odd ratio<br /> ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 76.09 มีอายุเฉลี่ย 40.29 ปี (SD = 11.39 ปี) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 86.23 การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 63.77 มีรายได้เฉลี่ย 11,720.00 บาท (SD=9,047.70 บาท) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 89.13 และมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 17.39 พฤติกรรมการกินปลาดิบและการตรวจพยาธิ พบว่า พฤติกรรมกินปลาดิบในรอบ 1 ปีร้อยละ 18.12 (95%Cl :4.0–8.9) มีการตรวจหาไข่พยาธิในรอบปีที่ผ่านมาร้อยละ 57.97 (95%Cl :16.6–24.7) การใช้ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับในรอบปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 50.00 (95%Cl :14.0–21.6%) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการกินปลาดิบมีโอกาสเสี่ยงในระดับมากค่าเฉลี่ย 2.84 ครั้ง (S.D.=0.96ครั้ง) (95%CL2.74-2.80) การรับรู้ความรุนแรงของการกินปลาดิบอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย2.75 ครั้ง(SD.=0.13 ครั้ง)(95%Cl:2.63–2.81) การรับรู้ประโยชน์ของการไม่กินปลาดิบอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 0.76 ครั้ง(SD.=0.53ครั้ง)(95%Cl:2.62–2.69) แรงสนับสนุนทางสังคมในการกินปลาดิบในภาพรวมระดับมากค่าเฉลี่ย 2.82 ครั้ง(SD.=0.37ครั้ง)(95%Cl:2.79–2.85) บรรทัดฐานกลุ่มของการกินปลาดิบระดับมากค่าเฉลี่ย 2.88 ครั้ง(SD.=0.35ครั้ง)(95%Cl:2.73–2.88) ความตั้งใจในการกินปลาดิบระดับมากค่าเฉลี่ย 2.88 ครั้ง(SD.=0.53ครั้ง)(95%Cl:2.81–2.87) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินปลาดิบ ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่า/แยก(Adj.OR=1.31,95%Cl:0.43-3.98.14;p-value=0.548) อาชีพรับจ้าง(Adj.OR=11.30,95%Cl:2.96-43.14;p-value=0.002) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์(Adj.OR=11.12,95%Cl:4.29-23.88;p-value=0.002)</p> เมืองแมน มนัสศิลา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272197 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271477 <p> การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 2) พฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 3) ความสัมพันธ์หระว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถและอาศัยอยู่ในตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 173 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.46 มีอายุอยู่ในช่วง 61-70 ปี ร้อยละ 57.80 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 67.63 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 63.00 มีรายได้อยู่ในช่วง 0-5000 บาทร้อยละ 55.50 ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 11 ปีขึ้นไป ร้อยละ 36.42 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.97 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบา หวาน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และภาพรวมทั้งหมดมีการรับรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 99.42 87.85 97.11 72.25 และ 98.84 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.46 ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับกับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ตามลำดับ โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนไดร้อยละ 34.60 (R<sup>2</sup>=.346) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 </p> เลิศวิทย์ เหลือผล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271477 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่คลินิกเบาหวานในชุมชน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271480 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Study) แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง(The One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกเบาหวานในชุมชน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบวัดความพึงพอใจ ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติ โดยใช้สถิติ paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /> ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง จำนวน 6 ด้าน ดังนี้ 1) อาหาร 2) ออกกำลังกาย 3) อารมณ์ ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมภายหลังการทดลองสูงกว่าหลังทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 4) สูบบุหรี่ 5) สุราหรือแอลกอฮอล์ และ 6) ระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสามารถลดความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ การดื่มสุราและแอลกอฮอล์ และระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ชัญญาภัค กฤตประวีร์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271480 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271416 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 302 คน โดยเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br /> ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.5 มีอายุเฉลี่ย 45.39 ปี ส่วนใหญ่อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 34.1 รายได้ต่อเดือน น้อยกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 55.3 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,423.84 บาท ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือระดับประถมศึกษา ร้อยละ 40.1 ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกาย 23.0-24.9 (เริ่มอ้วน) ร้อยละ 45.0 ส่วนใหญ่มีระดับความดันโลหิต คือ ความดันโลหิตค่อนข้างไปทางสูง (SBP 120-129 และ DBP &lt; 80) ร้อยละ 33.8 มีระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตนด้านการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.0 ระดับความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.2 และระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับพฤติกรรมพอใช้ ร้อยละ 67.5 ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยด้านความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในเชิงบวกระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; .05, r=.557) และระดับดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; .05)</p> วีระพงษ์ ศรีประทาย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271416 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271493 <p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi experimental research) เป็นการศึกษากลุ่มเดียวโดยวัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลและพัฒนาความรู้ความสามารถ ของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จำนวณ 38 คนในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบฟอร์มเก็บข้อมูลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแก่พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลบ้านไผ่ <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.41 (S.D. = 0.002) หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแก่พยาบาลวิชาชีพ ของโรงพยาบาลบ้านไผ่ <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.98 (S.D. = 0.134) คะแนนความรู้ภายหลังได้รับการอบรมทันทีสูงกว่าก่อนได้รับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( P-value = 0.04)</p> วรารัตน์ จันทร์คุ้ม, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา, นฤมล สินสุพรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271493 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2566 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271684 <p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ขั้นตอนการรายงานโรค คุณลักษณะเชิงปริมาณ และคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ซึ่งเลือกโรงพยาบาล 4 แห่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง การประเมินคุณลักษณะเชิงปริมาณ จะใช้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD-10 ที่กำหนด จำนวน 377 ราย เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง. 506) ส่วนการประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังโรค จำนวน 32 คน<br /> ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานทุกแผนกของโรงพยาบาล เมื่อพบว่าแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยเป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก พยาบาลประจำแผนกจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคทราบ ทางช่องทางต่างๆ ทันที และในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่งานระบาดวิทยาจะตรวจสอบ รวบรวมรายชื่อ และสอบสวนโรคเฉพาะราย รายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) คุณลักษณะเชิงปริมาณ มีความครบถ้วนหรือความไว ร้อยละ 53.33 ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้ ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 100 ซึ่งอยู่ในระดับดี ทุกตัวแปรมีความถูกต้อง ร้อยละ 100 เป็นตัวแทนของสถานการณ์จริงได้ และมีการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ภายใน 24 ชั่วโมง ทันตามเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100 และ (3) คุณลักษณะเชิงคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้วยเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย ตระหนักในความสำคัญ และการยอมรับในความน่าเชื่อถือของข้อมูล เนื่องด้วยมีการตรวจสอบความถูกต้อง จากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสอบสวนและควบคุมโรคได้ ระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ไม่ซับซ้อน มีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก สามารถรายงานผ่านช่องทางที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ และประยุกต์ใช้ร่วมกับการเฝ้าระวังโรคติดต่อโรคอื่นๆ ได้</p> ชัยณรงค์ สุขขำ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271684 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272198 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบ: กรณีศึกษา 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบ กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพ การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล<br /> ผลการศึกษาพบว่า แพทย์วินิจฉัยเป็น Septic shock โดยเน้นการให้ออกซิเจน การให้สารน้ำอย่างพียงพอ การให้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด เพื่อเพิ่มความดันโลหิต การส่งเลือดตรวจเพาะเชื้อ การให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักวิกฤต มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ลักษณะคล้ายกัน คือ ภาวะของเสียคั่งในร่างกาย มีภาวะเลือดเป็นกรด มีภาวะโพแทสเซียมในร่างกายสูง ได้รับการรักษาเหผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (CRRT) ผู้ป่วยรายที่ 1 ญาติตัดสินใจในการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องหลังจากที่แพทย์ให้ข้อมูลทันที ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ญาติไม่สามารถตัดสินใจได้ ระยะเวลาที่รอญาติตัดสินใจในการรักษาบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องประมาณ 4 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยทั้ง 2 รายจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่คล้ายคลึงกัน แต่ความรุนแรงของโรค มีความแตกต่างกัน</p> พรทิพา พรรณา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272198 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272113 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่ได้รับยาละลาย ลิ่มเลือด โดยศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่ได้รับยา ละลายลิ่มเลือด 2 ราย เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ และ วางแผนการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล<br /> ผลการศึกษาพบว่า การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดในปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดสามารถให้การรักษาได้ โดยความรวดเร็ว ในการรักษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะยิ่งปล่อยไว้ จะทำให้สมองเกิดความเสียหายมากขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาภายใน ระยะเวลา 3-4.5 ชั่วโมงยาที่แพทย์มักใช้ในการรักษาได้แก่ ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษาเข้าระบบ stroke fast track และได้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA</p> อำนาจ พิมพาต Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272113 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่กลับเป็นซ้ำ ในระบบประสาทส่วนกลางที่ต้องวางยาสลบขณะฉายรังสี: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272114 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่กลับเป็นซ้ำในระบบประสาทส่วนกลางที่ต้องวางยาสลบขณะฉายรังสีศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาที่งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 2 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์ผู้ดูแล โดยใช้แบบแผนการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน ปฏิบัติการพยาบาลและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน<br /> ผลการศึกษา พบว่า มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลคล้ายคลึงกัน 5 ข้อ คือข้อที่ 2 ผู้ป่วยและญาติมีความ กลัว วิตกกังวล ข้อที่ 4 มีภาวะขาดสารน้ำสารอาหารและความไม่สมดุลของเกลือแร่ ข้อที่ 5 ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ในการดูแลผิวหนังบริเวณที่รับการฉายรังสี ข้อที่ 8 เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันถูกกดจากการฉายรังสี และข้อที่ 9 ผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยหลังฉายรังสี ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกันมี 4 ข้อ คือข้อที่ 1ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการฉายรังสี ข้อที่ 3 ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนรับการวางยาสลบเพื่อฉายรังสี ข้อที่ 6 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะที่ต้องอยู่ในห้องฉายเพียงลำพังหลังจากการวางยาสลบ และข้อที่ 7 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายภายหลังการวางยาสลบ ซึ่งพบในผู้ป่วยรายที่ 1 ผลลัพธ์การพยาบาล พบว่า ปัญหาทางการพยาบาลได้รับการแก้ไขและวางแผนดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการฉายรังสีครบและจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย</p> พัทธิรา จันทะดวง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272114 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272115 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ที่งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่นจำนวน 2 ราย ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ถึงเมษายน 2566 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การซักประวัติจากผู้ป่วย การสอบถามข้อมูลจากบุคลากรประจำห้องรังสีรักษา วิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพ ประเมินปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แบบแผนการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน และใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน แบ่งการพยาบาลเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกรับ ระยะอาการคงที่ต่อเนื่อง และระยะจำหน่ายติดตามต่อเนื่อง<br /> ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ที่เหมือนกันทั้งหมด 7 ข้อ ได้แก่ 1) มีภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย เนื่องจากมีเลือดออกขณะทำแผล 2).ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลที่มะเร็งเต้านมลุกลาม3) มีภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย 4).ติดเชื้อแผลเต้านมเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ 5). วิตกกังวลเนื่องจากสูญเสียภาพลักษณ์มีแผลเปิดและมีสารคัดหลั่งซึมออกจากเต้านม 6).ส่งเสริมการจัดการตนเองเมื่อกลับบ้านและการดูแลต่อเนื่อง 7) การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติเข้ารับการดูแลแบบประคับประคอง ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ต่างกัน กรณีศึกษารายที่1 คือ 1) ผู้ป่วยไม่พร้อมในการรักษาเนื่องจากมีปัญหาการจัดการการดูแลในครอบครัว กรณีศึกษารายที่ 2 1) วิตกกังวลเนื่องจากเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำของโรค มีอาการรุนแรงมากขึ้น 2) มีภาวะข้อไหล่ติด และไหล่ซ้ายบวม เนื่องจากขาดความรู้ในการบริหารแขนไม่ถูกต้อง 3) มีผิวหนังหลุดลอกระดับ 3 เนื่องจากผลข้างเคียงของรังสีรักษา ผลลัพธ์การพยาบาล พบว่า ปัญหาทางการพยาบาลได้รับการแก้ไขและการดูแลอย่างต่อเนื่อง สามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนได้ ได้รับการรักษาครบตามแผนการรักษา</p> วัชรินทร์ ทวีชัย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272115 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบปริมาณรังสียังผลก่อนและหลังการปรับพารามิเตอร์ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้องของโรงพยาบาลอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272116 <p> การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสียังผลที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการปรับพารามิเตอร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มาตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลอุดรธานี โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 52 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลข้อมูลปริมาณรังสี โดยเก็บรวมรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากระบบ PACS โรงพยาบาลอุดรธานี 2 กลุ่ม กลุ่ม1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 และกลุ่ม 2 ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่ามัธยฐาน<br /> เมื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสียังผลที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลอุดรธานี ภายใต้จำนวนรอบหรือ phase ของการสแกนที่เท่ากัน พบว่าการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก ช่องท้องส่วนบนและช่องท้องทั้งหมด ก่อนปรับพารามิเตอร์มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 19.44 34.35 และ 45.94 mSv หลังปรับพารามิเตอร์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.87 15.33 และ 20.23 mSv </p> พิชญ์ธาดา วรภคปกรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272116 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา : กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272155 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาจำนวน 2 ราย เป็นการศึกษารายกรณี ในผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่นจำนวน 2รายโดยเก็บรวบรวมข้อมูล ประวัติการเจ็บป่วย การรักษา จากเวชระเบียน และประเมินภาวะสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพ11 แบบแผนของกอร์ดอนวางแผนการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์<br /> ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสองราย มีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1) พฤติกรรมสุขภาพ ดื่มสุรา สูบบุหรี่เป็นประจำ 2) การวินิจฉัยโรค 3) ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา 4) ภาวะแทรกซ้อน และมีความแตกต่างกันดังนี้ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ โรคเรื้อรังประจำตัว 2) อาการและการแสดง 3)ภาวะแทรกซ้อนขณะดูแล หลังให้ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา ทั้ง 2รายพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนขณะรักษา ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษา ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีการเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล เสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยและญาติในการเข้ารับการรักษา ดังนั้น พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญ ทักษะ เพื่อให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> เพทาย เทพรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272155 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับอก จากมะเร็งแพร่กระจายมากระดูกสันหลัง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272154 <p> รายงานการศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับอก จากมะเร็งต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน แพร่กระจายมาที่กระดูกสันหลังเหมือนกัน จำนวน 2 ราย โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรคมะเร็งแพร่กระจายมากระดูกสันหลัง โรงพยาบาลสกลนคร ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - วันที่ 30 มีนาคม 2566 จำนวน 2 ราย<br /> ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษาแบบประคับประคองด้วยการผ่าตัดเชื่อมยึดด้วยโลหะเพื่อลดความปวดจากมะเร็งกระดูกกดเบียดเส้นประสาท และป้องกันภาวะทุพพลภาพ จากกระดูกสันหลังเสื่อม ยุบ หัก กดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับอก 5 ระดับเหมือนกัน แต่ใช้เวลาในการผ่าตัดและสูญเสียเลือดระหว่างผ่าตัดไม่เท่ากัน ระยะหลังผ่าตัด ผู้ป่วยมีความต้องการการดูแลที่ต่างกัน ได้รับการจัดการความปวดแบบเดียวกัน ได้รับการดูแลและมีความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง สามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายและจำหน่ายกลับบ้านได้โดยความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ ให้ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองในกิจวัตรประจำวัน และสามารถทำกิจกรรมประจำวันอื่นๆ ได้ใกล้เคียงปกติ</p> พัชริดา นพศรี Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272154 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272151 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จำนวน 15 คน เครื่องมือประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความสอดคล้องทางด้านเนื้อหารวม (S-CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ด้วยความถี่และร้อยละ<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ประกอบด้วย 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 การคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้ากับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หมวดที่ 2 การให้การพยาบาลผู้ป่วยตาม Resuscitation Bundle ในระยะ 6 ชั่วโมงแรก หมวดที่ 3 การเฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วยขณะที่ให้การดูแลตาม Resuscitation Bundle หมวดที่ 4 การประเมินและการจำหน่ายออกจากแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน 2) การประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนมไปใช้ โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินจำนวน 15 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94.5 เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลมีความง่ายต่อการนำไปใช้ และร้อยละ 98.2 เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลสามารถนำไปใช้ปฏิบัติใช้ได้จริง</p> ประภากร วงษ์พันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272151 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมการสอนแนะและพัฒนาทักษะผู้ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272148 <p> การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมการสอนแนะและพัฒนาทักษะผู้ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอสม. หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและแบบประเมินการฝึกทักษะตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการศึกษาก่อน-หลัง ด้วยสถิติ paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ 1) ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 7.93 อยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.83 อยู่ในระดับดีมาก เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและการป้องกันการติดเชื้อ ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 8.67 อยู่ในระดับดีมาก หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.77 อยู่ในระดับดีเยี่ยม เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านทักษะการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ 1) การล้างมือ 7 ขั้นตอน 2) การสวมใส่และถอดถุงมือ 3) การใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก 4) การสวมใส่เสื้อคลุมแบบสะอาด ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วงไม่ปฏิบัติ จำนวน 2-3 ข้อ หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วงปฏิบัติถูกต้องทุกข้อ การนำผลงานวิจัยไปใช้ อสม. หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver)อายุที่เข้าร่วมอบรมตามโปรแกรมฯ ดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน จำนวน 28 ราย เมื่อติดตามผู้ป่วยครบ 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ</p> ภาณินนุช เณธิชัย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272148 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหอบกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272146 <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหอบกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้รับการสุ่มแบบง่าย จำนวน 65 คน มี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินปัจจัยเสี่ยง แบบวัดความรู้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพใช้คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลลัพธ์ ก่อน-หลัง การพัฒนารูปแบบฯ โดยใช้สถิติ paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 65 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 53 คน ร้อยละ 81.5 อายุ 70 ปีขึ้นไปมากที่สุด จำนวน 25 คน ร้อยละ 28 มีประวัติการสูบบุหรี่ จำนวน 44 คน ร้อยละ 67.7 ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหอบกำเริบมากที่สุด คือ ความเย็นและความชื้น ร้อยละ 15.4 รองลงมาคือ ฝุ่น สัตว์เลี้ยง และเกสรดอกไม้ ร้อยละ 13.9, 12.3 และ 12.3 ตามลำดับ หลังการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น (ก่อน; <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 7.38, SD=1.548, หลัง;<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 9.85, SD=.441) และแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองพบว่า ด้านการใช้ยาและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.41-4.20) การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=2.61-3.40) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพรายด้านแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> นวพร เกตสุระ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272146 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271661 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5 ไมครอน(PM<sub>2.5</sub>) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรอบรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดนครพนมดยใช้ประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health Literacy–EHL) ของ Sorensen. K. และคณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครพนม จำนวน 374 คน สุ่มโดยวิธีหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความตรงตามเนื้อหาและหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาคได้เท่ากับ .985 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคล์สแควร์<br /> ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง วิเคราะห์รายด้านพบความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับสูง รองลงมาเป็น ด้านการตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม และด้านการเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบปัจจัยเพศมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 อายุมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 และความรอบรู้โดยภาพรวม ส่วนระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมและความรอบรู้โดยภาพรวม</p> เจริญชัย หมื่นห่อ, อรอุมา แก้วเกิด, ธงชัย อามาตยบัณฑิต, ศุภวรรน ยอดโปร่ง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271661 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน ต่อความรู้ การคลอดก่อนกำหนดและการกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271699 <p> การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน ต่อความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดและการกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ณ โรงพยาบาลกุมภวาปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 24 – 36 สัปดาห์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และเข้ารับบริการรักษาโดยการยับยั้งการคลอด ที่ห้องคลอด โรงพยาบาลกุมภวาปี จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดก่อนและหลังการทดลอง<br /> ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 6.67 คะแนน(S.D.=1.80) อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 9.77 คะแนน(S.D.= 0.43) อยู่ในระดับสูง และพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (t=9.820, p-value &lt;0.001, 95% CI = 2.45 – 3.74) และนอกจากนี้สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน สามารถยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 และไม่มีการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.3</p> เครือวัลย์ พลาชัยภิรมย์ศิล, อรพนิต ภูวงษ์ไกร, ภริญพัทธ์ สายทอง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271699 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271697 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปรียบเทียบการรับรู้ ความตระหนักรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกหว่างก่อนและหลังการดำเนินกระบวนการการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มทดลองจำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบใช้สถิติ paired sample t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /> ผลการวิจัย พบว่า ด้านการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังทดลอง มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.16) และก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย 3.47 (S.D.=0.27) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value&lt;0.001, 95%CI=0.71-0.86), ด้านความตระหนักรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก หลังทดลองมีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.19) และก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย 3.58 (S.D.=0.33) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value&lt;0.001, 95%CI=0.57-0.77), และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังทดลองมีค่าเฉลี่ย 3.31 (S.D.=0.16) และก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย 2.66 (S.D.=0.67) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value&lt;0.001, 95%CI=0.48-0.82) และหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีความเข้าใจต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.79 คะแนน (S.D.=0.131)</p> ภรณ์ทิพย์ ปานเชียงวงษ์, วรกร วิชัยโย, ธีรนาถ สุวรรณเรือง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271697 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271845 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาการติดเชื้อและการสร้างโปรแกรม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมและศึกษาผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่คาสายสวนปัสสาวะ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ 1) แบบประเมินการปฏิบัติตามโปรแกรม 2) แบบประเมินความเป็นไปได้ของโปรแกรม 3) คู่มือของโปรแกรม 4) สื่อการสอน 5) แผนการสอน ระยะที่ 2 ได้แก่ 1) แบบติดตามการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้ web app notify 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของการใช้โปรแกรม 3) เวชระเบียน 4) คู่มือ 5) สื่อให้ความรู้ ระยะเวลาดำเนินงาน ระยะที่ 1 เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2566 ระยะที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2566 ทั้ง 2 ระยะใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) ได้โปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามโปรแกรมหลังใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม 3) ความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมาก 4) ค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแบบติดตามการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้ web app notify หลังใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม 5) ความคิดเห็นการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมาก 6) ไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่า 7) วันนอนเฉลี่ยของการติดเชื้อลดลง จาก 6 วันเป็น 0 วัน 5) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจากการติดเชื้อลดลงจาก 2,080 บาท/ราย เป็น 0 บาท/ราย</p> โฉมฐิตาภา ศิริมา, สุลาลักษณ์ จำเรียง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271845 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีโรคร่วมได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272061 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย ในผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีโรคร่วมได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อเปรียบเทียบ สาเหตุการเกิดโรค อาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน โดยใช้วิธีศึกษาด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากประวัติเวชระเบียน การสังเกต และการสัมภาษณ์ ประเมินตามกรอบการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ปฏิบัติการพยาบาลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ในระยะก่อนการผ่าตัด หลังการผ่าตัด การฟื้นฟูสภาพ และการดูแลต่อเนื่อง โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy adaptation theory) สู่การปฏิบัติการพยาบาลในระยะนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเรียนรู้ ส่งเสริมศักยภาพ ปรับตัว ได้อย่างเหมาะสม ใช้ระยะเวลาศึกษา เดือนมกราคม 2566 – สิงหาคม 2566 <br /> ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมของกรณีศึกษาผู้สูงอายุทั้ง 2 ราย ที่เหมือนกันคือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยกรณีศึกษาที่1 หญิงสูงอายุรูปร่างท้วมก่อนผ่าตัดควบคุมโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาที่ใช้อยู่เป็นประจำ รักษาด้วยการผ่าตัด Bilateral Total knee arthroplasty (TKA) with medial release โดย ทำ epidural block in bilateral TKA จัดการอาการปวดด้วย Epidural morphine 72 ชั่วโมงหลัง และบริหารข้อเข่าทั้ง 2 ข้าง โดยใช้เครื่องบริหารข้อเข่าต่อเนื่อง ได้ 0-120 องศา ฝึกเดินด้วยเครื่องพยุงเดิน 4 ขา ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล 8 วัน ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 หญิงสูงอายุกว่า รูปร่างผอม มีโรคประจำตัวเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 โรคโลหิตจางเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาไม่ต่อเนื่อง รักษาด้วยการผ่าตัด Left knee arthroplasty หลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมง มีอาการ Acute chest pain รักษาด้วยยา ASA gr.V, Palvix, Enoxaparin หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง อาการดีขึ้น บริหารข้อเข่าซ้าย เครื่องบริหารข้อเข่าต่อเนื่องได้ 0-90 องศา และฝึกเดิน ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล รวม 10 วัน กรณีศึกษาทั้ง 2 รายนัดติดตามการรักษา 2 สัปดาห์ โดยกรณีศึกษารายที่ 2 นัดฟื้นฟูสภาพข้อเข่าที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่นทุกวัน</p> ภณิชชา เฮ้าประมงค์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272061 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272062 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อายุ 35-59 ปี ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ที่มีผลการคัดกรองยืนยันความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรกลุ่มตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และอภิปราย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test<br /> จากการศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพแต่ละด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 46.0 หลังการพัฒนาร้อยละ 40.0 แต่ระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.8 เป็นร้อยละ 36.0 ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพ ก่อนการพัฒนา ร้อยละ 48.3 หลังการพัฒนาเพิ่มเป็นร้อยละ 62.0 ด้านการสื่อสารสุขภาพ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 56.8 หลังการพัฒนาร้อยละ 60.5 ด้านการจัดการตนเอง ก่อนและหลังการพัฒนาร้อยละ 61.8 แต่ระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.8 เป็นร้อยละ 30.5 และด้านพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังการพัฒนา ร้อยละ 66.8 แต่ระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.0 เป็นร้อยละ 25.0 และส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี 2 ด้าน คือ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 73.3 หลังการพัฒนาร้อยละ 86.8 และด้านทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 48.4 หลังการพัฒนาร้อยละ 56.9 โดยทุกด้านมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=&lt;0.05) </p> ถนัต จ่ากลาง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272062 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272498 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และทักษะก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผู้นำชุมชน ในพื้นที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน และความพึงพอใจ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการทดสอบที่แบบกลุ่มสัมพันธ์<br /> การศึกษานี้ทำให้ได้ประกอบด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย คือ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2 ทักษะการประเมินสถานการณ์ 3 ทักษะการประเมินสภาพผู้ป่วย และ 4 ทักษะการห้ามเลือดและทำแผล ผลลัพธ์จากการนำชุดกิจกรรมไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-23,893, p &lt; 0.01) และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ธันยนันท์ กัญญวิมล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272498 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมการพยาบาล “มาเบิ่งเด้อ” สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส โรงพยาบาลน้ำโสม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272499 <p> การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้ เพื่อศึกษาพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล “มาเบิ่งเด้อ” และศึกษาประสิทธิผลนวัตกรรม “มาเบิ่งเด้อ” สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมการพยาบาล“มาเบิ่งเด้อ” แบบบันทึกผลปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV viral load) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed ranks test ดำเนินการ 2 วงรอบโดยวงรอบที่ 1 เป็นการศึกษาผลปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV viral load) หลังใช้นวัตกรรม“มาเบิ่งเด้อ”แบบย้อนหลัง(Retrospective study) และวงรอบที่ 2 เป็นการศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบศึกษาไปข้างหน้า(Prospective study) <br /> ผลวิจัยพบว่า หลังใช้นวัตกรรม “มาเบิ่งเด้อ” ผลปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV viral load) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p&lt;.001) และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับสูง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p &lt;0.05)</p> หงษ์ทอง บุตรพรม, นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, อัจฉรา คำมะทิตย์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272499 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาระยะเวลาการกลับมาอ้าปากปกติภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีกระดูกขาไกรรไกรล่างหักและยึดตรึงกระดูกขากรรไกรบนล่าง (maxillo-mandibular fixation) ด้วยลวดเปรียบเทียบกับการใช้ยาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272500 <p> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการกลับมาอ้าปากปกติของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องยึดตรึงกระดูกขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกันอีก 1-2 สัปดาห์ ระหว่างการใช้ลวด (stainless steel wire no 25) เทียบกับการใช้ ยางดึงฟัน (interarch elastic) กลุ่มตัวอย่าง วินิจฉัยกระดูกขากรรไกรล่างหัก ระหว่างปี 2555 – 2565 จำนวน 162 คน แบ่งเป็นกลุ่มใช้ลวดมัดฟันจำนวน 87 คน ใช้ยางมัดฟันจำนวน 75 คน เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก และผลการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ และการทดสอบที<br /> ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน ผลการรักษา ในกลุ่มที่ใช้ยางมัดฟันมีปัญหากาสบฟันผิดปกติจำนวน 1 คน ระยะเวลาการกลับมาอ้าปากปกติภายหลังการผ่าตัดในกลุ่มที่ใช้ยางมัดฟันน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ลวดมัดฟันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.38±0.489, 1.97 ± 0.156, p=0.000)</p> อตินาต ธรรมรัชสุนทร Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272500 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272501 <p> การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จำนวน 302 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็น Categorical data ใช้ Chi-square test ในกรณีไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะใช้ Fishers’ exact test แทน<br /> ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.3 รองลงมาความรู้ระดับดี ร้อยละ 28.5 และมีความรู้ระดับน้อย ร้อยละ 64 มีการออกกำลังกายน้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 92.1 โดยใช้เวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งน้อยกว่า 30 นาที พฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 95.7 เพศหญิงมีโอกาสที่จะมีภาวะโภชนาการเกินมากกว่าเพศชาย 1.71 เท่า กลุ่มอายุ 14-15 ปี มีโอกาสที่จะมีภาวะโภชนาการเกินมากกว่านักเรียนกลุ่มอายุ 12-13 ปี 2.6 เท่า เมื่อควบคุมปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่า กลุ่มอายุ มีผลต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มอายุ 14-15 ปีมากกว่านักเรียนกลุ่มอายุ 12-13 ปี 2.76 เท่า (P-value &lt; 0.001)</p> ณัฐวดี เยาวะศรี, กิตติ เหลาสุภาพ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272501 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272502 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 67 คน ผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Activity Daily Living : ADL) ของสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององคการอนามัยโลกชุดยอ ฉบับภาษาไทย ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลบ้านแพง คู่มือการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษา : 1) ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Activity Daily Living : ADL) ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังการพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) คุณภาพชีวิตภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังการพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังการพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 </p> ประเดิม อภัยโส Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272502 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272503 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบก่อนและหลังชนิดแบบ 1 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ที่มีความสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการ ในระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม 2567 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผลลัพธ์ทางคลินิกโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลลัพธ์ทางคลินิกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย, ระดับน้ำตาลในเลือด, ความดันโลหิต, ระดับไขมันรวมโคเลสเตอรอลในเลือด ระดับไขมันในเลือดชนิดไม่ดีแอลดีแอล ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ และระดับไขมันในเลือดชนิดดีเอชดีแอล พบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วันวิสาข์ บัวสาย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272503 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272504 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบก่อนและหลังชนิดแบบ 1 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลตนเองตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ทำการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2567 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไต การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตและผลลัพธ์ทางคลินิกโดยสถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test<br /> ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ดัชนีมวลกาย, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ความดันโลหิต, ระดับไขมันในเลือดและอัตราการกรองของไต พบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> บุษรินทร์ สุวรรณมาโจ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272504 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชุมพร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272075 <p> การวิจัยเชิงสำรวจ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 143 ราย สุ่มแบบบังเอิญจากพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล 5 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 6 ด้าน ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา 1 และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br /> ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม การปฏิบัติทางการพยาบาล ทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล การสื่อสาร และการบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานทั้งหมด และประวัติการได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมทางการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ</p> เรณู สุวรรณเนาว์, วิษณุ อนิลบล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272075 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบผลของการรับประทานยาบำรุงเลือดในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ต่อระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272506 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการทดลองไปข้างหน้า (Prospective experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการรับประทานยาบำรุงเลือด ObiminAZ® และ Triferdine ในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย รวมทั้งศึกษาข้อมูลทั่วไปและอาการข้างเคียงจากการรับประทานยาต่อระดับ TSH ในทารกแรกคลอด ด้วยการสุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์จำนวน 397 คนในปี พศ. 2560-2562 ต่อระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอดเมื่อครบ 48 ชม. แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยา Obimin AZ® 199 คน และTriferdine 198 คน และตรวจระดับ TSH ในทารกแรกคลอดเมื่อครบ 48 ชั่วโมง เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย TSH ทั้งสองกลุ่ม การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ Independence t-test และ F-test<br /> ผลการศึกษา : พบว่าค่าเฉลี่ยระดับฮอร์โมน TSH ในมารดาที่รับประทาน ObiminAZ® เท่ากับ 6.75 และ 7.10 ในกลุ่ม Triferdine ผลการศึกษาเปรียบเทียบการรับประทานยาบำรุงเลือดทั้ง 2 ชนิดต่อระดับระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=.381) ปัจจัยทั่วไปและอาการข้างเคียงของการรับประทานยาไม่มีผลต่อระดับระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอด</p> สันทัด บุญเรือง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272506 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272507 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวและผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาด้วยรูปแบบ (R&amp;D) ประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ 3C-PDSA ในการศึกษาครั้งนี้ได้หมุน 3 วงรอบการพัฒนา เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย<br /> ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาแนวปฏิบัติทำให้พยาบาลคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยเปรียบเทียบกันก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าและรายงานแพทย์ลดลงจาก 9.60<u>+</u>0.65 นาที เหลือเป็น 5.58<u>+</u>0.83 นาทีต่อราย การประเมินผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98.00 อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 3.77 จากเดิม 15.38 แนวปฏิบัติทางการพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ใช้กระบวนการ 3C-PDSA สามารถใช้งานได้จริงเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย พยาบาลผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติระดับดีมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.83<u>+</u>0.21 ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติติทุกครั้งร้อยละ 98.25</p> ผจงจิต สุวรรณศรี Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272507 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน งานการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272508 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยเบาหวาน งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 24 คน ทำการพัฒนาแนวทาง 2 วงรอบและทำการสรุปถอดบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบประเมินความพึงพอใจของแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาล 2) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.44 เป็นผู้สูงอายุ 66.42<u>+</u>10.76 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำร้อยละ 79.01 รุนแรงร้อยละ 20.98 ผลการทบทวนแนวปฏิบัติเดิมพบว่า มีอุบัติการณ์ของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงร้อยละ 50.00 และผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำร้อยละ 39.84 น้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงจนหมดสติต้องได้รับการช่วยเหลือทันที ร้อยละ 11.63 วันนอนรักษาตัวเฉลี่ยเท่ากับ 5.7 วัน กลับเข้ามารักษาซ้ำอยู่ร้อยละ 10.94 หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล 2 วงรอบและทดลองใช้ ด้านการพยาบาล มีระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุดค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62<u>+</u>0.05 มีการปฏิบัติได้ทุกครั้งมากกว่าร้อยละ 91.71 ด้านผู้ป่วยไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่พบอัตราการเสียชีวิต วันนอนรักษาตัวลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 วัน</p> จันทร์เพ็ญ สีเครือดง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272508 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272509 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 173 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportionated stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้ Chi-square test ในกรณีไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะใช้ Fishers’ exact test แทน<br /> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.1 มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี โรคประจำตัว ประวัติการป่วยเป็นโรคทางจิตเวชของคนในครอบครัว คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ เวลาในการเข้านอนจนหลับไป และจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับได้ในแต่ละคืน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> ธวัชชัย แสวงหา, กิตติ เหลาสุภาพ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272509 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของชุมชน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272510 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของชุมชน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จำนวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 25 คน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 12 คน และเครือข่ายชุมชน 6 คน ซึ่งอาศัยอยู่ ณ ชุมชนเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และแบบวัดความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอันดับที่ pair- t test<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัปดาห์ที่ 12 ภายหลังได้รับโปรแกรม 2) เครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัปดาห์ที่ 12 ภายหลังได้รับโปรแกรม</p> กมลรัตน์ อัมพวา Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272510 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ลักษณะทางจุลชีววิทยา ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อในผู้ใหญ่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา พ.ศ. 2559 – 2563 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272511 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางจุลชีววิทยาของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2559 – 2563 โดย ศึกษาข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้ออายุ 15ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน (In-patient department) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2563 ตามการลงรหัส ICD-10 ที่เข้าได้กับโรคข้ออักเสบติดเชื้อและได้รับการบันทึกวินิจฉัยโรคข้ออักเสบติดเชื้อโดยแพทย์ศึกษาตัวแปร อายุ โรคประจำตัว หอผู้ป่วยขณะนอนโรงพยาบาล ระยะเวลาแสดงอาการอาการแสดงในข้อและนอกข้อ จำนวนข้อที่อักเสบ ตำแหน่งข้อที่อักเสบ จำนวนครั้งของการเจาะข้อ ผลการเจาะข้อ และผลการรักษา ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ผลการศึกษา<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อทั้งสิ้น 274 ราย ได้รับการเจาะข้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 234 ราย และเจาะข้อสำเร็จ 228 ราย ผลการตรวจในจำนวนดังกล่าวไม่พบเชื้อ 150 ราย พบเชื้อ 78 รายเชื้อที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus 33 ราย (42.9%), Group B Streptococcus 14 ราย(18.2%), Streptococcus pyogenase 7 ราย (9.1%), Burkholderia pseudomallei 5 ราย (6.5%) และ Escherichia coli 5 ราย(6.5%) เป็นต้น พบเชื้อดื้อยาในน้ำเจาะข้อของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อจำนวน 9ราย (11.7%) ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อที่พบเชื้อ Group B Streptococcus จากน้ำเจาะข้อมีแนวโน้มพบอาการแสดงข้ออักเสบหลายข้อมากกว่าเชื้ออื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอัตราการเสียชีวิตจำแนกตามผลการติดเชื้อในน้ำเจาะข้อไม่แตกต่างกัน</p> ศรีสกุล เจียมจิต Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272511 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272307 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ศึกษาภาวะสุขภาพจิตของประชาชนภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และระยะที่ 3 ประเมินผลของรูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบการสำรวจสภาพปัญหาด้านสุขภาพจิต (S B S D Survey) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired samples t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ภาวะสุขภาพจิตของประชาชนภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี มีความเครียด ร้อยละ 4.51 และ ภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 11.14 ระยะที่ 2 รูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 2) ด้านการดูแลรักษาและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพจิต 3)ด้านการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต 4) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และระยะที่ 3 หลังจากการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี เป็นไปในทิศทางที่ดี พบว่าระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; .05)</p> นิโลบล ช่วยแสง Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272307 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความพึงพอใจของผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากถอดได้ ด้วยวิธีการพิมพ์แบบดั้งเดิม และวิธีการพิมพ์แบบง่าย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272320 <p> การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และระดับความพึงพอใจต่อการใส่ฟันเทียมทั้งปาก และศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความพึงพอใจต่อการใส่ฟันเทียมทั้งปากระหว่างกลุ่มใส่ฟันเทียมทั้งปากถอดได้ด้วยวิธีการพิมพ์แบบดั้งเดิมและวิธีการพิมพ์แบบง่าย ของกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากถอดได้ ที่ใช้วิธีการพิมพ์แบบดั้งเดิม และวิธีการพิมพ์แบบง่าย ที่โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 16 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ในการคัดเข้าและยินดีเข้าร่วมการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Mann-Whitney U test และ Wilcoxon signed rank test<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 66.4 ± 7.9 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 53.1 และเพศหญิงร้อยละ 46.9 มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.4 และมีความพึงพอใจอย่างมากต่อการใส่ฟันเทียมทั้งปากอยู่ที่ 94.5 ± 4.1 โดยไม่พบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และความพึงพอใจต่อการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ระหว่างกลุ่มผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากถอดได้ด้วยวิธีการพิมพ์แบบดั้งเดิม และวิธีการพิมพ์แบบง่าย (p&gt;.05)</p> กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272320 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตึกพิเศษร่มเย็น 5 โรงพยาบาลลำพูน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272512 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบวัดกลุ่มเดียวก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อการดูแลตามแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กับพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 5 และพยาบาลประคับประคอง โรงพยาบาลลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 7 คน ช่วงระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติและคู่มือในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสำหรับทีมพยาบาลวิชาชีพผู้ร่วมใช้แนวปฏิบัติ และแบบประเมินสำหรับญาติผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติ พบว่าทีมพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.17) และญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีความพึงพอใจในบริการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.07) </p> กาญจนา ประสงค์ทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272512 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ผลตามเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บึงบอน อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272418 <p> การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ผลตามเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บึงบอน อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด &gt; 180 mg/dl หรือค่าน้ำตาลสะสม HbA1c ≥ 7 mg% จำนวน 30 ราย และกลุ่มควบคุมน้ำตาลได้ผลตามเป้าหมายมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด ≤ 180 mg/dl หรือค่าน้ำตาลสะสม HbA1c ≤ 7 mg% จำนวน 285 ราย รวมเป็น 315 ราย เข้ารับการตรวจรักษาระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564 คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.878 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยสถิติ chi- square test<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างตัวแปร ระดับการศึกษา อาชีพ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดครั้งล่าสุด โรคร่วม ระยะเวลาการมีโรคร่วม และมีผู้ดูแลในการจัดยาพบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .05) 2) ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการรับประทานยา และด้านการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05)</p> โสวณี มุกนพรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272418 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ต่อความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272513 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังการทดลอง (One group pre-post research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ และทักษะการเช็ดตัวลดไข้ของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็ก ที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired Samples t-test และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษา พบว่าหลังจากได้รับโปรแกรมผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงมีทักษะการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.3 เป็นร้อยละ 98.0 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีทักษะการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรม และอุณหภูมิกายของผู้ป่วยเด็กหลังจากผู้ดูแลได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วันทนีย์ เชื่อมรัมย์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272513 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติกที่มีภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลสระบุรี: กรณีศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272319 <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติกที่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไข้รูมาติก ทำให้การดำเนินโรครุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูง ผู้ศึกษาได้คัดเลือกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยเด็ก 1 โรงพยาบาลสระบุรี โดยการศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย ประวัติจากผู้ป่วยและญาติ การสังเกต นำมาวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย<br /> ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยเด็กชายไทยอายุ 14 ปี อาการสำคัญ มีไข้ หายใจหอบเหนื่อย ปวดตามข้อ เป็นมา 1 สัปดาห์ แพทย์วินิจฉัย Acute rheumatic fever พบมีการอักเสบที่หัวใจ ลิ้นหัวใจ Mitral valve ลิ้นหัวใจ Aotic รั่วรุนแรง และมีภาวะหัวใจล้มเหลว กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยเด็กหญิงไทยอายุ 14 ปี อาการสำคัญ มีผื่นตามตัว แขนขาเคลื่อนไหวควบคุมไม่ได้ เป็นมา 3 วัน แพทย์วินิจฉัย Acute rheumatic fever พบลิ้นหัวใจ Mitral valve ทำงานผิดปกติ และ มีภาวะขาดดุลเกลือแร่ ทั้ง 2 กรณีศึกษาได้รับการดูแลรักษาจนผ่านพ้นภาวะวิกฤติ และ เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนโดยใช้กระบวนการพยาบาล และการปฏิบัติตามหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ (7 Aspect of Care) จนผู้ป่วยสามารถจำหน่ายกลับบ้าน</p> สุมาลี เตชะ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272319 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272573 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1–6 ปีการศึกษา 2565 จังหวัดสตูล จำนวน 520 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามแรงจูงใจในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) มีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Multiple Logistic Regression Analysis<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=4.05, SD=0.62) 2. ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=4.10, SD=0.60) 3. ด้านความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=3.97, SD=0.66) และ 4. ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=4.02, SD=0.62) และยังพบว่า ความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) และการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05)</p> นวพรรณ ศุขมณี, นภาภรณ์ แก้วเหมือน Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272573 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบขนส่งเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลหนองบัวแดงไปยัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอหนองบัวแดง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272576 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลหนองบัวแดงไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้ทำการวิจัยในพื้นที่เป้าหมายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 13 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บุคลากรสาธารณสุขที่เป็นตัวแทนคณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 13 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลังยาโรงพยาบาลหนองบัวแดง จำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบัวแดง จำนวน 1 คน รวม 16 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบขนส่งเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลหนองบัวแดงไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ต้องเกิดจากการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายประกอบด้วยโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ประกอบด้วยกิจกรรมการพัฒนา 6 ประเด็น คือ 1) การพัฒนาด้านบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ 2) การพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ 3) การพัฒนาด้านวัสดุ และเครื่องมือที่ดำเนินการ 4) การพัฒนาด้านระบบการประกันคุณภาพการขนส่ง 5) การพัฒนาด้านกระบวนขนส่งและความปลอดภัย และ 6) การพัฒนาด้านการติดตามประเมินผลระบบการขนส่ง เพื่อให้ระบบการทำงานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ โรงพยาบาลแม่ข่ายจะต้องมีกลไกในการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพ รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาระบบและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง</p> พลศักดิ์ อันทะนิล Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272576 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริการต่อผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัส (COVID-19) ในพื้นที่อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272577 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ผลกระทบ ปัญหา และอุปสรรคของการบริการต่อผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อพัฒนารูปแบบ &nbsp;และประเมินผลรูปแบบบริการการจัดส่งยากลับบ้านของผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัส(COVID-19)ในพื้นที่อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะทำงานในโรงพยาบาลหนองมะโมง จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับบริการการจัดส่งยากลับบ้าน จำนวน 286 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแนวทางการสนทนากลุ่มสำหรับคณะทำงานโรงพยาบาลหนองมะโมงและแบบบันทึกติดตาม การวัดค่าน้ำตาลสะสม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสะสมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยการวิเคราะห์ค่าความถี่และค่าร้อยละ รวมถึงสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบบริการส่งยากลับบ้านแก่ผู้ป่วย &nbsp;ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดกลไกและบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 2) การกำหนดเป้าหมายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และ 3) การกำหนดวิธีปฏิบัติงานในการส่งยากลับบ้าน ผลการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า ส่งผลกระทบเชิงบวกทางคลินิกมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวานที่วัดซ้ำ ในปีพ.ศ. 2563 - 2565 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในปีพ.ศ. 2565 มีค่าต่ำสุด</p> มนตรี หนองคาย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272577 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อ ฟังก์ชั่นเสี่ยงอันตราย และระยะปลอดเหตุการณ์ ตามสูตรการได้รับวัคซีนของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272447 <p> การวิจัยนี้เป็นแบบ Retrospective cohort study เพื่อศึกษา 1) ผลของวัคซีนโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อ 2) อัตราความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และระยะเวลาปลอดการติดเชื้อ ตามจำนวนเข็มชนิดและสูตรของวัคซีน ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 11,160 ตัวอย่าง จากประชากรอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มารับบริการตรวจวินิจฉัย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2565 ในโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง เชื่อมโยงข้อมูลการรับวัคซีนจากฐานข้อมูลการรับวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุ วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและระยะเวลาปลอดการติดเชื้อ ด้วย cox regression analysis โดยควบคุมตัวแปร เพศ และประเภทกลุ่มเป้าหมายการรับวัคซีน<br /> ผลการศึกษาพบว่า การรับวัคซีน 3 เข็มมีโอกาสลดการติดเชื้อได้ร้อยละ 52.0 โดยวัคซีนชนิด InV และ ViralV มีการติดเชื้อน้อยกว่า mRNA อย่างมีนัยสำคัญ กรณีรับวัคซีน 2 เข็ม สูตร InV-ViralV มีการติดเชื้อน้อยกว่า mRNA 2 เข็ม ร้อยละ 50.4 และกรณีรับวัคซีน 3 เข็ม วัคซีนสูตร ViralV-ViralV-mRNA มีการติดเชื้อน้อยกว่า mRNA 3 เข็มร้อยละ 95.9 และพบว่า ความเสี่ยงในการติดเชื้อ ของวัคซีน 2 เข็ม สูตร InV-ViralV น้อยที่สุด วัคซีนสูตร 3 เข็มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยที่สุดคือ ViralV- ViralV-mRNA ส่วนระยะเวลาปลอดการติดเชื้อนานที่สุดตามลำดับคือ วัคซีน 2 เข็ม สูตร InV-ViralV, ViralV- ViralV ส่วน 3 เข็ม ได้แก่สูตร ViralV-ViralV-mRNA, สูตร InV-ViralV-ViralV และ InV-ViralV-mRNA </p> พิทยา แต่งเกลี้ยง, สุมลรัตน์ ขนอม Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272447 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272675 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพมีแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในแนวทางเดียวกัน โดยประยุกต์กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council [NHMRC],1998) ซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1) กำหนดประเด็นและขอบเขตของปัญหา 2) กำหนดทีมพัฒนา 3) กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและผลลัพธ์ 4) สืบค้นและการประเมินคุณค่าของหลักฐานเชิงประจักษ์ 5) ยกร่างแนวปฏิบัติการพยาบาล 6) ตรวจสอบเครื่องมือและแนวปฏิบัติการพยาบาล 7) ทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และ 8) ประเมินผลการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ด้วยความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชธาตุพนม พัฒนาจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้องค์ประกอบในการให้การพยาบาลผู้ป่วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่&nbsp; การประเมินการพยาบาลแรกรับ 2. การประเมินสภาพทางจิตและความรุนแรงของพฤติกรรม 3. การให้การพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง และ 4. การให้ข้อมูลและการส่งต่อ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความสอดคล้องทางด้านเนื้อหารวม (S-CVI) เท่ากับ 0.87</li> <li class="show">การประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย จำนวน 10 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ3 เห็นว่าแนวปฏิบัติมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่วนด้านความยาก-ง่ายของการใช้แนวปฏิบัติ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.85 เห็นว่าแนวปฏิบัติมีความง่ายต่อการปฏิบัติ แต่มีร้อยละ 12.15 เห็นว่าแนวปฏิบัติมีความยากต่อการปฏิบัติโดยเฉพาะในองค์ประกอบที่ 2 ด้านการประเมินสภาพทางจิตและความรุนแรงของพฤติกรรม</li> </ol> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในหน่วยงานได้จริง แต่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการให้การพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรงเพื่อให้พยาบาลมีความมั่นใจและสามารถปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ภัทรมน ชิณจักร์ Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272675 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่พบเซลล์ปากมดลูกผิดปกติที่ได้รับการผ่าตัดมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272687 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่พบเซลล์ปากมดลูกผิดปกติได้รับการผ่าตัดมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง คัดเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่พบเซลล์ปากมดลูกผิดปกติได้รับการผ่าตัดมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง มารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ ใช้กระบวนการพยาบาล ประกอบด้วยการประเมิน การวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผน การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผล ในการพยาบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ใช้ทฤษฎีความต้องการดูแลสุขภาพของโอเร็มเป็นแนวคิดในการศึกษา<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า จากกรณีศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีตรวจพบเซลล์มดลูกผิดปกติ รักษาโดยการผ่าตัดมดลูกปีกมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง พบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อน - หลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน ปวดแผลผ่าตัด เสี่ยงต่อการติดเชื้อในร่างกาย วิตกกังวลการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานไม่เหมาะสม พยาบาลผู้ดูแลจำเป็นต้องมีทักษะการให้ความรู้ คำแนะนํา ให้กําลังใจ ส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้สามารถจัดการตนเองได้ โดยทำงานร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องต่อเนื่องเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดความพึงพอใจต่อการบริการ</p> ศิวพร สุวรรณสัมพันธ์ Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272687 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวในสังคมพหุวัฒนธรรม อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272693 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์และรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวในสังคมพหุวัฒนธรรม อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 379 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบใช้ Chi-Square ผลการศึกษา พบว่า การดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวโดยรวมในระดับดีร้อยละ 57.7( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}"> 3.84 S.D. = .59) มีการดูแลทั้งด้านร่างกายระดับดี ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=3.97&nbsp; S.D. = .59)&nbsp; ด้านจิตใจและอารมณ์ระดับดี ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=3.76&nbsp; S.D. = .78)&nbsp; ด้านสังคมระดับดี( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">&nbsp;=4.1 S.D. = .60) และด้านเศรษฐกิจระดับปานกลาง(<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}"> =3.46&nbsp;&nbsp;&nbsp; S.D. = .82) ในขณะที่ผู้สูงอายุต้องการการดูแลในภาพรวมและรายด้าน ระดับดีร้อยละ 81.00 ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">= 4.09 S.D. = .62) เปรียบเทียบระดับการได้รับการดูแลและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน p&lt; .001 ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}"> 3.84,4.09&nbsp; S.D. = .59,.62 )<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ดังนั้นรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ ทางด้านสัมพันธ์ทางสังคมและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในการดูแลจำเป็นต้องมีการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อให้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมบูรณ์ยิ่งขึ้น</p> รุ่งฤดี สุขุมาลย์ Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/272693 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700